วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 04, 2554

เทคนิคจำศัพท์ รู้คำอังกฤษเพิ่ม


โดย มารพิณ 


จะว่ากันไปแล้ว แบบไม่ได้โม้เลยจริงๆ ว่า ทุกภาษามีศัพท์สำคัญที่ใช้งานบ่อยสุดแค่ไม่เกินสองพันคำ  รู้แค่สองพันคำนี้ เท่ากับรู้ภาษานั้นไปกว่าครึ่ง  ด้วยเหตุนี้  ผมเลยไม่เข้าใจซักทีว่าทำไม การเรียนภาษาอังกฤษที่สอนกันในบ้านเราถึงไม่เน้นที่ศัพท์ และเทคนิคการ "จำศัพท์"  แต่ทลึ่งไปเน้นแกรมมาร์ หรือไวยากรณ์แทน

ซึ่งสังเกตนิดว่าผมเน้นว่า "จำ หรือ จำได้"  แต่ไม่ใช่ "ท่องจำ" นะครับ  อะไรที่ท่อง มักจะไม่จำ หรือถ้าจำได้ก็มักจะลืมเร็ว  ศัพท์จะติดตา ตรึงใจได้ต้อง "จำ"  ครับ ไม่ใช่ "ท่อง"  แก้วจ๋า ยายจ๋า แบบนกแก้วนกขุนทอง

เคล็ดวิชาหนึ่งที่อยากจะแนะนำก็คิือ ต้องเพิ่มศัพท์แบบแตกหนึ่งคำให้เป็นสองคำ   หาศัพท์อังกฤษที่เรารู้แล้วมาซักตัว แล้วมองหาซิว่าในคำนั้นมีคำอังกฤษอื่นๆ ซ่อนอยู่หรือป่ะ
ตัวอย่างเช่น...
Password  พ่าสเหวิ่ร์ด  ที่แปลว่า  รหัสผ่าน  หรือ ตอนนี้ก็นิยมใช้ทับศัพท์ไปว่า "พาสเวิร์ด" เลย ก็เข้าใจสื่อสารกันได้ดีเหมือนกันครับ  ไม่ใช่ศัพท์บัญญัติอะไร แต่ชาวบ้านนิยมใช้ พาสเวิร์ดก็พาสเวิร์ดครับ ไม่เห็นเป็นอะไร  ถ้าใช้แล้วไม่มีใครตายก็ใช้กันเถอะครับ อย่ามา so ดัดจริตอะไรกันแถวนี้

เราเอาคำที่คุ้นตาคำนี้มาแตกศัพท์ภาษาอังกฤษกันดูนิดนึง ว่าจะได้อะไรมา
  • pass พ่าส หรือ แพ่ส หมายถึง ผ่าน  ช่องทางผ่าน บัตรผ่าน  ในทางภูมิศาสตร์ หมายถึง "ช่องเขา"  ก็ได้เช่นกันครับ หลากหลายการใช้งานจริงๆ 
  • word  เวิ้ร์ด   แปลว่า คำ คำที่เขียนหรือพูดออกมา  ถ้อยคำ  คำพูด คำจา  
เราจะเห็นว่าไอ้เจ้า Password  พ่าสเหวิ่ร์ด  ที่แปลว่า  รหัสผ่าน เนี่ย มันต้องมีที่มาจากการที่  สมัยก่อนมียามเฝ้าประตู  เฝ้าค่าย หรือเฝ้าด่านทางผ่านที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ทางทหารเอาไว้   เวลามืดค่ำ หรือเจอคนแปลกหน้าไม่รู้ใครเป็นใคร วิธีเดียวที่จะเช็คดูได้ว่าำ นี่พวกเดียวกันหรือป่ะก็คือ ต้องเอ่ยถามรหัสผ่าน   งานนี้ ตอบไม่ถูกอาจตายได้ เพราะนโยบายคือ ยิงก่อน พลิกศพทีหลัง

รวมความแล้ว  Password  พ่าสเหวิ่ร์ด  ก็เป็นคำที่ใช้ผ่าน  ไม่มีคำนี้ก็ผ่าน pass พ่าส  เข้าไปไม่ได้ แบบนี้นี่เอง

รวมลิงก์หนังสือมารพิณ

 +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 ฝากแนะนำเว็บ feelthai.blogspot.com ต่อให้คนรู้จักด้วยนะครับ กด like กด share ใน เฟซบุ๊คจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง แต่ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามภาษาอังกฤา หรือแก้ปัญหาการบ้านภาษาอังกฤษนะครับ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ (English for learners - blog)