www.facebook.com/marnpinbook
ผมมานั่งนึกว่า คนไทยเวลาเรียนภาษาอังกฤษ ชอบซื้อหนังสือ หรือคู่มือสนทนามาอ่านกันครับ อาจจะเป็นว่าชดเชยความรู้สึกที่เบื่อกับแกรมมาร์กับไวยากรณ์ประหลาดๆ ทั้งหลายที่ยัดเยียดให้เรียนกันในสมัยเรียนในโรงเรียน
ด้วยเหตุนี้ ก็เลยนิยมซื้อ "คู่มือสนทนาภาษาอังกฤษ" มาอ่านกัน
ผมพอจะมีข้อคิดและคำแนะนำในการ ซื้อหนังสือบทสนทนาภาษาฝรั่ง ซัก 4-5 ข้อ ดังนี้
1 ) อย่าเลือกเล่มหนาราคาถูก
ข้อผิดพลาดอย่างแรก และอย่างแรงของคนซื้อหนังสือสนทนาภาษาอังกฤษ ก็คือ ตรงไปที่ชั้นหนังสือ ในร้าน คำนวนตังค์ในกระเป๋า ดูราคาจากปก จากเล่มที่เห็น เสร็จแล้วก็นึกเอาในใจว่า เทียบกับราคาแล้วเล่มนี้หนาที่สุด คุ้มสตางค์ที่สุด แล้วก็สอยเล่มที่ว่านั้นมา
เล่มหนาที่เป็นบทสนทนาพวกนี้ มักจะมีบทสนทนาที่ไม่จำเป็น (ก้อเพราะเขายัดเอาประโยคที่ไม่จำเป็น มารวมเล่มให้ดูหนาไงละครับ) โดยมากมักจะผูกเรื่องร้อยกันเป็นเรื่องราวเหมือนละคร ราวกับว่าไอ้จอร์จ และอีซาร่าห์ มันจะคุยกันตามบทตลอด
ซึ่งชีวิตจริง คนเขาไม่พูดกันแบบนั้น ผลก็คือ มักมีประโยค หรือคำพูดที่ไม่จำเป็น ไม่ได้ใช้ เสียเวลาอ่าน หมดเวลาทำมาหากินไปอย่างเปล่าเปลือง
2) ระวังพวกปั่นทำตำราหากิน
วงการหนังสือก็คืออุตสาหกรรมอย่างนึง และก็มีพวกทำตำราหากิน เอาไว้หลอกขายนักอ่านมือใหม่ เหมือนกับวงการอื่นที่มีพวกสิบแปดมงกุฏ
วิธีการของเขาก็คือ ปั๊มตำราภาษาอังกฤษออกมา เขียนปกให้ดูชื่อหนังสือสร้างความหวังให้คนมีปัญหา เช่น เรียนโคตรลัดภาษาอังกฤษ อังกฤษเรียนรู้ไวชิบหาย ภายใน 11ช ั่วโมง พูดอังกฤษง่ายเชี่ยๆ อะไรแบบนี้ (ชื่อพวกนี้ผมสมมุติมาครับ ถ้าตรงกับใครก็เป็นเหตุบังเอิญ)
ส่วนเนื้อใน ก็ทำพอให้แค่ดูเป็นภาษาอังกฤษ มีบทสนทนาประกอบ กับอะไรนิดหน่อย ใช้ฟอนต์ตัวโตๆ เพราะจะได้ไม่ต้องเขียนมาก และก็ตั้งราคาให้ดูต่ำเข้าไว้เพื่อสร้างแรงจูงใจ
ไม่ต้องอธิบายมากครับ เวลาไปร้านหนังสือ หรือเจอแผงหนังสือ ดูให้ดีแล้วจะรู้ว่าผมหมายถึงอะไร
3) ความรู้ภาษาอังกฤษ ไม่มีความสำเร็จที่ระบุได้เป็นวัน สัปดาห์ หรือชั่วโมง
ก็ตามหัวเรื่องที่จั่วเอาไว้ครับ อย่าซื้อเล่มที่บอกเวลาความสำเร็จ เช่น 766 ชั่วโมง 3 สัปดาห์ 3 เดือน หรืออะไรที่มาทำนองนี้ เพราะมันไม่จริง คิดดูง่ายๆ ถ้ามันกำหนดได้ขนาดนั้น แล้วทำไมหนอ ทุกวันนี้ทำไม และเพราะเหตุใด คนไทยถึงยังมีปัญหาเรื่องภาษาอังกฤษกันอยู่
ใช้ความรู้สึกและสามัญสำนึกส่วนตัว ใคร่ครวญก่อนซื้อครับ
4) ซื้อหนังสือที่มีบทสนทนาเป็นอาชีพเฉพาะทาง ดีกว่า
ตำราบทสนทนาเฉพาะทางนี้ดีกว่า ไอ้พวกที่คุยโม้ พูดลอยๆ ว่า "พูดอังกฤษได้" "ไม่กลัวฝรั่ง" หรืออะไรต่างๆ นานา เพราะไอ้แบบนั้น มันไม่ตอบโจทย์ว่าพูดได้เรื่องอะไร คุยได้เรื่องอะไร
ตำราเฉพาะทางแบบนี้เมืองนอกมีทำออกมาเยอะ แต่เมืองไทยไม่ค่อยมี
ใครที่คิดว่าเรื่องราวภาษาอังกิดที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆ ใน Facebook ด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามภาษาอังกฤา หรือแก้ปัญหาการบ้านภาษาอังกฤษนะครับ
© สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ (English for learners - blog)
5) หนังสือบทสนทนาภาษายุคใหม่ควรจะมี CD เสียงประกอบด้วย
หนังสือบทสนทนายุคใหม่ควรจะมีซีดีเสียงประกอบด้วย เพราะวิธีการที่ดีที่สุดก็คือต้องมีเสียงเจ้าของภาษามาพูดให้เราฟัง สลับด้วยเสียงประโยคที่แปลเป็นไทย
ที่สำคัญจะต้องเป็นไฟล์เสียงธรรมดานะครับ จะได้เอาไปใส่เครื่องเล่น MP3 ฟังเล่นได้เวลาขับรถ หรือนอนฟังก่อนนอน หรือรีดผ้าไปฟังไป ไอ้พวกดีวีดี ที่ต้องเปิดจอทีวี แบบนั้นไม่เอา เพราะมันทำอย่างอื่นไปด้วยไม่ได้
รวมลิงก์หนังสือมารพิณ
- ภาษาอังกฤษร้ายสาระ
- Snake Fish Fish อังกฤษเที่ยวนอก
- คู่มือสนทนาภาษาจีนฉบับ จิ้มชี้เที่ยว
- รวมหนังสือที่เขียน(ท่องเที่ยว+ภาษา)
- +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]
ใครที่คิดว่าเรื่องราวภาษาอังกิดที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆ ใน Facebook ด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามภาษาอังกฤา หรือแก้ปัญหาการบ้านภาษาอังกฤษนะครับ
© สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ (English for learners - blog)