www.facebook.com/marnpinbook
ในชีวิตการทำงานจริง สมัยนี้ หมดยุคที่คนๆ เดียวจะทำตัวเป็น "พหูสูตร" รู้ไปหมดทุกเรื่อง ตอบได้ทุกเรื่อง ตรัสรู้ได้วันละสามเวลาหลังอาหาร
งานจริง เวลาลงรายละเอียดเราต้องถามปัญหาผู้เชี่ยวชาญ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกขานกันว่า specialist ออกเสียงว่า สเป๊เฉี่ยล หลิ่สต์ แปลว่า ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้รู้ดี รู้พิเศษในด้านใดด้านหนึ่งที่จำเพาะเจาะจงลงไป มาจากคำ special(พิเศษ)+ist (ทำให้เป็นคน =นัก)
ปัญหาคือ คนจำพวกนี้เขาเก่งฉกาจฉกรรจ์นักหนาในเรื่องที่เขารู้ ก็เลยมีศัพท์สำนวนทางวิชาการมากมาย ที่นอกสาขาวิชา นอกวงการจะฟังไม่ออก ว่าหมายถึงอะไรกันแน่ ดังนั้นเวลาเราคุยด้วยหรือต้องติดต่อคนพวกนี้ ต้องมีเทคนิค "จัดการคน" ครับ รู้ภาษาอย่างเดียวไม่พอ
ถ้าเราเห็นว่า โปรเฟสเซอร์ รายนี้ ชักจะเข้ารกเข้าพง พูดจาประหลาดแล้ว คนที่มานั่งประชุมด้วยกันหน้าสลอนอยู่ในห้องนี่เริ่มทำหน้าเหรอหรา ล่องลอย ไม่ get กันเยอะขึ้นทุกขณะ แบบนี้ เราก็ต้อง "จัดหนัก" ซักชุดใหญ่ ไปสกัดทางพี่แกซะก่อนด้วยการพูดว่า
in plain English ...please
แปลว่า ขอภาษาอังกฤษธรรมดาๆ ขอภาษาแบบเข้าใจง่ายๆ ได้มั้ย ขออังกฤาแบบคนพูดกัน เรียกว่า ดักขอเสีย ว่ายูเอ๋ย ขอร้องเถอะน่า เอาภาษาธรรมดาๆ ที่ชาวบ้านชาวเมืองเขาฟังรู้เรื่อง กันเสียบ้าง
คำนี้ไม่หยาบคายอะไร แต่ก็พึงทราบไว้ว่าเป็นการ "แตะเบรค" หรือ "เข้าหนัก" พอสมควร ถ้าอยากให้ดูนิ่มขึ้น ก็ใส่พวก sorry อะไรไปข้างหน้าก่อนก็ได้
ทิ้งท้ายที่ศัพท์อังกฤษ
คำนี้ภาษาไทยก็เริ่มรับมาใช้กัน เช่น เอาแบบเพลนๆ ก็คือ ไม่มีประดับตกแต่งอะไรมากมาย และอีกแบบการใช้ที่เจอบ่อยในคอมพิวเตอร์ก็คือ Plain text หมายถึงข้อความตัวอักษรธรรมดาที่ไม่มีการจัดรูปแบบอะไร ไม่มีการทำแบบตัวอักษร ใส่สีไฮไลท์อะไรแบบนี้
รวมลิงก์หนังสือมารพิณ
- ภาษาอังกฤษร้ายสาระ
- Snake Fish Fish อังกฤษเที่ยวนอก
- คู่มือสนทนาภาษาจีนฉบับ จิ้มชี้เที่ยว
- รวมหนังสือที่เขียน(ท่องเที่ยว+ภาษา)
- +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]