โดย มารพิณ
www.facebook.com/marnpinbook
ฝรั่งมีคำพูดที่เป็นสำนวนการทักทายเวลาเพื่อนฝูง คนรู้จัก หมู่มิตรสหายมาเจอกัน พบหน้ากันอีก อาจจะเป็นเพื่อนร่วมงาน กิ๊กเก่า อดีตแฟน หรือใครก็ได้ ที่มาเจอกันอีกต้องมีบทพูดเอาไว้ทักกัน
สังเกตุว่าประโยคนี้เรียบง่าย ผิดธรรมชาติสำนวนฝรั่งมาก มาดูว่าใช้ยังไง
Long time no see.....
แปลความหมายก็ตรงๆ ตัวเลยครับ ไม่เห็นหน้ากันนานแล้วนะ ไม่ได้เจอกันนานเลยนี่ นานแล้วไม่เห็นหน้าเห็นตากันเลย
แปลกมาก ดูง่ายใช่มั้ยครับ มีตำนานที่ไม่น่าเชื่ออยู่ก็คือ ถึงแม้ที่มาของวิธีพูดสำนวนภาษาอังกฤษนี้จะยังเป้นความลับแห่งอดีตกาล ไม่มีใครล่วงรู้แน่ชัด แต่ข้อสันนิษฐานของบรรดานักภาษาศาสตร์ นักประวัติศาสตร์นั้นค่อนข้างจะเห็นตรงกันว่า "น่าจะมาจากภาษาจีน"
อย่าตกใจครับ.... เพราะตอนอเมริกาสร้างชาติ ทำทางรถไฟข้ามทวีปเชื่อมสองฝั่งมหาสมุทร (Transcontinental railroad) นั้น แรงงานที่มาทำ มาสร้างทางรถไฟ นอกจากจะเป็นพวกไอริช อิตาเลียน และยุโรปตะวันออกแล้ว ก็มีแรงงานจีนจากแถวมณฑลกว่างตง(กวางตุ้ง) เข้าไปมากมายเป็นหมื่น เอาชีวิตไปทิ้งก็เยอะ โดนหลอกไปบ้าง อะไรต่างๆ นานา และก็มีคนจีนอพยพเข้าไปพอสมควร ไปเป็นแรงงานเกษตรอะไรบ้าง
สำนวนจีนที่ว่าก็คือ
好久不见
hǎo jiǔ bu jiàn
หาวจี่วปู๋เจี้ยน
ถอดความภาษาจีนตามตัวออกมาแปลเป็นภาษาอังกฤษก็ Long time no see เป๊ะๆ เลย ก็คือ ในแคลิฟอร์เนียสมัยนั้นมันหลายชาติมากกันมาก แห่มาขุดทอง ตื่นทอง(Gold rush) (ชื่อเมืองซานฟรานซิสโกสมัยนี้ ยังเรียกเป็นภาษาจีนว่า "เมืองภูเขาทองเก่า"
ทีนี้คนจีนสมัยนั้น พอพูดอังกฤษ ก็ติดสำนวนเดิมของตัวเอง (เหมือนคนไทยแซวกันเล่นว่า no water medicine = ไม่มีน้ำยา อะไรแบบนั้น) พูดออกไป แล้วบังเอิญมันลงตัว กระชับ ฝรั่งก็ชอบใช้กันติดมา จนทุกวันนี้
มาดูศัพท์ภาษาอังกฤษกัน ศัพท์จีนไม่เอา
- Long ออกเสียงว่า หล่อง แปลว่า ยาว แต่ในเซนส์ของภาษาอังกฤษพอเอา long ไปใช้เวลาจะหมายถึง นาน กินเวลานาน ยาวนาน เนิ่นนาน
- time อ่านว่า ไท้มม์ แปลว่า เวลา ห้วงเวลา กาลเวลา กาล
- see ออกเสียงว่า ซี่ แปลว่า เห็น มองเห็น ดู ได้เห็น รับรู้ได้ด้วยตา
รวมลิงก์หนังสือมารพิณ
- ภาษาอังกฤษร้ายสาระ
- Snake Fish Fish อังกฤษเที่ยวนอก
- คู่มือสนทนาภาษาจีนฉบับ จิ้มชี้เที่ยว
- รวมหนังสือที่เขียน(ท่องเที่ยว+ภาษา)
- ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามภาษาอังกฤา หรือแก้ปัญหาการบ้านภาษาอังกฤษนะครับ
© สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ (English for learners - blog)