อาจารย์เพชรตะบอง ไพศูนย์ ผู้รณรงค์อนุรักษ์วัฒนธรรมไทดำ เชียงคาน |
โดย มารพิณ
ดูคลิปการเดินทาง www.youtube.com/user/feelthai
มองหา ข้อมูลที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ใครที่มาเที่ยวเชียงคาน ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมเวลานี้ อาจไม่เคยรู้ว่า มีอีกเรื่องราวที่น่าสนใจ ห่างออกไปแค่ไม่กี่กิโลเมตรก่อนถึงตัวอำเภอเชียงคาน
ย้อนไปเมื่อร้อยกว่าปีก่อน แผ่นดินจีนอยู่ในยุคสุดท้ายของราชวงศ์แมนจู ในสมัยจักรพรรดินี ซูสีไทเฮา คุมอำนาจ มีกบฏชาวนาลุกฮือขึ้นหลายพื้นที่ แต่รายที่เข้มแข็งที่สุดคือ หงซิ่งฉวน ที่ปักหลังตอนกลางประเทศ ยึดเมืองหนานจิง (นานกิง) ประกาศตั้ง "ท่ายผิงเทียนกว๋อ" 太平天囯 หรือ "เมืองแมนแดนสวรรค์" ไม่ขึ้นกับราชสำนักปักกิ่ง ผู้ชายเลิกไว้เปียแมนจู
การกบฎคราวนั้นยืดเยื้อสิบกว่าปี เป็นสงครามกลางเมืองขนาดใหญ่ผู้คนตายหลายสิบล้านคนทั้งจากการศึกและความอดหยาก แต่ท้ายสุดถูกปราบลง ทัพเก่าหงซิ่วฉวนแตกกระจายเป็นหลายสาย หนีการปราบเข้ามาทางบริเวณสิบสองจุไท ที่เป็นบริเวณทางภาคเหนือของลาว เวียดนามและต่อจีนตอนใต้ในปัจจุบัน
กำลังที่แตกพ่าย ทั้งไร้วินัย ไร้อุดมการณ์ ตั้งตัวเป็นขุนศึก ออกปล้นเสบียง ปล้นเมือง จนเกิดความวุ่นวายไปทั่ว ซึ่งทางไทย เรียกว่า "จีนฮ่อ" จนต้องส่งกำลังไปปราบปรามในที่สุด
บน- คลิปนี้อาจารย์เพชรตะบอง ไพศูนย์ เล่าตำนานการอพยพ ที่หนีภัยจีนฮ่อผ่านลาวและเข้าเมืองเลย
อย่างไรก็ตามผลของสงคราม ทำให้มีไทดำกลุ่มหนึ่ง โยกย้ายหนีภัยสงครามมาจาก บริเวณเมืองแถน (ปันจุบันคือ เดียนเบียนฟู ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม) ลัดเลาะผ่านลาวจนมาอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน
ที่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน ก็เป็นหนึ่งในชุมชนที่ได้รับผลสงครามในครั้งนั้น จนต้องอพยพมา ที่เหตุการณ์ใหญ่จริงๆ เกิดขึ้นในจีน แต่ส่งผลมาไกลจนถึงแถวนี้
บน-คลิปนี้ถ่ายตอนไปเวียดนาม เจอคนไทดำได้พูดคุยแลกเปลี่ยนภาษากันบนรถเมล์ที่ไปเดียนเบียนฟู จะเห็นว่าภาษายังสื่อสารกันได้
ผมเคยแวะมาที่บ้านนาป่าหนาดเมื่อนานแล้ว จำไม่ได้ว่าปีไหน แต่คงหลังปี 2540 ที่มีเริ่มตั้งบ้านไทดำจำลอง มาไม่นานปีนัก คราวนี้ก็เป็นโอกาสดีที่ได้มาทริปกับทางสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย หรือTEATA
พอมาเจอคราวนี้ต้องยอมรับว่าประทับใจมาก เพราะที่เห็นเมื่อสิบกว่าปีก่อนกับวันนี้ต่างกันเยอะ ตอนนี้มีทั้งศูนย์วัฒนธรรม และมีอีกจุดคือพิพิธภัณฑ์บ้านวัฒนธรรมไทดำ ที่ใครไปเที่ยวเชียงคานแล้วสนอกสนใจวัฒนธรรมก็น่าจะแวะไปชมดู
ลองดูตัวอย่างได้ที่สองคลิปด้านล่างนี้ครับ
สำหรับเส้นทางไปหมู่บ้านไทดำ นาป่าหนาด ตำบลเขาแก้วก็ เลี้ยวขวาก่อนถึงตัวอำเภอเชียงคานไปตามถนนชนบท (ลาดยางหมดแล้ว) บ้านนาบอน-สงเปลือย อีกราวสิบกว่ากิโลเมตร
ใครที่มาเที่ยวเชียงคาน ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมเวลานี้ อาจไม่เคยรู้ว่า มีอีกเรื่องราวที่น่าสนใจ ห่างออกไปแค่ไม่กี่กิโลเมตรก่อนถึงตัวอำเภอเชียงคาน
หอเจ้าบ้านไทดำ |
การกบฎคราวนั้นยืดเยื้อสิบกว่าปี เป็นสงครามกลางเมืองขนาดใหญ่ผู้คนตายหลายสิบล้านคนทั้งจากการศึกและความอดหยาก แต่ท้ายสุดถูกปราบลง ทัพเก่าหงซิ่วฉวนแตกกระจายเป็นหลายสาย หนีการปราบเข้ามาทางบริเวณสิบสองจุไท ที่เป็นบริเวณทางภาคเหนือของลาว เวียดนามและต่อจีนตอนใต้ในปัจจุบัน
กำลังที่แตกพ่าย ทั้งไร้วินัย ไร้อุดมการณ์ ตั้งตัวเป็นขุนศึก ออกปล้นเสบียง ปล้นเมือง จนเกิดความวุ่นวายไปทั่ว ซึ่งทางไทย เรียกว่า "จีนฮ่อ" จนต้องส่งกำลังไปปราบปรามในที่สุด
บน- คลิปนี้อาจารย์เพชรตะบอง ไพศูนย์ เล่าตำนานการอพยพ ที่หนีภัยจีนฮ่อผ่านลาวและเข้าเมืองเลย
อย่างไรก็ตามผลของสงคราม ทำให้มีไทดำกลุ่มหนึ่ง โยกย้ายหนีภัยสงครามมาจาก บริเวณเมืองแถน (ปันจุบันคือ เดียนเบียนฟู ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม) ลัดเลาะผ่านลาวจนมาอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน
ที่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน ก็เป็นหนึ่งในชุมชนที่ได้รับผลสงครามในครั้งนั้น จนต้องอพยพมา ที่เหตุการณ์ใหญ่จริงๆ เกิดขึ้นในจีน แต่ส่งผลมาไกลจนถึงแถวนี้
บน-คลิปนี้ถ่ายตอนไปเวียดนาม เจอคนไทดำได้พูดคุยแลกเปลี่ยนภาษากันบนรถเมล์ที่ไปเดียนเบียนฟู จะเห็นว่าภาษายังสื่อสารกันได้
ผมเคยแวะมาที่บ้านนาป่าหนาดเมื่อนานแล้ว จำไม่ได้ว่าปีไหน แต่คงหลังปี 2540 ที่มีเริ่มตั้งบ้านไทดำจำลอง มาไม่นานปีนัก คราวนี้ก็เป็นโอกาสดีที่ได้มาทริปกับทางสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย หรือTEATA
พอมาเจอคราวนี้ต้องยอมรับว่าประทับใจมาก เพราะที่เห็นเมื่อสิบกว่าปีก่อนกับวันนี้ต่างกันเยอะ ตอนนี้มีทั้งศูนย์วัฒนธรรม และมีอีกจุดคือพิพิธภัณฑ์บ้านวัฒนธรรมไทดำ ที่ใครไปเที่ยวเชียงคานแล้วสนอกสนใจวัฒนธรรมก็น่าจะแวะไปชมดู
ลองดูตัวอย่างได้ที่สองคลิปด้านล่างนี้ครับ
บน-บริเวณศูนย์วัฒนธรรมไทดำ บ้านนาป่าหนาด เดิมชื่อบ้านโคกโส้งดำ (ซ่งดำ หรือ ทรงดำ)
บน-พิพิธภัณฑ์บ้านวัฒนธรรมไทดำ
อาจารย์เพชรตะบอง ไพศูนย์ ผู้นำชุมชนไทดำ |
ตัวอย่างบ้านแบบดั้งเดิมของชาวไทดำ |
ตัวอักษรไทดำ |
ลักษณะการแต่งกายไทดำ แต่เดิมตามประเพณี |
บริเวณศูนย์วัฒนธรรมไทดำ |
วิวเขาแก้ว และท้องทุ่งนา |
บ้านไทดำ |
*ใครสนใจทริปท่องเที่ยวธรรมชาติป่าเขา วัฒนธรรม และเส้นทางท้าทาย ติดต่อได้ที่ สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA ) ครับ
จอง-ค้นหาที่พัก Agoda
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]
ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
© สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ