โดย มารพิณ
ดูคลิปการเดินทาง www.youtube.com/user/feelthai
มองหา ข้อมูลที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
วันก่อนไปแพร่มาครับ หลายคนอาจไม่ทราบว่าที่นี่คือต้นต้อ ถิ่นกำเนิดของผ้าหม้อห้อม เรามาดูกันว่าเขาเอาอะไรมาทำ และทำกันยังไง
ใครที่ยังเคยชินกับภาพในอดีตของศิลปิน จรัล มโนเพชร หรืออีกหลายคนดังที่ใส่เสื้อสีน้ำเงินคราม คอกลมแขนสั้น มีกระดุม หรือมีผูกเชือกเป็นสายสไตล์จีน ที่ว่ากันว่าเป็นภาพลักษณ์ของคนสมถะ หรือชาวบ้าน แบบนี้ก็ต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ได้แล้ว
เพราะเสื้อหม้อห้อม เดี๋ยวนี้เขามีดีไซน์ทั้งรูปแบบ ลวดลายพัฒนาไปไกลแล้ว ทั้งแบบบาติกมัดย้อม หรือพิมพ์ลายเทียน เดี๋ยวมาดูกันจากที่ผม มารพิณ เพิ่งแวะไปดูมาที่หม้อห้อมป้าเหลือง ที่บ้านทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ครับ
อย่างแรก ต้องบอกก่อนว่า ต้องเขียนว่า "หม้อห้อม" ไม่ใช่ "ม่อฮ่อม" นะครับ เพราะคำว่า "หม้อ" หมายถึง หม้อ หรือภาชนะที่ใส่ และหมักสีย้อม ส่วน "ฮ้อม" ก็มาจากใบฮ้อม ที่ให้สีธรรมชาติแบบที่ฝรั่งเรียกว่า Indigo dye เจ้าสี indigo ที่ว่านี่ก็คือสีน้ำเงินเข้มคราม หรือที่เขาเรียกว่า dark purplish blue คือ น้ำเงินเข้มออกอารมณ์ม่วงนิดๆ ในเชดสีที่ฝรั่งจำกัดความเอาไว้
วันก่อนไปแพร่มาครับ หลายคนอาจไม่ทราบว่าที่นี่คือต้นต้อ ถิ่นกำเนิดของผ้าหม้อห้อม เรามาดูกันว่าเขาเอาอะไรมาทำ และทำกันยังไง
ใครที่ยังเคยชินกับภาพในอดีตของศิลปิน จรัล มโนเพชร หรืออีกหลายคนดังที่ใส่เสื้อสีน้ำเงินคราม คอกลมแขนสั้น มีกระดุม หรือมีผูกเชือกเป็นสายสไตล์จีน ที่ว่ากันว่าเป็นภาพลักษณ์ของคนสมถะ หรือชาวบ้าน แบบนี้ก็ต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ได้แล้ว
ป้าเหลือง แห่งบ้านทุ่งโฮ้ง หนึ่งในเกจิการย้อมชื่อดัง |
อย่างแรก ต้องบอกก่อนว่า ต้องเขียนว่า "หม้อห้อม" ไม่ใช่ "ม่อฮ่อม" นะครับ เพราะคำว่า "หม้อ" หมายถึง หม้อ หรือภาชนะที่ใส่ และหมักสีย้อม ส่วน "ฮ้อม" ก็มาจากใบฮ้อม ที่ให้สีธรรมชาติแบบที่ฝรั่งเรียกว่า Indigo dye เจ้าสี indigo ที่ว่านี่ก็คือสีน้ำเงินเข้มคราม หรือที่เขาเรียกว่า dark purplish blue คือ น้ำเงินเข้มออกอารมณ์ม่วงนิดๆ ในเชดสีที่ฝรั่งจำกัดความเอาไว้
หม้อที่หมักหัวเชื้อฮ้อมแบบเข้มข้นเอาไว้ เก็บไว้ใช้ได้หลายงาน ต้องชโลมน้ำไว้อย่าให้แห้ง |
วิธีการที่ชาวบ้านทุ่งโฮ้ง ซึ่งมีเชื้อสายลาวพวน ใช้กันคือเอาใบห้อมมาคั้นน้ำ จะได้น้ำสีเขียว แต่พอเอาปูนขาวลง ไปผสม สีเขียวจะเปลี่ยนร่างกลายพันธุ์ไปเป้นสีน้ำเงินเข้มอย่างไม่น่าเชื่อสายตา
เมื่อก่อนก็ย้อมผ้ากันเฉยๆ ตอนหลังรับเทคนิคสมัยใหม่พวกบาติก มัดย้อม อะไรเข้ามาก็มีการวิวัฒนาการเป็นลวดลายต่างๆ ใครที่มาเที่ยวแพร่ อย่าลืมแวะที่บ้านทุ่งโฮ้ง ครับ ลองแวะเลือกดูหลายๆ ล้าน เพราะแต่ละที่จะมีลวดลายเทคนิค วิธีการทำไม่เหมือนกัน ต้องเดินดูเอา มีหลายสิบร้านให้เลือกชมครับ
วิธีการย้อมผ้าหม้อห้อมแบบโบราณ
มาดูวิธีการทำกันเลยครับ ผมอัดคลิปประกอบไว้ด้วย เดี๋ยววันหลังจะเอามาลงประกอบ รออัปโหลดอยู่ครับ
ไม่น่าเชื่อว่า แค่ปูนขาวจะทำปฏิกริยาเปลี่ยนสีย้อมได้ขนาดนี้ |
ป้าเหลืองชูผืนผ้าฝ้าย ที่พิมพ์ลายเทียน ประทับเอาไว้ ก่อนจะเอาไปย้อมสีห้อม |
ที่เห็นเป็นใบเขียวๆ ในถังเหลืองด้านล่างของภาพคือ ใบห้อม ที่เห็นเป็นขาวๆ คือไหปูนขาว ตัวทำปฏิกริยาเคมี สร้างสีสันขึ้นมา |
จังหวะนี้คือการย้อมสีครับ เอาผ้าลงไปย้อมในไหน้ำห้อม |
ได้เนื้อผ้าสีสวยไม่น่าเชื่อ พร้อมลวดลาย |
ไหหมักห้อม ในบ้านป้าเหลือง เมืองแพร่ |
ย้ายมาดูการทำลายบ้างครับ ลูกสาวป้าเหลือใช้แผ่นพิมพ์แกะสลักไม้สักประทับเทียนร้อนๆ เอามาพิมพ์ลายบนเนื้อผ้า ก่อนเอาผ้านี้ไปผ่านขั้นตอนการย้อมผ้าอีกที |
แผ่นประทับ ปั๊มลายมากมายหลายแบบ กองสุมอยู่ |
ทางนั้นบอกว่า แมวตัวนี้เป็น โฟร์แมนคุมงานครับ รับรองไม่มีย้อมแมว แน่ๆ |
ขั้นตอนและวิธีการพิมพ์ลายผ้าด้วยเทียน |
ใครไม่เคยเห็นดอกฝ้าย ต้นตอ ที่มา ของเส้นใยธรรมชาติ ที่เอาไปทำผ้าฝ้ายก็คือนี่ครับ ดูกันเลย |
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]
ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
© สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ