โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้
มีสองวิธีหลักๆ
ที่นิยมใช้กันครับ
วิธีแรกคือเปิดไกด์บุ๊คดาวเหงา
หรือ Lonely Planet ของประเทศนั้นๆ
ดูข้อมูล แนะให้เลือกเล่มที่พิมพ์ล่าสุด
เรื่องหลักๆ ที่เราต้องเช็คกันก็คือ
ค่าใช้จ่ายเดินทางระหว่างเมืองเท่าไหร่
ค่าที่พักเท่าไหร่
และค่าเข้าชมสถานที่แต่ละแห่งเท่าไหร่
สามเรื่องนี้ล่ะครับที่สำคัญที่สุด
ถึงมีไกด์บุ๊คหลายยี่ห้อขายตามท้องตลาด
แต่ Lonely Planet
ให้คำตอบเรื่องค่าใช้จ่ายได้มากที่สุดครับผม
แต่อย่าลืมว่า
ค่าใช้จ่ายที่ไกด์บุ๊คบอกมาเนี่ย
ถึงจะเป็นการอัพเดตล่าสุด
แต่อาจไม่ตรงกับราคาจริงที่อาจมีปรับขึ้นไปบ้างเพราะตอนนี้ราคาน้ำมันสูงทั่วโลก
ค่าเดินทางและค่าที่พักอาจมีการปรับขึ้นไป
แนะว่าให้บวกเผื่อไปอีกซัก
10-20 เปอร์เซ็นต์ครับ
ไม่ต้องห่วงเรื่องภาษาอังกฤษ
เดี๋ยวผมจะมีคำแนะนำท้ายเล่มว่าเราจะมีวิธีดูวิธีอ่านไกด์บุ๊คพวกนี้ยังไง
เอาแบบไม่ต้องใช้ภาษาอังกฤษอะไรมากมายเลย
แต่รู้เรื่องไปเที่ยวได้แน่นอน
อีกวิธีคือถามผุ้คนตามเว็บบอร์ดท่องเที่ยว
วิธีนี้ก็ดีตรงที่เราอาจได้ข้อมูลอัพเดตล่าสุด
ของคนที่เพิ่งไปมา
แหล่งข้อมูลตรงนี้เอาไว้เสริมข้อมูลที่เราได้จากไกด์บุ๊คครับ
แต่ข้อเสียก็คือ
การเดินทางท่องเที่ยวเป็นเรื่องประประสบการณ์อยู่มาก
บาททีคำตอบที่เราได้อาจไม่ตรงกับคำถามที่เรามีอยู่ในใจ
สัดส่วนของค่าใช้จ่าย
จากลิสต์ของค่าใช้จ่ายต่างๆ
ด้านบนนี้ เราก็คงพอเห็นว่า
ค่าใช้จ่ายหลักๆ จะอยู่ที่ค่ากิน
ค่าที่พัก ค่าเดินทาง
และค่าเที่ยว เป็นส่วนใหญ่
สมมติว่า.....
ค่ากิน
15% +ค่าที่พัก20%
+ค่าเดินทาง 30%+ค่าเที่ยว
20%+ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
(ปลีกย่อย+สื่อสาร+ค่าโง่)
15% = รวม 100 %
สัดส่วนแบบนี้ยืดหยุ่นได้ครับ
ถ้าอยากพักสบายหน่อยติดหรูว่างั้นเถอะ
เราก็เพิ่มเปอร์เซ็นต์ไปตรงค่าที่พัก
อยากกินโน่นกินนี่เที่ยวไปชิมไปก็ปรับเปอร์เซ็นต์ตรงค่ากินให้เพิ่มตามไป
แต่อย่าลืมว่า เราเพิ่มตรงไหนเข้าไป
ก็ต้องไปลดค่าใช้จ่ายอย่างอื่นลงมาด้วย
เลือกตัดสินใจตัดเพิ่มลดเอาเองตามความพอใจส่วนตัวครับ
เมื่อกี้เราคุยกันไว้แล้วว่ามีงบ
15000 บาท เอาอัตราส่วนข้างบนเทียบ
เราก็จะมีงบคร่าวๆ ดังนี้
= ค่ากิน 2250
+ค่าที่พัก 3000
+ค่าเดินทาง
4500+ค่าเที่ยว3000
+ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
2250
ทีนี้เราคิดต่อว่าเราอยู่ในเนปาล
10 วัน เราก็เอา
10 ไปหารครับ
ก็จะได้ยอดประเมินคร่าวๆ
ของค่าใช้จ่ายที่เราสามารถจ่ายได้ต่อวันดังนี้
ค่ากิน
225+ค่าที่พัก300+ค่าเดินทาง450+ค่าเที่ยว300+ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
225 = 1500 บาทต่อวัน
ที่นี้มาคิดต่อว่า
ถ้ายอด 1500 บาทนี่มันคิดเป็นดอลลาร์เท่าไหร่
เพราะเราต้องแลกเป็นเงินดอลล์ไปจากเมืองไทยและข้อมูลค่าใช้จ่ายในไกด์บุ๊คอย่างโลนลี่แพลเน็ตจะให้มาเป็นดอลลาร์เหมือนกัน
ก็จะได้ค่าใช้จ่ายออกมามีหน่วยเป็นดอลลาร์ประมาณนี้ครับ
(คิดคร่าวๆ ที่ 33
บาทเท่ากับ 1 ดอลลาร์)
ค่ากิน
6.8+ค่าที่พัก9.09+ค่าเดินทาง13.6
+ค่าเที่ยว9.09+ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
6.8= 45.45 ดอลล์ต่อวัน
(เวลาคิดปัดเศษที่เป็นเศษยิบย่อยหอยเห็บให้เหลือ
.5 ก็พอครับ)
จากตัวเลขข้างบน
เรามาประเมินดูว่า
เมื่อเทียบกับข้อมูลไกด์บุ๊คและข้อมูลจากเน็ตแล้วดูกันว่าทริปเนปาลของเราคราวนี้พอเป็นไปได้หรือป่ะ
+ค่ากิน
6.8 ดอลล์ต่อวัน
ก็ตกราวมื้อละสองดอลล์กว่าๆ
ก็พอไหวสำหรับเนปาลครับ
บางมื้อเราอาจทานหรู
บางมื้อก็เน้นถูกๆ
เฉลี่ยกันเอาเองครับ
ไม่จำเป็นต้องกินเท่างบนี้เป๊ะทุกวัน
+ค่าที่พัก
9.09 ดอลล์ต่อวัน
อืมม...อันนี้ไม่เลวเลย
เพราะปกติแล้วเราไม่ได้พักคนเดียว
แต่เราแชร์ค่าห้องกันกับเพื่อน
ดังนั้นเราจะมีงบสำหรับเช่าห้องได้คืนละ
18 ดอลล์ (งบเรา+งบเพื่อนเรา)
งบขนาดนี้ถือว่าปานกลางค่อนข้างสูงทีเดียว
ย้อนกลับไปเปิดไกด์บุ๊คดูว่า
ราคา 18 ดอลล์เนี่ย
มีพักได้ที่ไหนบ้าง
แต่ในความเป็นจริง
เราอาจจ่ายไม่มากถึงขนาดนี้
เช่นถ้าเราได้ที่พักราคาคืนล่ะ
10 เหรียญ
หารสองกับเพื่อนเราก็ออกคนละ
5 ดอลล์
นี่หมายความว่าเราก็ประหยัดงบไปได้ถึง
4 ดอลล์เลยนะเนี่ย!
+ค่าเดินทาง
13.6 ดอลล์ต่อวัน
เราไม่ได้เดินทางทุกวันนี่ครับ
ดังนั้นบางวันเราอาจแทบไม่ได้จ่ายอะไรเลยเช่น
จ่ายค่าแท็กซี่หนเดียว
(หารสาม เพราะไปกันสามคน)
หรือเช่าจักรยานปั่น
แต่อีกวันเราอาจควักจ่ายตังค์ค่าตั๋วราคา
25 ดอลล์เพราะเดินทางไปอีกเมืองที่อยู่ไกล
ตรงนี้จะเฉลี่ยกันไปครับ
+ค่าเที่ยว9.09
ดอลล์ต่อวัน
ตรงนี้จะเฉลี่ยกันไปเหมือนกันครับ
เพราะเราไม่ได้จ่ายพวกค่าเข้าชมสถานที่ต่างๆ
ทุกวัน ปกติแล้วน่าจะเหลือนิดหน่อย
+ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
6.8 ดอลล์ต่อวัน
ปกติแล้วตรงนี้น่าจะเหลือมากพอสมควร
เพราะผมตั้งเอาไว้เผื่อๆ
เพราะคงไม่มีใครโทรทางไกลกลับเมืองไทยทุกวัน
เข้าเน็ตเช็คเมล หรือซักผ้าทุกวัน
จากที่สรุปมา
คงพอเห็นไอเดียว่าเราจะวางแผนค่าใช้จ่ายของเรายังไง
กะกันได้คร่าวๆ แล้วนะครับ
ไม่แน่ว่าพอเราคำนวณออกมาแล้ว
อาจเปลี่ยนใจว่า 1500
ต่อวันเนี่ยมันเยอะไป
เราอยากไปอยู่เที่ยวให้นานกว่านั้น
แต่งบเท่าเดิม เราก็จะอยู่
15 วันได้
โดยลดงบลงมาให้ใช้จ่ายเหลือแค่วันละ
1 พันบาทเป็นต้น
ลองคำนวณอีกทริปนึง
ลองคำนวนเล่น
ๆ กันอีกทริปนึง
คราวนี้ไปประเทศที่มีสายการบินโลว์คอสต์ไปเราจะพบว่า
ค่าใช้จ่ายถูกลงเยอะ
สมมติว่าคิดจะไปเที่ยวฮานอยในเวียดนามกับแฟนสองคน
ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับในแบบโลว์คอสต์
คิดว่าไม่เกิน 6000
คูนสอง
เท่ากับ 12000
บาท
(จริง
ๆ อาจถูกกว่านี้
อาจแค่สี่พันหรือต่ำกว่านั้นก็ได้แล้วแต่ช่วงเวลา
และโปรโมชั่น)
ตามแพลนเราจะไปเที่ยวหกวัน
สมมติอีกว่าเราตั้งค่าใช้จ่ายไว้ว่า
ตกวันละพันต่อหัว
สองคนก้อมีงบตั้งไว้ในใจตรงส่วนนี้
12000
บาท
(จริง
ๆ แล้วน่าจะใช้น้อยกว่าวันละพันนะ
เดี๋ยวจะคิดให้ดู)
ดังนั้น
รวมทั้งหมดสองคนก็มีงบ
24000
บาท
บวกค่าใช้จ่ายอื่นๆ
รวมช็อบปิ้งเข้าไป
สองคนก็น่าจะไม่เกินกว่านี้ไปซักเท่าไหร่
นี่ผมประเมินแบบเผื่อ ๆ
ไปเยอะหน่อยนะ
แล้ววันนึงใช้อะไรบ้างในฮานอย
ลองคิดกันออกมาเป็นค่าใช้จ่ายหยาบๆ
ดังนี้
+ที่พักคืนละ
15
ดอลล์ (ราคานี้อยู่สบายมากครับ
คืนละ 6
ดอลล์นอนได้สองคนยังมีเลย)
ก้อ
15
x 33 เท่ากับราว
500
บาท
เท่ากับคืนนึงจ่ายคนละ 250
บาท
+กินสามมื้อ
มื้อละ 200
บาท
เท่ากับ 600
หารสอง
คิดเป็นคนละ 300
บาทต่อวัน
(ราคานี้ก็ทานหรูเหมือนกัน
จริงๆ ไม่แพงเท่านี้)
+ค่ารถ
150
บาทต่อคน
ต่อวัน (คิดเป็นยอดไว้ก่อน
แต่บางวันก็ไม่มีค่ารถหรอก)
+ค่าใช้จ่ายอื่น
ๆ 100
บาทต่อคนต่อวัน
ดังนั้นต่อคนจ่ายอะไรบ้างที่ฮานอย
ที่พัก 250+ข้าว
300+รถ150+อื่นๆ100
เท่ากับ
800
บาทต่อคนต่อวัน
ไปหกวันก็คือ 4800
สองคนก็เท่ากับราวๆ
9600
บาท
จะเห็นว่าต่ำกว่างบวันละพันต่อหัวที่เราตั้งไว้ในใจตอนแรก
เราอาจซื้อเดย์ทัวร์ไปฮาลองเบย์
ไปแบบสองวันหนึ่งคืน
ที่สมมติว่าตกหัวละสามสิบดอลลาร์
ก็ ราวๆ 1
พันบาท
ได้สบายๆ เพราะเราตั้งงบไว้เดิมว่าจะจ่ายวันละพัน
แต่เราจ่ายไปแค่วันละ 800
เอง
แต่อันที่จริง
การซื้อทัวร์แบบนี้ที่มีค้างกลางทาง
เราก็ต้องไม่นับค่าเกสต์เฮาส์คืนนึงด้วย
เพราะวันที่เราไปพักที่ฮาลองมันรวมอยู่ในค่าทัวร์ด้วยใช่มั้ยล่ะ
ก็เท่ากับว่าเราประหยัดค่าที่พักไปในตัวอีกต่างหาก
อย่าเพิ่งงงครับ
ค่อยๆ คิดตามไป
ไม่ต้องพะวงเรื่องรายละเอียดก็ได้
แต่ดูแค่นี้ก็พอจะเห็นว่า
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ซีเรียสมาก
เราสามารถยืดหยุ่นการเดินทางเราได้มากกว่าทริปอื่น
รวมลิงก์หนังสือมารพิณ
ดู หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้
ภาษาอังกฤษร้ายสาระ
Snake Fish Fish อังกฤษเที่ยวนอก
คู่มือสนทนาภาษาจีนฉบับ จิ้มชี้เที่ยว
รวมหนังสือที่เขียน(ท่องเที่ยว+ภาษา)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]
ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
© สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ