วันเสาร์, พฤศจิกายน 19, 2554

เรียนภาษาอังกฤษจากป้ายข้างถนน

โดย มารพิณ
 www.facebook.com/marnpinbook

เคยมีครูสอนภาษาอังกฤษคนนึงถามผมมาว่า  อยากหาข้อมูลเตรียมการสอนภาษาอังกฤษ แบบให้ดูมีชีิวิตชีวา  เอาให้ใช้งานได้จริง แบบพวกป้ายถนน อะไรพวกนั้น จะไปหาในเน็ตจากเว็บไซต์ไหนดี   หรือผมที่เดินทางบ่อยได้ไปถ่ายเก็บมาไว้หรือเปล่า

อืมม์ ...ก็มีถ่ายไว้บ้างครับ แต่ถ้าจะเอาเยอะ และให้เป็นการเรียนภาษาอังกฤษจากป้ายชื่อภาษาฝรั่งกันจริงๆ   จังๆ  แล้ว ขอแนะให้ไปที่เว็บไซต์ตาม URL ด้านล่างนี้ เลยครับ สุดยอดจริงๆ  

http://www.manythings.org/signs/

เหมาะสำหรับทั้งเรียนภาษาอังกฤษเองที่บ้าน หรือเหมาะสำหรับเอาไว้เตรียมการสอนสำหรับครูหมวดภาษาอังกฤษ จะแบบไหนก็ทำได้ตามสะดวกครับ

คำว่าป้าย ภาษาอังกฤษใช้คำว่า sign  ออกเสียงว่า ส้ายน์    แปลว่า  ป้าย  ป้ายที่เป็นแผ่นมีข้อความเขียนบอกไว้นี่ละครับ  แต่อันที่จริงคำนี้ยังมีความหมายอื่นในภาษาอังกฤษอีก เช่น สัญญาณ สัญญลักษณ์ สัญญะ ฯลฯ   สารพัดครับ แต่จะไม่พูดถึงกันก่อน  เราเอาแค่ความหมายที่หมายถึง ป้าย


ทีนี้ผมมีสองสามคำที่จะเคลียร์เรื่องภาษาอังกฤษนิดนึง  ก็คือ ถ้าฝรั่งใช้คำว่า  Traffic signs  หรือ  road signs  แบบนี้เขาจะหมายถึง ป้ายแบบบอกทาง บอกข้อมูลคนขับรถอยู่ข้างถนน เช่น  ระวังช้าง ระวังถนนลื่น ใกล้เขตโรงเรียน  มีด่านตรวจจับความเร็ว  อะไรแบบนี้

 แต่ถ้าเป็น street signs    เขามักจะหมายถึง ป้ายถนน  ซึ่งเป็นป้ายบอกชื่อ ถนน  ว่าเป็นถนนนั้นถนนนี้  เป็นการพูดเจาะจงลงไปอีกนิดนึง มักใช้กับป้ายชื่อถนนในเมืองตามสี่แยก ที่ให้ดูว่าถนนอะไรเป็นอะไร

(บน) หน้าเว็บไซต์ครับ  เขามีแบ่งประเภทรูปเอาไว้ด้วย อย่างแรกคือเป็นลิสต์ตามลำดับตัวอักษร (Alphabetical Listing)  และมีหัวข้อช้อบปิ้ง  การเดินทาง  ขับรถ และป้ายในชีวิตประจำวัน


(บน) ตัวอย่างหน้าเพจที่มีป้ายภาษาอังกฤษที่เราจะได้เห็นเวลาไปเที่ยวเมืองนอก แบบนี้ไม่ต้องไปถึงเมืองฝรั่งก็สามารถเรียนรู้และฝึกภาษาอังกฤษได้ด้วยตนเองครับผม 


(บน) นี่ก็ตัวอย่างเพจหมวดช้อบปิ้ง จับจ่ายซื้อของทั้งหลายที่รวมป้ายหน้าร้าน และตามห้างของฝรั่งมา  กดไปที่แต่ละภาพจะมีรูปขยายใหญ่ขึ้นมา


รวมลิงก์หนังสือมารพิณ

 ใครที่คิดว่าเรื่องราวภาษาอังกิดที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆ ใน Facebook ด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามภาษาอังกฤา หรือแก้ปัญหาการบ้านภาษาอังกฤษนะครับ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ (English for learners - blog)