เรือสะเดาะเคราะห์ลอยลำ ที่สังขละบุรี |
โดย มารพิณ
ดูคลิปการเดินทาง www.youtube.com/user/feelthai
มองหา ข้อมูลที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
บรรยากาศที่คนเป็นพันพร้อมใจกันลากเรือไม้ไผ่ พร้อมข้าวของข้างในที่ดูจากสายตาน่าจะหนักรวมทั้งเรือทั้งของเป็นตัน ผ่านถนน มาลงน้ำที่ท่าวัดวังก์วิเวการาม เป็นภาพที่ตื่นตาตื่นใจ ได้อย่างเหลือเชื่อ
ในเดือนสิบชาวมอญที่อำเภอสังขละ ชายแดนไทย-เมียนมาร์ จะมาลอยเรือสะเดาะเคราะห์ที่นอกจาก ปัดทุกข ปัดโศก พาเคราะห์ไปจากชีวิตตามประเพณีความเชื่อแล้ว ยังมีการลอยเรือตามคติที่เกี่ยวกันกับการอัญเชิญพระไตรปิฏก และศาสนาพุทธนิกายเถรวาถ ข้ามมหาสมุทรอินเดีย มาจากเกาะศรีลังกา
ตำนานนั้นมีหลายกระแส หลากที่มา แต่แก่นใจความมีอยู่ว่า คณะภิกษุและผู้ติดตามที่กลับจากลังกา มีเหตุให้เจอพายุในอ่าวเบงกอล ก่อนกลับกรุงหงสาวดี ที่สมัยนั้นอยู่ในอำนาจปกครองของชาติมอญ แล้วมีเรือลำที่หายไปในทะเล
ผู้คนก็เป็นห่วง เอาของกินของใช้ใส่เรือออกไปจะช่วย ตามหา ร่วมกันสวดภาวนา และท้ายสุดเรือก็นำคณะสงฆ์พร้อมพระไตรปิฏกมาถึงแดนมอญอย่างปลอดภัย
ก็เลยถือกันเป็นประเพณีว่าทุกปีจะลอยเรือเพื่อช่วยคนยาก คนเรือแตก ประสบภัยทางน้ำ จะได้มีของกินของใช้ สุดแท้แต่เรือจะลอยไปในทิศทางใด
ซึ่งประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ชาวไทยรามัญ อำเภอสังขละบุรี ก็สืบความเชื่อมาตามคตินี้ และที่นี่ ก็จะจัดกันที่บริเวณลานกว้างหน้า เจดีย์พุทธคยา(วัดวังก์วิเวการาม) ตำบลวังกะ
โดยทั้งนี้ทั้งนั้น งานลอยเรือจะมีจัดกันในช่วงคาบต่อ สามวันเต็ม ในช่วงของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบ จะมีการเซ่นไหว้เรือ เอา “ตง” หรือธง ทำจากกระดาษ ต้นดอกไม้กระดาษสี ของกินของใช้ ไปใส่เรือ และอาหารคาวหวาน ๙ อย่าง นอกจากนี้ ยังมีเล่นสนุกต่างๆ ปล่อยโคมลอย ตักบาตรน้ำผึ้ง น้ำตาล
พิธีลอยเรือฯ ที่วัดวังก์วิเวการาม จะมีการสร้างเรือจากลำไม้ไผ่ เป็นทรงเรือ แต่ฐานล่างเป็นแพไม้ไผ่ มีสีสันต่างๆ ประดับประดา แล้ววันขึ้น 15 ค่ำ ก็จะมีชาวบ้านพุทธศาสนิกชนชาวมอญ นำธงสี ต้นกระดาษ มาปัก มาประดับแต่งเรือ รวมทั้งของเซ่น ของกิน ของใช้มาใส่ อฐิษฐานขอพรสะเดาะเคราะห์ ฟังพระสวด
พอวันแรม 1 ค่ำก็เอาเรือลากไปปล่อยน้ำ พร้อมการละเล่นเฮฮา สนุกตามประเพณี
พอวันสุดท้าย ก็ร่วมกันลากเรือที่มีเครื่องของเครื่องใช้ที่เอาไว้เสมือนให้คนตกทุข์ได้ยาก คนที่เรือแตก แพแตก ประสบภัยทางน้ำ ได้นำของไปจุนเจีอชีวิต หรือใช้สอย พอลงน้ำ ก็นำเรือไปลอยที่แม่น้ำสามประสบ
หน้าเจดีย์พุทธคยา |
ในเดือนสิบชาวมอญที่อำเภอสังขละ ชายแดนไทย-เมียนมาร์ จะมาลอยเรือสะเดาะเคราะห์ที่นอกจาก ปัดทุกข ปัดโศก พาเคราะห์ไปจากชีวิตตามประเพณีความเชื่อแล้ว ยังมีการลอยเรือตามคติที่เกี่ยวกันกับการอัญเชิญพระไตรปิฏก และศาสนาพุทธนิกายเถรวาถ ข้ามมหาสมุทรอินเดีย มาจากเกาะศรีลังกา
ตำนานนั้นมีหลายกระแส หลากที่มา แต่แก่นใจความมีอยู่ว่า คณะภิกษุและผู้ติดตามที่กลับจากลังกา มีเหตุให้เจอพายุในอ่าวเบงกอล ก่อนกลับกรุงหงสาวดี ที่สมัยนั้นอยู่ในอำนาจปกครองของชาติมอญ แล้วมีเรือลำที่หายไปในทะเล
ผู้คนก็เป็นห่วง เอาของกินของใช้ใส่เรือออกไปจะช่วย ตามหา ร่วมกันสวดภาวนา และท้ายสุดเรือก็นำคณะสงฆ์พร้อมพระไตรปิฏกมาถึงแดนมอญอย่างปลอดภัย
เรือไม้ไผ่ ที่ช่วยกันทำขึ้นมาเป็นทรงเรือ บนแพไม้ไผ่ |
ซึ่งประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ชาวไทยรามัญ อำเภอสังขละบุรี ก็สืบความเชื่อมาตามคตินี้ และที่นี่ ก็จะจัดกันที่บริเวณลานกว้างหน้า เจดีย์พุทธคยา(วัดวังก์วิเวการาม) ตำบลวังกะ
ข้าวของเครื่องใช้ ของกิน ของเซ่นไหว้เอาไปใส่เรือ |
โดยทั้งนี้ทั้งนั้น งานลอยเรือจะมีจัดกันในช่วงคาบต่อ สามวันเต็ม ในช่วงของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบ จะมีการเซ่นไหว้เรือ เอา “ตง” หรือธง ทำจากกระดาษ ต้นดอกไม้กระดาษสี ของกินของใช้ ไปใส่เรือ และอาหารคาวหวาน ๙ อย่าง นอกจากนี้ ยังมีเล่นสนุกต่างๆ ปล่อยโคมลอย ตักบาตรน้ำผึ้ง น้ำตาล
พิธีลอยเรือฯ ที่วัดวังก์วิเวการาม จะมีการสร้างเรือจากลำไม้ไผ่ เป็นทรงเรือ แต่ฐานล่างเป็นแพไม้ไผ่ มีสีสันต่างๆ ประดับประดา แล้ววันขึ้น 15 ค่ำ ก็จะมีชาวบ้านพุทธศาสนิกชนชาวมอญ นำธงสี ต้นกระดาษ มาปัก มาประดับแต่งเรือ รวมทั้งของเซ่น ของกิน ของใช้มาใส่ อฐิษฐานขอพรสะเดาะเคราะห์ ฟังพระสวด
ธงทิว ต้นกระดาษสี ญาติโยมเอามาประดับเรือทั้งลำ |
พอวันสุดท้าย ก็ร่วมกันลากเรือที่มีเครื่องของเครื่องใช้ที่เอาไว้เสมือนให้คนตกทุข์ได้ยาก คนที่เรือแตก แพแตก ประสบภัยทางน้ำ ได้นำของไปจุนเจีอชีวิต หรือใช้สอย พอลงน้ำ ก็นำเรือไปลอยที่แม่น้ำสามประสบ
ชาวมอญทั้งตำบลพากันนำธง ของเซ่นไหว้มาที่เรือ |
มากันทุกบ้านเลยครับ ที่เห็นถือต้นกระดาษสี กระดาษว่าวมาแต่ไกล อุ้มลูกจูงหลานมา |
กลางคืน เช้ามืดมีนำธง ของไหว้ เผาเทียนเล่นไฟ |
ลอยโคมที่หน้าเจดีย์พุทธคยา ที่เห็นเป็นโคมยักษ์ |
ของเซ่นไหว้ตามตำรับมอญ สังขละบุรี |
มีทั้งกล้วย ข้าว อาหารต่างๆ |
อธิษฐานขอพร จุดเทียนธูป ถวายบูชา แต่เช้ามืด |
เครื่องเซ่น ธงสี ที่ถวายลงเรือ |
ไฟเทียนลุกโชน |
เช้ามืดวันนี้มีการปล่อยโคมไม่ขาดระยะ |
ผู้คนเนืองแน่นนำของถวายมาใส่ลำเรือ |
ยามเช้าที่หน้าลานเจดียพุทธคยา สถานที่จัดงาน |
บน-คลิปลากเรือ
บน-ลากเรือลงเนิน
ฟ้อนมอญ โปรยทาน
ช่วยกันลากเรือไปลงน้ำ |
คนทั้งตำบลกำลังช่วยลากเรือไปลงน้ำ |
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มากันหมด |
จังหวะลากเรือ ลงเนิน ยากหน่อย ต้องระวังสุดๆ |
ฟ้อนมอญริมน้ำ คึกคักสนุกสนาน |
ลากเรือสะเดาะเคราะห์มาถึงริมฝั่งแล้ว |
จังหวะลากจูงลงน้ำ |
เริ่มลงน้ำแล้ว |
กองเชียร์เพียบครับ หลังจากเอาเรือลงน้ำก็จะมีปล่อยปลากัน |
ผูกเชือกลากเรือ |
เรือของกรมประมงลากเรือสะเดาะเคราะห์ออกจากฝั่ง |
เด็กพายเรือตามมารอเก็บของจากเรือที่ลอย |
ตามมาติดๆ |
จังหวะลากเรือเห็นยอดเจดีย์พุทธคยาอยู่ไกลๆ |
เอาเรือไปผูกไว้กับตอตะเคียน กลางอ่างเก็บน้ำ เมื่อก่อนสมัยไม่มีเคลื่อนจะปล่อยลอยตามน้ำไปอิสระ |
เรือสะเดาะห์เคราะห์ กลางอ่างเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลม |
เรือกรมประมงที่ช่วยลากออกไป |
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]
ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
© สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ