วันอังคาร, มกราคม 24, 2555

ลูกจุดโทษภาษาอังกฤษเรียกอะไร penalty แปลว่ายังไง


(บน) Mario Balotellis  ซัดลูกโทษเฉือนชนะสเปอร์ นี่เป็นมุมมองแบบบรรยากาศในสนามที่แฟนบอลแมนซิตี้เรือใบสีฟ้าถ่ายมา  ผมว่ามุมถ่ายนี้ได้อารมรณ์กว่ากล้องภาพชัดๆ  ในสนามเสียอีก 



โดย มารพิณ
 www.facebook.com/marnpinbook
สำหรับคอลูกหนังที่นิยมกีฬาฟุตบอลแล้ว "ลูกจุดโทษ"  หรือ "ลูกโทษ"  นี่เป็นอะไรที่เร้าใจค่อดๆ  สวดยวด กันไปเลยเพราะเป็นการวัดชะตา ดวลกันตัวต่อตัวระหว่าง คนเตะลูกจุดโทษ(penalty taker) กับผู้รักษาประตู (goalkeeper)  เท่านั้น


ลูกจุดโทษนี้ ภาษาฟุตบอลลฝรั่งเขาเรียกกันว่า   penalty kick   หรือเรียกว่า  penalty  เฉยๆ     รวมทั้งเรียก spot kick  ก็มี  มีเรียกย่อว่า PK   ก็ได้

 นี่ก็คือการเตะลูกโทษจากระยะสิบสองหลา หรือประมาณคร่าวๆ  ก็ สิบเอ็ดเมตรจากประตู  และต้องไม่มีอะไรมาขวางคนเตะ กับประตู นอกจากนายประตูทีมตรงข้าม

มาดูศัพท์อังกฤาที่เกี่ยวกับฟุตบอลที่เราเจอกันครับ

  • penalty  ออกเสียงว่า เพ๊ หนั่ล ถี่   แปลว่า โทษ ทำโทษ การลงโทษผู้กระทำผิด 
  • kick  อ่านว่า หคิ่ก  แปลว่า เตะ เอาเท้าเตะอะไรให้กระเด็นออกไป เตะให้พุ่งออกไป   
  • goal   ออกเสียงได้ว่า โก้ล     แปลว่า ประตู  ประตูในกีฬาฟุตบอล นอกจากนี้ยังแปลว่า เป้าหมาย จุดมุ่งหมาย เป้า เป้าหมายที่ต้องการจะบรรลุในการทำอะไรซักอย่าง แบบนี้ก็ใช้ได้ด้วยนะครับผม  .ใครเรียนพวกบริหาร หรือบริหารธุรกิจ จะต้องเจอศัพท์อังกฤาตัวนี้แน่นอน
  • goalkeeper  อ่านว่า  โก้ล ขี่ผ เป่อะ   แปลว่า ผู้รักษาประตู แหม..คำนี้คนบัญญัติศัพท์ชาวไทยสมัยโน้น ก็แปลมาจากภาษาอังกฤาตรงๆ เป๊ะๆ เผงๆ เลยครับ เพราะเอา Goal(ประตู) + keeper (ผู้ดูแล ผู้เก็บรักษา  ผู้เฝ้า)  คำว่า keep อย่างเดียวเป็นเวิร์บแปลว่า เก็บเอาไว้ รักษาเอาไว้ หรือดูแล  ดูแลรักษา เฝ้าระวังก็ได้ครับ 

มาดูคลิปฟุตบอลกันอีกครับจาก Youtube นี่เหหมือนกัน มีฝรั่งอังกฤาแฟนหงส์ถ่ายเก็บเอาไว้แมตช์  Liverpool Vs Chelsea 1 พฤาภาคม ปี  2007  โน่น







แล้วพบกันใหม่กับเรียนภาษาอังกฤษและเดินทางแบบมันส์ๆ ฉีกแนว แหวกกฏกันได้ที่นี่เช่นเคยครับ ขอขอบคุณที่ติดตามมาโดยตลอดครับ 




รวมลิงก์หนังสือมารพิณ

 ใครที่คิดว่าเรื่องราวภาษาอังกิดที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆ ใน Facebook ด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามภาษาอังกฤา หรือแก้ปัญหาการบ้านภาษาอังกฤษนะครับ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ (English for learners - blog)