www.facebook.com/marnpinbook
มีอยู่คำนึงที่เป็นแม่ไม้ควรรู้ควรทราบไว้สำหรับคนที่จะทำโปรดักต์ประเภทของกิน ของหม่ำขายฝรั่ง หรือส่งออกไปต่างแดน
นั่นก็คือ "ไม่ใช้วัตถุกันเสีย" หรือ "ไม่ใส่สารกันบูด" ที่เป็นสารเหนือธรรมชาติ ใส่แล้วไม่เน่าเสีย เก็บไว้ได้นาน แต่ก็เกรงว่า กินมากๆ เข้าไปจะเป็นผลร้ายต่อคนทาน ก็มีหลายคนเขาถือสาในเรื่องนี้มาก จะเช็คดูเสมอว่าของที่ตัวเองจะกินน่ะ มีไอ้พรรค์อย่างนี้อยู่มั้ย
ดังนั้นถ้าเราไม่มี ไม่ใส่ ไม่ใช้ ก็ต้องประกาศให้ชัด ให้ แรงส์ ออกไปบนสลากหรือห่อสินค้า แพ็คเกจจิ้งของเราเลยว่า ไม่ได้ใส่ วางใจได้เลย แบบนี้ของก็ขายออก คนซื้อไปทานก็ได้มั่นใจ
คำว่า no preservative added จาก ห่อแพ็คเกจปลาสลิดทอดกรอบครับ |
มาดูกันว่าภาษาอังกฤษใช้คำว่าอะไร
No Preservative Added
ใครทำสินค้า OTOP หรือทำของกินขบเคี้ยว แนะเลย จดประโยคนี้เอาไว้เป็นวรรคทองไว้ใช้งาน ขอให้ของเราไม่ใช้สารพวกนี้จริงๆ และ เราขายแต่ความสดใหม่ ก็ย้ำประโยคนี้กำกับติดป้าย หรือพิมพ์ลงสลากบนห่อให้ฝรั่งดูได้เลย
อ่านต่อ...
มาแตกศัพท์ภาษาฝรั่งกันดูต่อครับ
No ก็แปลว่า ไม่ หรือ ไม่มี เป็นการปฏิเสธการมีอยู่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
Preservative ออกเสียงว่า ผริ่ เซ๊อ เว ถิ่ฝ แปลว่า สารที่มีพลัง หรือความสามารถในการ "คงรักษา" อะไรบางอย่างเอาไว้ นั่นก็คือ แปลว่า "วัตถุกันเสีย" หรือ "สารกันบูด" ที่ทำให้อาหารการกินไม่บูดหรือเน่าเปื่อยไปนั่นเอง
นอกจากอาหารแล้ว ยังใช้คำนี้ได้กับพวกสารที่ใช้รักษาเนื้อไม้ ไม้(wood) ได้อีกด้วย แต่ความหมายสารกันบูดมันใกล้ตัว ใกล้ปากเรามากกว่า
Added เป็นรูปเติม-ed ของเวิร์บว่า add อ่านว่า แอ่ด แปลว่าเพิ่ม เติม เสริม ใส่ บวกเข้าไป หรือแม้แต่ บวกเลข ก็คือแบบนี้ครับ ตบ -ed ไปที่ตูดของคำ ก็เป็นเสมือนการยืนยันให้ชัดว่าไม่มีการเพิ่ม ไม่ได้เติมอะไรลงไป
แวะมาอ่านวิธีการเรียนภาษาอังกฤษแบบแปลกๆ ได้ที่เว็บไซต์นี้ครับ มาเจอกันได้เลย ขอขอบคุณมากครับที่ติดตาม
รวมลิงก์หนังสือมารพิณ
- ภาษาอังกฤษร้ายสาระ
- Snake Fish Fish อังกฤษเที่ยวนอก
- คู่มือสนทนาภาษาจีนฉบับ จิ้มชี้เที่ยว
- รวมหนังสือที่เขียน(ท่องเที่ยว+ภาษา)
- +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]
ใครที่คิดว่าเรื่องราวภาษาอังกิดที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆ ใน Facebook ด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามภาษาอังกฤา หรือแก้ปัญหาการบ้านภาษาอังกฤษนะครับ
© สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ (English for learners - blog)