www.facebook.com/marnpinbook
เท่าที่เคยถามมา เรื่องใหญ่ที่สุดในชีวิตสาวๆ เวลาไปเดินทางเรื่องงาน ประชุมสัมมนา อบรมดาวน์ไลน์ ขายตรง อะไรต่อมิอะไรทั้งหลาย คือ "ทรงผม" ครับ บางโรงแรมที่หรูหน่อยเขาก็เลยมีเตรียมที่เป่าผมให้ไว้ในห้องด้วย
ดังนั้นรู้ศัพท์พวกนี้ไว้บ้างก็สำคัญ มิใช่น้อย โดยเฉพาะใครที่ต้องบินไปนอกบ่อยๆ เพื่อติดต่องาน หรือออกบูธ โรดโชว์จัดนิทรรศการอะไรต่างๆ จะได้ถามหาได้ถ้าไม่มีจริงๆ
hair dryer ออกเสียงว่า แฮร์ ดร้ายเอ่อะร์ คือที่เป่าผม นั่นเองขอรับ นอกจากนี้ยังเขียนติดกันได้ก็มีใช้กัน เช่น hairdryer ก็มีเขียนกัน
อ่านต่อ....
ศัพท์ฝรั่งทำผมตัวนี้ก็มาจากคำว่า hair ออกเสียงว่า แฮ่ร์ แปลว่า ผม เส้นผม หรือ ขน ก็ได้ครับ ส่วน ฝรั่งใช้เซนส์ของคำว่าทำให้ผมแห้ง ส่วน dryer ก็มีรากมาจาก dry+er dry อ่านว่า ดร่าย แปลว่า แห้ง รวมความครบสรรพก็ได้ประมาณว่า "ที่ทำให้ผมแห้ง" หรือ "ตัว หรือเครื่องที่ทำให้ผมแห้ง" น่านเองครับ
มาดูเทียบหน้าตาการเซิร์ชภาพ hair dryer จากกูเกิ้ลครับ
http://www.google.com/search?q=hair+dryer&hl=en&biw=1024&bih=600&prmd=ivnsr&source=lnms&tbm=isch&ei=tDYeTt6_CcnHrQfy5PnzAQ&sa=X&oi=mode_link&ct=mode&cd=2&ved=0CB0Q_AUoAQ
แต่ช้าก่อน สาวน้อย สาวใหญ่ทั้งหลาย ....แต่ฝรั่งเขายังมีคำเรียกที่เป่าผมอีกคำครับ ซึ่งคำนี้น่าจะเป็นต้นตอของการแปลศัพท์อังกฤษออกมาเป็นภาษาไทย นั่นคือ
blowdryer
blowdryer ออกเสียงว่า โบล้วดร่าย เอ่อร์ แปลว่า ที่เป่าผมเหมือนกันครับ (บางทีก็เขียนแยกเป็น blow dryer ก็มีครับ
คำว่า blow นี่นะ ออกเสียงว่า โบล้ว แปลว่า เป่า หรือใช้กับลมก็คือ ลมพัด เอาล่ะ พอรู้ศัพท์นี้ และเมื่อกี้รู้ความหมายของคำว่า dry ไปแล้ว ผมก็จะฝาก แถมทิ้งท้ายให้อีกคำก็คือ blow-dried โบล่ว ดร่ายด์ เป็น adj แปลว่า เป่าให้แห้ง เป่าผมให้แห้ง
เห็นมั้ยพอเริ่มรู้ศัพท์เราก็ต่อยอดความเข้าใจไปได้ไม่ยากเย็นเกินความเข้าใจ เอาล่ะครับ ทำผมให้สนุกกันได้เลยครับ!
รวมลิงก์หนังสือมารพิณ
- ภาษาอังกฤษร้ายสาระ
- Snake Fish Fish อังกฤษเที่ยวนอก
- คู่มือสนทนาภาษาจีนฉบับ จิ้มชี้เที่ยว
- รวมหนังสือที่เขียน(ท่องเที่ยว+ภาษา
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ฝากแนะนำเว็บ feelthai.blogspot.com และในเฟซบุ๊ค http://www.facebook.com/marnpinbook ต่อให้คนรู้จักด้วยนะครับ จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
แต่ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามภาษาอังกฤา หรือแก้ปัญหาการบ้านภาษาอังกฤษนะครับ
© สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ (English for learners - blog)