วันอังคาร, ตุลาคม 11, 2554

เราต้องเปลี่ยนวิธีคิด เรื่องขนน้ำทางไกลไปช่วยผู้ประสบภัย

โดย มารพิณ
 www.facebook.com/marnpinbook 


อยากจะให้ดูคลิปวิดีโอด้านล่างนี้นิดนึง ฟังภาษาอังกฤษไม่ออก ไม่เป็นไร  ผมจะสรุปประเด็นสำคัญๆ  ให้ฟังด้านล่างนี้

หลังเหตุการณ์สึนามิ( tsunami) ที่อินโดนีเซีย ไทย และศรีลังกา รวมทั้งเฮอริเคนคาทรินาที่ถล่มอเมริกา ก็มีผู้เชี่ยวชาญอังกฤษคนนึง คือ  Michael Pritchard  (http://www.lifesaversystems.com  )ได้ไอเดียใหม่มาสร้างโปรดักต์ใหม่ออกมาขาย  โดยรับมือกับปัญหาหลัก ข้อนึงในการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติต่างๆ

นั่นคือ  ทำไมต้อง ขนน้ำสะอาด ปริมาณมากทางไกล ซึ่งขนยาก น้ำหนักสูง สิ้นเปลืองพื้นที่  กินเชื้อเพลิงของยานพาหนะที่ขนไปช่วย ...ในขณะที่น้ำท่วม มีน้ำอยู่รอบตัวสุดลูกหูลูกตา


ไอเดียใหม่ วิธีคิดใหม่คือ แทนที่จะใช้เครื่องกรองขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้ไฟฟ้า   ก็ใช้ เครื่องกรองแบบใส้กรองนาโนขน่าดเล็ก( nano-filtration)   ที่รูเล็กมีขนาด  15 nanometer ซึ่งกรองได้ทั้งไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย  เทน้ำสกปรกเข้าไปแล้วปั๊มเป็นน้ำสะอาดออกมา



(บน)   Michael Pritchard   ตอนไปบรรยายกับ ted ดอทคอม


(บน)  ฝรั่งของเว็บแลนด์โรเวอร์ เอาไปเทสต์ภาคสนาม




(บน) สาธิตการใช้จริง ตอนเหตุการณ์อุทกภัย น้ำท่วมใหญ่ปากีสถานเมื่อปีก่อน

ที่น่าคิดก็คือ  คือประเด็นดังนี้

1- ถึงแม้ราคาไม่ถูก แต่เป็นอุปกรณ์ที่น่าสนใจที่สุดที่ควรมีเก็บไว้ในระดับ อบต.  โรงเรียน วัด  ชุมชน ในเวลาฉุกเฉิน

2- จริงอยู่ว่าราคาสูง แต่ ถ้ามีใครลองคำนวนต้นทุนการขนน้ำดื่มบรรจุขวดไปที่เกิดเหตุ เช่น  เมื่อคราวน้ำท่วมหาดใหญ่ล่าสุด มีการขนน้ำดื่มบินจากกรุงเืทพฯด้วยสายการบินนกแอร์ และสายการบินอื่นๆ  เมื่อเราคิดต้นทุนรวม =  ต้นทุนผลิตน้ำบรรจุขวด+ค่าขนส่งไปที่เกิดเหตุและแจกจ่าย   ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อน้ำ 1 ลิตร มันมหาศาลเกินไป ไม่สามารถทำได้ในระยะยาว และในวงกว้าง

3- เมื่อสามารถลดภาระเรื่องการขนน้ำ  เจ้าหน้าที่ที่ช่วยเหลือจะสามารถเน้นไปที่เรื่องอื่นเช่นย อาหาร  อุปกรณ์ช่วยเหลือ ยา  รวมทั้งเรื่องอื่นๆ  ได้มากกว่า

4- รัฐบาลสามารถให้หน่วยงานภาคการศึกษาคิดทำอุปกรณ์พวกนี้ ขึ้นมา หรือซื้อสิทธิบัตรมาผลิตเป็นจำนวนมากได้

5- อุปกรณ์พื้นฐา่นพวกนี้ควรอยู่ในพื้นที่ในระดับตำบลตั้งแต่แรก  เพราะในสถานการณ์จริงแบบนี้ เจ้าหน้าที่รัฐทุกระดับทำงานหนัก แต่ไม่มีใครที่จะกระจายความช่วยเหลือไปได้ครบถ้วนแน่ๆ เพราะการติดต่อถูกตัดขาด  ถ้ามีอุปกณ์พื้นฐานในพื้นที่ คือทางเลือกที่ดีที่สุดให้คนในพื้นที่ช่วยตัวเองกันได้

6- อย่าแปลกใจที่เห็นเขาทำเป็นรูปบริษัท  เพราะแนวคิดของฝรั่งในเรื่องความช่วยเหลือไม่ใช่แค่การให้เปล่าอย่างเดียว บริษัทพวกนี้ทำอุปกรณ์ขายให้องค์การความช่วยเหลือ  NGO  และภาครัฐ   ผลกำไรก็ไปพัฒนาโปรดักต์ต่อ คิดแบบนี้ถึงมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ไม่ใช่แบบคุณหญิงคุณนายแจกผ้า่ห่มกันอย่างเดียว

ที่เขาทำขายออกมา ก็มีรูปแบบต่างๆ  แบบนี้ครับดูได้เลย

แบบขวด
http://www.lifesaversystems.com/resources/bottle-technical-info

แบบถังหิ้ว
http://www.lifesaversystems.com/lifesaver-products/lifesaver-jerrycan

แบบเป้หลัง พกพาสะดวก
http://www.lifesaversystems.com/lifesaver-products/lifesaver-hydrocarry

รวมลิงก์รับมือปัญหาน้ำท่วม
http://feelthai.blogspot.com/2011/10/blog-post_1240.html

รวมลิงก์หนังสือมารพิณ

 ใครที่คิดว่าเรื่องราวที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆ ใน Facebook ด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามภาษาอังกฤา หรือแก้ปัญหาการบ้านภาษาอังกฤษนะครับ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ (English for learners - blog)