วันเสาร์, มีนาคม 03, 2555

Leap year และความหมายของ ปีอธิกสุรทิน ต่างจาก อธิกมาส อย่างไร

โดย มารพิณ
 www.facebook.com/marnpinbook



เรื่องนี้ซับซ้อนแต่เราไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียด เรื่องสำคัญก็คือ ทุกๆ  4 ปี เดือนกุมภาพันธ์จะไม่มีแค่ 28 วัน เหมือนเคย แต่เพิ่มมาอีกหนึ่งวัน เป็น 29 วัน อย่างในปีนี้  มาดูกันแค่ว่าภาษาอังกฤษเขาเรียกว่าอะไร

Leap year

คำว่า leap year   แปลว่า  ปีอธิกสุรทิน  ซึ่งหมายความว่าคือปีปฏิทินทางสุริยคติที่มีจำนวนวันทั้งหมดรวมเป็น  366 วัน   ซึ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือ เดือนกุมภาพันธ์ กลายเป็นมี 29 วัน   โดย Leap year  หรือ  " ปีอธิกสุรทิน"  โดยจะมีขึ้นทุก 4 ปี

ส่วนปีที่เหลือปกติจะมีแค่ 365 วัน  และเดือนกุมภาฯ จะมีแค่ 28 วัน เท่านั้น

อันที่จริงผมว่านะ...  " ปีอธิกสุรทิน" นี่ก็ฟังไม่เข้าใจเท่าไหร่   เพราะเป็นธรรมเนียมของนักปราชญ์บัณฑิตเมืองไทย ที่นิยมแปลคำฝรั่ง แล้วแทนที่จะถอดออกมาเป็น ก็แปลออกมาเป็นภาษาแขกเสียก่อน ให้ชาวบ้านชาวเมืองงงกันเล่น

มาดูศัพท์ที่ประกอบเป็นคำอังกิดนี้ครับ

leap     ออกเสียงว่า หลิ่ผ  แปลว่า   กระโดด  เผ่น  โจน กระโจน โผน  กระโดดถลา


แถมท้ายนิดนึงว่า อย่าไปปน หรือสับสนกับคำว่่า  "อธิกมาส"  ที่หมายถึง เดือนที่เพิ่มขึ้นมาอีกเดือนในปีจันทรคติ หรือนับอิงกับดวงจันทร์ คือในปีนั้น จะมี 13 เดือน มีเดือน 8 สองหน เพื่อลดความคลาดเคลื่อนของการนับวันนั่นเอง

แล้วเจอกันอีกครับ ...



รวมลิงก์หนังสือมารพิณ

 ใครที่คิดว่าเรื่องราวภาษาอังกิดที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆ ใน Facebook ด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามภาษาอังกฤา หรือแก้ปัญหาการบ้านภาษาอังกฤษนะครับ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ (English for learners - blog)