วันอังคาร, กรกฎาคม 29, 2557

แตรวงแห่เทียนพรรษาที่แก่งคอย สระบุรี

ลีลาแตรวง มีทั้งเครื่องเป่า และเครื่องตี กระหึ่มครื้นเครง

โดย มารพิณ

ดูคลิปการเดินทาง  www.youtube.com/user/feelthai
วัฒนธรรมงานบุญ งานประเพณีภาคกลาง ที่ขาดไม่ได้ในการบรรเลงรื่นรมย์ ก็คือ  "แตรวง" ที่มีขนาดเล็ก ใหญ่ หลากหลายตาม สมรรถนะของกำลังกระเป๋าของเจ้าภาพ ว่าจะทุ่มทุนจัดมหรสพได้ตาม กำลังทรัพย์ และ กำลังศรัทธา มากแค่ไหน อย่างไร

ความเฮฮาแบบนี้ คนเมือง คนกรุงเทพฯ อาจไม่คุ้นตา ผมมารพิณเลยเก็บบรรยากาศมาฝากกันจากหน้าสถานีรถไฟแก่งคอย ถนนเลียบสันติ   สนุกแค่ไหน รับชมได้จากบางเพลงที่ มารพิณอัดเป็นวิดีโอมาเล่าให้ฟัง ในคลิปด้านล่างครับผม

น้องๆ นักเรียนมัธยมสระบุรีแห่เทียนมาพร้อมกับวงแตรวง เล่นเพลงลูกทุ่งกันสดๆ  

แตรวงสมัยใหม่มาพร้อมเครื่องขยายเสียงแบบเคลื่อนที่ได้   สนั่นหวั่นไหวได้ในแบบเคลื่อนที่ไปกับขบวนพาเหรด

บน-คลิปการบรรเลแตรวงที่แก่งคอย สระบุรี

เทีพีเทียนเข้าพรรษา ที่ตัวอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี 


จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

มาดูหน้าตาด้วงแมงกว่าง Rhino beetle

สังเกตุว่า ด้วงตัวใหญ่มาก  

โดย มารพิณ

ดูคลิปการเดินทาง  www.youtube.com/user/feelthai
มองหา ข้อมูลที่พัก โรงแรม รีสอร์ท
ผมว่าโดยทั่วไป ภาษาไทยเราพอเขียนถึงคำว่า "ด้วง" ก็มักจะหมายถึงพวก ที่อาศัยอบู่ตามต้นไม้ กินต้นไม้ หรืออะไรแบบนั้น อย่างด้วงมะพร้าว ด้วงสาคู   คือมันต่างจากพวกหนอน ที่แบบหลังอาจขึ้นทั่วไป หรืออยู่กับอะไรเน่าเปื่อย สกปรกแบบนั้นไป

เดือนก่อนไปที่เมืองแพร่ เจอเขากำลังเอาด้วงมาขาย  ถามไถ่ข้อมูลดู เขาบอกว่า ที่เห็นตัวอวบๆ  ขนาดใหญ่ไต่อยู่บนมือนี่ เขาเรียกว่า "ด้วงไม้ไผ่"

พอโพสต์ลงเฟซบุ๊ค ก็มีแฟนเพจมาให้ข้อมูลเพิ่ม เล่าให้ฟังว่า   นี่เป็นด้วงแมงกว่าง ก็สอดรับกับที่คนขายเขาพูดอะไรแว่วๆ  ถึงแมงกว่าง นี่เหมือนกัน  นี่เป็นครั้งแรกที่ผมเห็น "ด้วงแมงกว่าง"  ตัวเป็นๆ  อย่างใกล้ชิดแบบนี้

 แมงกว่าง หรือ คาม  เป็นพวกแมงปีกแข็งชนิดนึงครับ ตัวใหญ่ผิวมัน มีเขา สวยเลยทีเดียว  พวกญี่ปุ่นชอบเลี้ยง รวมทั้งทางเหนือของไทยที่ขายให้เด็กๆ เลี้ยงเกาะท่อนอ้อย    ภาษาอังกฤษเรียกว่า  Rhinoceros beetle  หรือ ด้วงแรด    บางทีก็เรียกสั้นๆ ว่า   Rhino beetle    

ตัวด้วง เมื่อเทียบกับขนาดมือ
นอกจากนี้  ฝรั่งบางทีก็เรียกว่า ด้วงเขา  Unicorn beetle  หรือ  Horn beetle    คำว่า beetle    ก็แปลว่าพวก แมงปีกแข็งครับ 

ด้วงทำอาหารได้หลายอย่าง ถือว่าเป็นของอร่อยครัวบ้านป่า เลย 

ตัวด้วงกว่าง สีอออกเหลืองนวล
ก่อนหน้านี้ผมเคยลงคลิปเกี่ยวกับแมงกว่าง ลงในยูทูปแชนแนลไป  ก็คัดออกมาให้ชม เป็นแมงกว่างตามธรรมชาติที่ไปเจอที่แถวหน้าสนามบินปาย  จังหวัดเชียงราย 


บน- คลิปแมงกว่าง สนามบินปาย



บน- แผงขายแมงกว่าง ที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

วันอาทิตย์, กรกฎาคม 20, 2557

วิธีเก็บสาหร่ายเตา ตำบลสวนเขื่อน แพร่


โดย มารพิณ

ดูคลิปการเดินทาง  www.youtube.com/user/feelthai
ปกติคนกรุงเทพจะรู้จักสาหร่ายอยู่สองแบบ  อันแรกคือ สาหร่ายห่อข้าวญี่ปุ่น หรือพวกสาหร่ายโนริ Nori  กับอีกอันคือ สาหร่ายเถ้าแก่น้อย บรรจุซองสำเร็จรสชาติเค็มๆ มันๆ อะไรพวกนั้น

วันนี้ มารพินแวะมาไกล ถึงที่ บ้านนาคูหา ตำบลสวนเขื่อน  อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ โน่น เพราะเหตุว่าที่นี่มีของดี OTOP เมืองแพร่ ว่ามี เตา  แต่ไม่ใช่เตาที่ปรุงอาหาร  แต่เป็น  "สาหร่ายเตา"  ที่เอามาปรุงอาหารได้ หลายแบบหลายสไตล์  

ตอนแรกมารพิณ ก็ไม่แน่ใจว่าเป็นสาหร่ายแบบไหน  แต่พอเห็น พอเห็นทำแล้ว เลยนึกขึ้นมาได้ว่า  ผมคิดว่าสาหร่าย "เตา"  ทางเหนือ กับ "เทา" ทางอีสาน น่าจะเป็นตัวเดียวกัน  เพียงแต่ออกเสียงเรียกขานต่างกันเท่านั้น  แต่ถ้าไม่ใช่ก็ช่วยแย้งมาด้วย จะเป็นพระคุณความรู้ครับ

สาหร่ายเตา ภาษาอังกฤษ เรียกว่า SPIROGYRA  หรืออีกอย่างว่า  pond algae  หรือแปลได้ประมาณว่า สาหร่ายบ่อ อะไรแบบนั้นครับ

บ่อเตา ที่ทางกองประชาสัมพันธ์ในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยชวนมาดูคราวนี้ เป็นบ่อสาหร่าย หรือจะเรียกว่า ฟาร์มเพาะสาหร่ายเตาก็ได้   เป็นฟาร์มของคุณลุงเจริญพร  และป้าวิไล ชัยยะกิจ

จริงๆ  สาหร่ายเขียวๆ  พวกนี้ขึ้นทั่วไปในไทย  แต่จุดเด่นสำคัญของบ้านนาคูหา ตำบลสวนเขื่อน ก็คือมีทำเลเหมาะ เพราะอยู่บนเขา มีน้ำซับ ใส ไหลเวียน  ไม่ใช่สาหร้ายเตาที่หมักหมม ในที่คูบ่อทั่วไป
แถมบ่อเตา ยังมีพื้นทรายอัดแน่น ไม่ใช่พื้นดินเลน ดินเหนียวทั่วไป

ความใสกระจ่าง ของบ่อละแวกนี้ ทำให้ตอนหลังมีเจ้าอื่นทำบ่ออื่นๆ  เพาะสาหร่ายชนิดนี้ออกมาด้วย และมีการประยุกต์ใช้ประโยชน์หลายด้านออกไปเช่น มาทำมาสก์หน้า  เอามาทำสบู่ประทินผิว เป็นต้น อย่างในรูปที่ถ่ายมาให้ชมด้านล่างนี้



ลุงเจริญพรเล่าความเป็นมา ของเรื่องราวให้ฟัง  ความริเริ่มเกิดจากการสังเกตุสาหร่ายที่ขึ้นในบ่อน้ำใสที่ทิ้งไว้ จนเกิดไอเดียหาวิธีเก็บมาขาย


บ่อเตา จะเห็นผืนทรายขาวนวลอัดแน่นอยู่พื้นล่าง  และมีปื้นสีเขียวเป็นหย่อมสาหร่ายเตา อยู่ที่ก้นบ่อ ส่วนเชือกที่ขึงตรึงสองเส้นนั้นเอาไว้ผูกกาละมังเวลาเก็บสาหร่าย


ข้าวเกรียบสาหร่ายเตา ของทานเล่น เขียวธรรมชาติ


เจลมาสก์หน้าสาหร่ายเตา และสบู่สาหร่ายเตา 


ถึงแม้เตาวันนั้นจะเหลือน้อย แต่คุณลุงเล่าให้เราฟังว่า  ถึงจะเบาบางอย่างงี้  รอแค่สามสี่วันก็จะกลับมาเขียวขจีเต็มบ่ออีกครั้ง  พร้อมกับลงลุยเก็บให้เราชมพร้อมกาละมัง
การเก็บก็จะเอาไม้เรียวยาว    ไปหมุนๆ  ในดงสาหร่ายเขียวข้น จะได้ติดไม้ขึ้นมาเป็นใยสวยๆ              


ตอนนี้ คือที่อยู่ในกาละมัง รูดน้ำออกมาจากไม้ก็จะได้เป็นหลอดๆ แบบนี้ 




สาหร่ายเทาที่ผ่านกระบวนการเก็บเป็นหลอดๆ  
เก็บสาหร่ายมาได้ ก็เอาไปล้างน้ำ บีบน้ำอออกแล้วปั่นด้วยอุปกรณ์ปั่นแบบประยุกต์


ปั่นเป็นก้อนออกมานิ่มๆ 


ปั่นออกมาแบบนี้ก็พร้อมเอาสาหร่ายไปทำกับข้าวกับปลาแล้วครับ 


ใส่เครื่องปรุงลงครก


แม่ครัวกิติมศักดิ์ครับ  มาตำสาหร่ายเตาให้พวกเราที่ไปเยือนทาน


หน้าตาแบบนี้ครับ  ใส่น้ำปู๋ด้วย ตามสูตรจาวเหนือ



ต้องทานกับข้าวเหนียวร้อนๆ  จะเข้าท่าครับ แต่ขอบอกก่อนว่า รสชาติแบบนี้ต้องมีความคุ้นชินเป็นพื้นถึงจะถูกปาก ใครไม่เคยทานมาก่อนอาจรู้สึกแปลกๆ  อยู่บ้าง เป็นธรรมดา 

จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

ร้านของหวานป้านิ่ม รสขนมไทย แต่แหกกฏ

คำต้อนรับคลาสสิกของชาวเหนือครับ ยินดีต้อนฮับยิ่งแล้ว แขกแก้วมาเยือน

โดย มารพิณ

ดูคลิปการเดินทาง  www.youtube.com/user/feelthai
จั่วหัวแบบนี้ เพราะมีที่ไปที่มาครับ เดี๋ยว มารพิณจะอธิบายให้ฟังว่า ป้าเค้าแหกกฎยังไง แล้วมันเป็นจุดเด่นตรงไหน

อย่างแรก ต้องบอกก่อนว่าร้านนี้อยู่ที่จังหวัดน่าน กลางเมือง กลางแหล่งท่องเที่ยวเลย แถมช่วงหลายปีหลังนี่ต้องบอกเรียกว่า ดัง เลยล่ะ  ใครไปใครมาก็ต้องชวนกัน บอกลายแทงกันว่ามาน่าน ให้มาหม่ำขนมกันที่นี่

ผมเคยอ่านรีวิวของร้านขนมดังเมืองน่านแห่งนี้มาพอสมควร  ก็งงเหมือนกันว่า เอ๊ะ.... ดังตรงไหน  มีบัวลอย มีสลิ่ม มีเต้าส่วน  มีไอติมกระทิ  ก้อ... ร้านขนมไทยๆ  ก็มีแบบนี้กันมิใช่รึ

มาถึงร้านแล้ว  มารพิณถึงได้รู้ ว่า ไอ้ จุดเด่น ของร้านป้านิ่มนี่  คือนอกจากจะมีครบกระบวนขนมไทยแล้ว  คือมีอย่างที่เขามีกัน บัวลอยไข่หวาน ข้าวเหนียวกระทิ เต้าส่วน สลิ่ม ข้าวเหนียวมะม่วง ฯลฯ  และก็ได้รสแท้ของขนมหวานไทยแล้ว  ยังมีเรื่องเด็ดอีกอย่างที่หลายคนอาจมองข้ามไป

คือ ป้านิ่ม เปิดเสรีการสั่งครับ  ให้เสรีภาพกับคนทานเต็มที่    เสรียังไง ก็คือ คนมาทานจะ mix&match   เรื่องผสมอะไรกับอะไรก็ได้   แหกกฏอาหารไทย ขนมไทยได้เลย   คือ  ถ้าไปร้านขนมที่อื่น ถ้าเราสั่งเต้าส่วนผสมไอติม หรือสั่ง  บัวลอยไข่หวานเสิรฟพร้อมไอติม แบบนี้เป็นถูกมองหน้า  เผลอๆ  แม่ค้าที่อื่นเขาไม่ยอมตักให้  บ่นว่า ทานได้งัย  หรือ บอกว่าคิดราคาไม่ถูก ไม่ยอมตักให้ 

แต่ป้านิ่มแกไม่แคร์ ไม่ mind ครับ   สั่งอะไรมาเลยผสมพิสดารยังไงก็ตักให้ จะกินสลิ่มกับไอติมก็ยัง ได้  มาลองดูตัวอย่างกัน ว่า มารพิณกับเพื่อนๆ ได้หม่ำอะไรไปบ้าง 


ถ้วยนี้ ไอติมกระทิมาพร้อมข้าวเหนียวดำน้ำกระทิและบัวลอยไข่หวาน 


ถ้วยนี้ซ้ายมือคือ ข้าวเหนียวดำนุ่มชุ่มกระทิ ไอติมตรงกลาง แต่ทางขวามีลูกเดือยร้อนๆ  


ถ้วยนี้ก็มิกซ์แอนด์แมตช์ได้เร้าลิ้น มีเต้าส่วนอุ่นๆ ราดน้ำกระทิ ไอศกรีมและบัวลอยไข่หวานครับ
มาชิมกันต่อ เมนูนี้เป็นไอติมข้าวเหนียวดำ มะม่วงสุกครับ 
แห้วทับทิม สลิ่ม มีครบของร้อน ของเย็น  ผสมอะไรก็ได้ 


ไอติมสองลูกนี้สิครับแปลกจริง เพราะเป็นรสมะไฟจีน ที่ออกรสยาเล็กน้อย  เป็นของดีประจำเมืองน่าน ถ้าจะลองก็สั่งมาลิ้มรสได้ แต่มารพิณขอเตือนว่ารสจะออกยาจีนนะ   แต่เชื่อเถอะ ยิ่งห้ามก็ยิ่งยุ หุหุ...
ตรงนี้ก็กองบัญชาการป้านิ่มครับ จะเอาอะไรก็สั่ง จิ้มบอกได้เลย 

กติกาประจำร้าน คือ หยุดวันพุธ และถ้าขึ้นไปทานชั้นบนให้ถอดรองเท้า แล้วกินเสร็จให้หอบเอาถ้วยลงมาจ่ายเงินข้างล่างด้วย


กำหนดเวลาเปิดปิดร้านขนมป้านิ่มก็ตามนี้ครับ  แต่ถ้าจะทานบัวลอยเจ้าเพื่อนยาก ป้าแกจะทำให้หลัง 6 โมงเย็น พระอาทิตย์ลาลับฟ้าไปแล้วเท่านั้น 


บรรยากาศในร้านขนม ชั้นล่าง


ทางขึ้นชั้นบนร้าน





อีกมุมของร้านขนมป้านิ่ม เมืองน่าน


แขกมาสั่งอาหารจากป้านิ่ม 




ขนมเย็นน้ำแข็งใส ลอดช่อง อะไรป้ามีหมด  เป็นร้านขนมที่มีครบวงจรเมนูหลักอย่างแท้จริง 


ป้ายร้านอลังการแบบสไตล์เหนือ


ใครไปไม่ถูกอยู่ติดวัดศรีพันต้นครับ   แต่ถามคนเมืองน่าน เขาก็รู้จักร้านขนมชื่อดังร้านนี้ทุกคนล่ะ

จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

วันศุกร์, กรกฎาคม 18, 2557

วิธีทำผ้าหม้อห้อม ของดี OTOP แพร่


โดย มารพิณ

ดูคลิปการเดินทาง  www.youtube.com/user/feelthai
มองหา ข้อมูลที่พัก โรงแรม รีสอร์ท

วันก่อนไปแพร่มาครับ หลายคนอาจไม่ทราบว่าที่นี่คือต้นต้อ ถิ่นกำเนิดของผ้าหม้อห้อม  เรามาดูกันว่าเขาเอาอะไรมาทำ และทำกันยังไง

ใครที่ยังเคยชินกับภาพในอดีตของศิลปิน จรัล มโนเพชร  หรืออีกหลายคนดังที่ใส่เสื้อสีน้ำเงินคราม  คอกลมแขนสั้น มีกระดุม หรือมีผูกเชือกเป็นสายสไตล์จีน ที่ว่ากันว่าเป็นภาพลักษณ์ของคนสมถะ  หรือชาวบ้าน  แบบนี้ก็ต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ได้แล้ว

ป้าเหลือง แห่งบ้านทุ่งโฮ้ง หนึ่งในเกจิการย้อมชื่อดัง
เพราะเสื้อหม้อห้อม เดี๋ยวนี้เขามีดีไซน์ทั้งรูปแบบ ลวดลายพัฒนาไปไกลแล้ว ทั้งแบบบาติกมัดย้อม หรือพิมพ์ลายเทียน  เดี๋ยวมาดูกันจากที่ผม มารพิณ เพิ่งแวะไปดูมาที่หม้อห้อมป้าเหลือง ที่บ้านทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ครับ

อย่างแรก ต้องบอกก่อนว่า ต้องเขียนว่า "หม้อห้อม"  ไม่ใช่ "ม่อฮ่อม"  นะครับ  เพราะคำว่า "หม้อ"  หมายถึง หม้อ หรือภาชนะที่ใส่ และหมักสีย้อม   ส่วน "ฮ้อม" ก็มาจากใบฮ้อม  ที่ให้สีธรรมชาติแบบที่ฝรั่งเรียกว่า Indigo dye   เจ้าสี indigo ที่ว่านี่ก็คือสีน้ำเงินเข้มคราม หรือที่เขาเรียกว่า dark purplish blue คือ น้ำเงินเข้มออกอารมณ์ม่วงนิดๆ  ในเชดสีที่ฝรั่งจำกัดความเอาไว้ 

หม้อที่หมักหัวเชื้อฮ้อมแบบเข้มข้นเอาไว้  เก็บไว้ใช้ได้หลายงาน  ต้องชโลมน้ำไว้อย่าให้แห้ง

วิธีการที่ชาวบ้านทุ่งโฮ้ง ซึ่งมีเชื้อสายลาวพวน ใช้กันคือเอาใบห้อมมาคั้นน้ำ จะได้น้ำสีเขียว แต่พอเอาปูนขาวลง ไปผสม สีเขียวจะเปลี่ยนร่างกลายพันธุ์ไปเป้นสีน้ำเงินเข้มอย่างไม่น่าเชื่อสายตา

 เมื่อก่อนก็ย้อมผ้ากันเฉยๆ   ตอนหลังรับเทคนิคสมัยใหม่พวกบาติก มัดย้อม อะไรเข้ามาก็มีการวิวัฒนาการเป็นลวดลายต่างๆ   ใครที่มาเที่ยวแพร่ อย่าลืมแวะที่บ้านทุ่งโฮ้ง ครับ  ลองแวะเลือกดูหลายๆ  ล้าน เพราะแต่ละที่จะมีลวดลายเทคนิค วิธีการทำไม่เหมือนกัน ต้องเดินดูเอา มีหลายสิบร้านให้เลือกชมครับ

วิธีการย้อมผ้าหม้อห้อมแบบโบราณ

มาดูวิธีการทำกันเลยครับ  ผมอัดคลิปประกอบไว้ด้วย เดี๋ยววันหลังจะเอามาลงประกอบ รออัปโหลดอยู่ครับ
ไม่น่าเชื่อว่า แค่ปูนขาวจะทำปฏิกริยาเปลี่ยนสีย้อมได้ขนาดนี้ 

ป้าเหลืองชูผืนผ้าฝ้าย ที่พิมพ์ลายเทียน ประทับเอาไว้ ก่อนจะเอาไปย้อมสีห้อม

ที่เห็นเป็นใบเขียวๆ ในถังเหลืองด้านล่างของภาพคือ ใบห้อม ที่เห็นเป็นขาวๆ  คือไหปูนขาว ตัวทำปฏิกริยาเคมี สร้างสีสันขึ้นมา 

จังหวะนี้คือการย้อมสีครับ เอาผ้าลงไปย้อมในไหน้ำห้อม



ได้เนื้อผ้าสีสวยไม่น่าเชื่อ พร้อมลวดลาย 

ไหหมักห้อม ในบ้านป้าเหลือง เมืองแพร่ 

ย้ายมาดูการทำลายบ้างครับ  ลูกสาวป้าเหลือใช้แผ่นพิมพ์แกะสลักไม้สักประทับเทียนร้อนๆ  เอามาพิมพ์ลายบนเนื้อผ้า ก่อนเอาผ้านี้ไปผ่านขั้นตอนการย้อมผ้าอีกที 

แผ่นประทับ ปั๊มลายมากมายหลายแบบ กองสุมอยู่ 

ทางนั้นบอกว่า แมวตัวนี้เป็น โฟร์แมนคุมงานครับ  รับรองไม่มีย้อมแมว แน่ๆ  

ขั้นตอนและวิธีการพิมพ์ลายผ้าด้วยเทียน 
ใครไม่เคยเห็นดอกฝ้าย ต้นตอ ที่มา ของเส้นใยธรรมชาติ ที่เอาไปทำผ้าฝ้ายก็คือนี่ครับ  ดูกันเลย
 ส่วนด้านล่างนี้ก็คือแบบเสื้อ ลายใหม่ๆ  ของผ้าหม้อห้อม ที่สวยงาม ทันสมัย เปลี่ยนรูปลักษณ์และความรู้สึกไม่เชยแบบเมื่อก่อนอีกแล้ว




จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ