วันจันทร์, มีนาคม 21, 2559

ทำไมอีกสิบปี Jas อาจดีใจว่าประมูล คลื่นมือถือไม่ได้?


โดย มารพิณ แชนแนลฟีลไทย

ได้ข่าวจากเมืองไทย ว่า พ่อดอกมะลิ jas ไม่มาจ่ายค่าประมูล คลื่นมือถือ หลายหมื่นล้าน งานนี้ สงสัยค่าประกัน หกร้อยกว่าล้าน คงจะถูกริบสิ้น เสียดายแทน. ความจริงกลุ่มนี้ ถ้าได้ คลื่นมือถือมาก็ตอบโจทย์ธุรกิจหลายอย่างได้ลงตัว แต่ปัญหาคือเวลาแบบนี้ เป็นหน้าใหม่ในสถานการณ์เศรษฐกิจ ขาลง มันลำบาก

ถ้าผมมีเงิน 600 ล้าน คงไม่เอาไปค้ำประกันอะไรแบบนี้หรอก เอาไปเที่ยวดีกว่าครับ #เที่ยวไม่กลับบ้าน

ว่าแต่ว่า เศรษฐกิจ แบบนี้ ใครประมูลอะไร อย่าเพิ่งแน่ใจว่าจะรอด เพราะมันไม่ง่ายอย่างที่คิด เหมือนตอนประมูลทีวีดิจิตอล ผมก็บอกเพื่อนฝูง ตามประสาคนที่เคยอยู่ในวงการไอที สื่อสาร ถามกลับไป ว่า เขาจะประมูลไปทำไม คนเดี๋ยวนี้เขาไม่ ดูทีวีกันแบบเมื่อก่อนแล้ว แต่ละคนมีจอส่วนตัวโลกส่วนตัว หลายคนที่ใช้ tv ก็เอาไปต่อ เน็ตดู youtube หรือต่อกับกล่อง หนังที่โหลดบิทมา

ใครเขาจะมาดูทีวี แบบที่เคยดูกัน สปอนเซอร์ที่ไหน จะมาลงทุน กับรายการ แบบที่เคยจ่ายกัน tv กลายเป็น เฟอร์นิเจอร์ชนิดนึง ไม่ใช่ เรื่องสำคัญ อย่างสมัยก่อน ที่ต้องล้อมวงกินข้าวกันหน้าทีวี กลับถึงบ้านต้องเปิดทีวี

ปัญหาคือเทคโนโลยีจะทำอะไร กับมือถือและคลื่นความถี่ในอนาคต

ว่าแต่คลื่นความถี่มือถือที่ประมูลกัน อนาคตจะสำคัญมากเท่าปัจจุบันหรือเปล่าก็ยังไม่รู้  ผมยกตัวอย่างง่ายๆอย่างที่เวียดนามตอนที่ผมเดินทางอยู่ในทุกวันดี ภาพข้างบนก็ถ่ายจากเมืองชนบท ของบ้านเขา พอดีมีควาย จึงมาผ่านหน้าร้าน vinaphone เจ้ามือถือเจ้าใหญ่ที่นี่

ผมมาเวียดนาม ซื้อซิม เมื่อต้นเดือนมีนาคม ตามปกติ ก็ จ่ายค่าสินค้าอะไรต่างๆ ประมาณแสนห้า หมื่นดอง ก็ตกเป็นเงินไทย ประมาณ 200 เศษเศษ ถึงวันนี้ทั้งโทร ติดต่อที่พัก และเล่นเน็ตดูโน่นดูนี่ ก็ยังใช้ไม่หมดเลย ทั้งที่เน็ตเขา มันแรงกว่า เครือข่ายมือถือเมืองไทย อันที่จริง data น่าจะหมดเร็วกว่า

แต่เรื่องของเรื่องก็คือทุกที่มี wifi ฟรีหมด ตั้งแต่สนามบิน ร้านอาหาร  โรงแรม ที่พักแม้แต่เมืองบ้านนอกที่ผมอยู่ มีเน็ต ใช้ฟรีตลอด แทบจะไม่ต้องใช้ซิม ให้เปลือง

หรือไม่ต้องง้อ login เข้า wifi ของค่ายมือถือ ตามที่สาธารณะแบบเมืองไทย เพราะทุกที่มีเครือข่าย แบบฟรีฟรีให้ใช้แถมเร็วกว่า

ถ้าสังคมแบบนี้ คือภาพอนาคตที่เมืองไทยกำลังจะไป อย่าดูถูกเวียดนาม เพราะที่เวียดนาม อินฟราสตรัคเจอร์หรือโครงสร้างพื้นฐานของเขา ย่ำแย่กว่าเราเยอะถนนหนทางรวมทั้งโครงข่ายโทรศัพท์ แบบมีสาย ทำให้ เขาเน้นความสำคัญในเรื่องระบบใหม่ เครือข่ายไร้สายการใช้ wifi ทุกที่มีแม้กระทั่ง ตาม สถานีบขสหลายจังหวัดก็มี wifi รถทัวร์ก็มี wifi แท็กซี่ก็มี wifi เรื่องพวกนี้ เขาไปไกลกว่าไทย รถทัวร์บางสายของเวียดนาม wifi แรงขนาดเปิด youtube ดูได้ด้วยซ้ำไป

ที่เวียดนามมี wifi ฟรีเน็ตแรง ไม่ใช่อยู่ที่เทคโนโลยีแต่อยู่ที่วิธีคิด ของคนที่ใช้เทคโนโลยี

User เมืองไทยยังติด อยู่ในกับดักโมเดลธุรกิจของกลุ่มทุน คุณต้องเรียกร้องจากผู้ให้บริการไม่ใช่ยอมจำนน

ในโลกที่มีเสรีภาพการใช้เน็ตฟรี พอเข้า wifi ได้ ก็ใช้แอพคุยแชทกัน กับใครก็ได้ในโลกผมคุยกับเพื่อนที่เมืองไทย ก็ทำแบบนี้ไม่ต้องเสียค่าโรมมิ่ง คนเวียดก็ทำแบบนี้

อันที่จริงตอนนี้ถึงอยู่เมืองไทยผมก็ใช้แต่เน็ต ไม่ได้ใช้มือถือ เอาที่ แพคเกจต่ำสุดพร้อมเล่นเน็ตได้ โทรก็ไม่ได้โทร เวลาคนถามว่ามือถือเบอร์อะไร ก็จำไม่ได้ไม่รู้

เบอร์มือถือก็ไม่ได้ศักด์สิทธิอะไรอีกต่อไปแล้ว

คำถามคือมูลค่าของความถี่ ที่ประมูลกันหลายหมื่นล้านมันจะคงความขลังอยู่ต่ออีกนานแค่ไหนอย่างไร ในโลกที่ทุกอย่าง ถูกกำหนดผ่าน app และโครงข่าย wifi ฟรี ผมก็ไม่รู้นะ

แต่ที่แน่ๆ ทุกคนจะพยายามทำเต็มที่ ที่จะไม่เสียสตางค์ ผ่านการใช้งาน โดยไม่จำเป็น นี่เป็นธรรมชาติของมนุษย์

ไม่แน่ประวัติศาสตร์อาจจะย้อนหลัง ถ้ากลับมาดูเหตุการณ์ในวันนี้ 600 กว่าล้านของแจ๊สที่เสียไป อาจเป็นการเสียน้อยดีกว่าเสียมาก

เรื่องแบบนี้ก็เป็นไปได้เพราะเทคโนโลยีมันเปลี่ยนเร็ว จนการประมูลอะไร ไม่ได้ หมายความว่า จะควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างที่ต้องการเสมอไป
#jas. #กสทช.