วันพุธ, กุมภาพันธ์ 27, 2556

กำหนดจัดงานรับปริญญา ม.รามคำแหง ปี 2556



โดย มารพิณ

แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้
อย่างง ว่าทำไมบล็อกมีข้อมูลกำหนดจัดงานวันรับปริญญาม.รามฯ ด้วย  เพราะเมื่อวันก่อนมีเพื่อนฝูงไม่ทราบเรื่องนี้ ทำให้เป็นเหตุพลาดนัดการไปเที่ยว วางแผนเที่ยวผิดพลาด เพราะเจอรถติดสาหัส  ส่วนน้องอีกคนรถติดมาทำงานไม่ได้ครึ่งวัน

ก็ เลยเอามาลงไว้สำหรับใครที่ต้องเดินทางออกจากกรุงเทพย่านตะวันออกว่าที่รามคำแหงเขามีรับปริญญา และซ้อมรับปริญญาครับ  จะได้วางแผนการเดินทางได้ ช่วงอาทิตย์ใครจะไปเที่ยวภาคตะวันออก ให้เเผื่อเวลาเรื่องรับปริญญาด้วยครับ

ทีนี้วันซ้อมใหญ่ของรามฯ  ทั้งเพื่อนทั้งญาติบัณฑิตมาแสดงความยินดีกันเยอะนะครับ อย่าประมาทไป เผลอๆ จะมาเยอะกว่าวันจริงเสียอีก เพราะเอาดอกไม้อะไรมาถ่ายรูปได้  เพื่อนฝูงจะมากันเยอะ

 ดังนั้นคำนวนเส้นทาง วางแผนรถติดจราจรติดขัดกันให้ดีๆ   และอีกเรื่องที่ควรทราบคือ วันซ้อมใหญ่พระราชทานปริญญาบัตรที่รามเขารายงานตัวตั้งแต่ตีสี่กว่าๆ   ดังนั้นรถก็จะเต็มถนนกันแต่เช้าเลยนะครับ

ดูตามตารางกำหนดการรับปริญญามหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่น 38  ที่ด้านล่างนี้  สงสัยอะไร  ถามเพิ่มเติม ม.รามรับปริญญาวันไหน ซ้อมวันไหน โทรถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรงานบริการและสวัสดิการนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงตามเบอร์โทรด้านล่างนี้กัน  หรือที่เว็บมหาวิทยาลัยรามคำแหง http://www.ru.ac.th/ 

บน-กำหนดวันซ้อมย่อย วันซ้อมใหญ่รับปริญญามหาลัยรามคำแหง และวันรับจริง ตามเวลาด้านบน 

จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 23, 2556

กำหนดจัดงานเปิดโลกทะเลชุมพร ปี 2556



โดย มารพิณ

แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้


กำหนดจัดงานเปิดโลกทะเลชุมพร ประจำปี 2556

ชุมพรก็มีทั้งทะเล และเกาะแก่งที่น่าสนใจหลายอย่าง งานนี้เหมือนเป็นการแนะนำทะแดนชุมพรให้รู้จักในวงกว้างออกไปครับ

งานโลกทะเลชุมพร ครั้งที่ 23 ประจำปี 2556   ตัวงานจะมีขึ้นในช่วงระหว่างวันที่  22-26  มีนาคม 2556
สำหรับสถานที่จัดงานเปิดโลกทะเลชุมพรก็คือ  บริเวณ ลานอเนกประสงค์ชายทะเลปากน้ำชุมพร ที่ตำบลปากน้ำชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

ดู รายชื่อที่พักในชุมพร
นอกจากการออกร้านและการแสดงต่างๆ  และการออกร้านอาหารทะเลสด  แล้ว ในงานเปิดโลกทะเลชุมพรยังมี กิจกรรมถ่ายภาพ  มีแพคเกจท่องเที่ยวและโรงแรมที่พักราคาพิเสษ  แนะนำธนาคารปูม้า  เรื่องราวของหมู่เกาะรังนก สาระน่าสนใจเรื่องปลาทู ปลาทู  กิจกรรมแข่งขันกีฬาทางน้ำ เป็นต้น

งานนี้จัดขึ้นโดยการร่วมงานกันระหว่างจังหวัดชุมพร  เทศบาลปากน้ำชุมพร  ทางสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานชุมพร

นักเดินทางที่สนใจงานเปิดโลกทะเลสอบถามเพิ่มเติมที่
 เว็บไซต์   www.chumphon.go.th
เบอร์โทรสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร โทรศัพท์ 086-3020602
เบอร์โทรสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชุมพร  โทร.077-658077  และเบอร์  089-8730953
เบอร์โทรททท.)สำนักงานชุมพร  โทรศัพท์ 077-502775-6 และ   077-501831


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 22, 2556

แบใต๋ Google Glass กูเกิ้ลกลาสเล็งเปลี่ยนโลก



โดย มารพิณ

แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้
ดูคลิปการเดินทาง  www.youtube.com/user/feelthai
มองหา ข้อมูลที่พัก โรงแรม รีสอร์ท

เวลาไปเที่ยวหรือไปทำอะไร อยากบอก ตั้งใจสื่อออกไปว่าเราเห็นอะไร บางทีก็ไม่ได้อย่างใจนึก มาคราวนี้อาจไม่ต้องอธิบายอะไรให้มากความ เพราะค่ายกูเกิ้ลกำลังแบใต๋ หงายไพ่ในมืออกมาว่ากำลังซุ่มทำอะไรล่าสุด

โครงการกูเกิ้ล กลาส หรือ Project Glass   คืองานวิจัยที่ทาง Google พยายามเข็นออกมาว่าจะทำแว่นวิเศษที่เป็นทั้งกล้องวิดีโอ หรือถ่ายรูปและจอเล็กๆ ไปพร้อมกันในตัว

ต่อไปเราเก็บคลิป หรือแชร์วิดีโอสดกับใครก็ได้สดๆ  หรีือจะค้นข้อมูลอะไรให้มาแสดงบนจอ ซ้อนไปกับการมองเห็นของเรา และที่เด็ดขาดเป็นไม้ตายคือการสั่งงานด้วยเสียงมนุษย์จะได้ไม่ต้องมีคีย์บอร์ดหรืออะไรให้ยุ่งยาก

ผมว่า ไอเดียและคอนเซ็ปต์ มันเหมือนแว่นส่องค่าพลังในการ์ตูนดาร์กอนบอล  ยังไงไม่รู้  ผมว่าพัฒนาต่อไปคอมพิวเตอร์และข้อมูลต่างๆ คงซูมเข้าที่จอตาคนเราได้  ต่อไปจะเซิร์ชข้อมูลอะไรก็พูดสั่ง แล้วข้อมูลก็ซ้อนแสดงขึ้นมาในแบบไฮเทค

แต่ตอนนี้เครื่องต้นแบบของ google glass  ยังอยู่ในขั้นเริ่มแรก ที่เน้นอัดคลิป แชร์วิดีโออะไรกันอยู่  ลองมาดูตัวอย่างโลกใหม่ที่มองผ่านกล้อง หรือแว่นกูเกิ้ลกลาสนี่สิครับ ดูคลิปแว่นกูเกิ้ลด้านล่างนี่เลย  ลองดูตอนนึงมีฉากกินผัดไทยในคลองเมืองไทย แล้วสั่งแว่นให้หาคำว่าอร่อยภาษาไทยด้วยละสิ  นี่โลกของการท่องเที่ยวและการแปลจะเปลี่ยนไปแล้ว



ส่วนอีกคลิปด้านล่างนี้คือ  คลิปวิดีโอการสาธิตการใช้งานGoogle Glasses  เมื่อกลางปีก่อน 





จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

เส้นทางที่ราบสูงเวียด ไปเข้าลาวใต้



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้

++ ขึ้นที่ราบสูงตอนกลางเวียดนาม (ไปต่อเข้าลาวใต้) 
โฮจิมินห์ - ดาลัต - บวนเมทวด- เปลกู – Bo Y- อัตตปือ -ปากเซ

เส้นนี้อาจไม่ค่อยมีคนไป เหมาะสำหรับนักเดินทางที่มีประสบการณ์มากกว่ามือใหม่ แต่ข้อดีคือหลบบรรยากาศความพลุกพล่าน และอากาศร้อนของเวียดนามใต้ เราจะขึ้นที่ราบสูงตอนกลาง โดยไล่ไปจากดาลัด (Da Lat) ที่สูงจากระดับน้ำทะเลพันกว่าเมตรและยังเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมในหมู่คนเวียดเองด้วย

จากนั้นไปต่อที่ บวนเมทวด ซึ่งเมืองนี้เป็นเมืองหลวงกาแฟของเวียดนาม รวมทั้งสามารถไปต่อยังเมือง เปลกู (Pleiku) แล้วข้ามออกลาวใต้ที่เมือง Bo- Y เข้าไปที่อัตตปือ จำปาสักและเมืองปากเซในที่สุด

ดูเส้นทางท่องเที่ยวลาวใต้ ที่  http://feelthai.blogspot.com/2013/01/southern-lao-ubon-pakse-donkhong-route.html  ครับ



ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

แผนที่ ที่ราบสูงภาคกลางของเวียดนาม
จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 21, 2556

เลียบชายฝั่ง โฮจิมินห์ – ฟานเทียต - หาดหมุยเน๊



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้
ดูคลิปการเดินทาง  www.youtube.com/user/feelthai
มองหา ข้อมูลที่พัก โรงแรม รีสอร์ท


++ เลียบชายฝั่งขึ้นเหนือ
โฮจิมินห์ – ฟานเทียต - หาดหมุยเน๊ – ฟานราง – หย่าแจรง (Nha Trang)

เส้นนี้ไม่ต้องใช้เดย์ทัวร์ก็ได้ ถ้าไม่ชอบทะเลก็ไม่ควรมาเส้นนี้ครับ เพราะมีแต่ทะเล และทะเลเท่านั้น อันที่จริงก็มีชายหาดกันทุกเมืองไล่กันไปจนถึงดานัง และฮอยอันในเวียดนามกลางโน่น ชายหาดโดยมากก็สวยสู้เมืองไทยไม่ได้ แต่มีพิเศษนิดนึงคือหาดหมุยเน๊ (Mui Ne Beach) ที่เลยเมืองฟานเทียต (Phan Thiet) ไปหน่อยจะมีสันทราย หรือ sand dune ขนาดใหญ่สวยงาม ซึ่งแบบนี้บ้านเราไม่มี

ดูที่พักในฟานเทียต 

เราสามารถใช้เส้นทางถนนหมายเลข 1 นี้เลียบฝั่งขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อเที่ยวเวียดนามกลางที่ฮอยอันและดานังได้ แต่สำหรับคนที่วางแผนใช้เมืองโฮจิมินห์เป็นฐานทั้งขาไปและกลับ ก็อย่าไปให้เลยเมืองหย่าแจรง (Nha Trang) นะครับ ไม่งั้นระยะทางจะเลยเข้าเขตเวียดนามกลางแล้วจะเสียเวลาทั้งไปและกลับ


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

อีกทางเลือกหนึ่ง ที่เป็นแบบผสม คือเที่ยวหาดหมุยเน๊เรียบร้อยแล้ว ก็ตีรถขึ้น ด่าหลัด (Da Lat) เมืองแห่งป่าสนและเป็นเมืองอากาศสบายที่ฝรั่งอาณานิคมใช้เป็นเมืองตากอากาศในเวียดนามใต้ แล้วค่อยวนกลับไปโฮจิมินห์ แบบนี้จะได้ผสมการเที่ยวระหว่างทะเลกับภูเขา


 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

เที่ยวรอบเมืองโฮจิมินห์



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้

++ เที่ยวรอบเมืองโฮจิมินห์ 

เที่ยวหลายแห่งรอบโฮจิมินห์ซิตี้ (หรือ ไซกอน ในชื่อเดิม) เราซื้อทัวร์จะสะดวกกว่าในแง่การเดินทาง เช่นสามเหลี่ยมปากน้ำโขงที่จะให้เหมาเรือเองคนเดียวก็อาจดูไม่ค่อยคุ้ม เรื่องทัวร์พวกนี้อาจต้องทำใจบ้างว่า มีตุกติกคิดราคาเพิ่ม หรืออะไรบ้างก็ต้องรับมือกันไป ก่อนซื้ออย่าลืมถามให้ชัดว่ารวมค่าเข้าชมและอาหารด้วยหรือไม่ 


ปากน้ำโขง - ตลาดน้ำ

เส้นทางเที่ยวต่อที่นิยมกันคือ ทัวร์สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง หรือ Mekong Delta (ที่ฝรั่งชอบมาก แต่คนไทยอาจเฉยๆ) มีหลายแบบทั้งวันเดียว และไปเที่ยวหลายวันแบบโฮมสเตย์ สามเหลี่ยมปากน้ำโขงนี้จะเป็นที่ราบปากน้ำใหญ่ที่แม่น้ำโขงแตกออกเป็นหลายสายไหลสู่ทะเล คนเวียดนามเลยเรียกว่า Cuu Long หรือเก้ามังกร ตามสาขาของน้ำโขงที่แยกออกมา เมืองศูนย์กลางของที่ราบปากน้ำนี้คือเมือง Can Tho ครับ ไปทัวร์จะสะดวกกว่าและประหยัดกว่าไปเองครับ  

อุโมงค์กูจี- ศาสนากาวด่าย

เส้นนี้ย้อนกลับไปทางที่จะไปด่านชายแดนเขมร เป็นทัวร์วันเดียวพาไปชมศาสนาที่ไม่เหมือนใครในโลกที่รวมเอาแนวคิดของศาสนาอื่นๆ เข้ามาไว้ด้วยกันโดยไปที่โบสถ์ใหญ่ที่จังหวัด Tay Ninh แล้วครึ่งวันหลังก็แวะที่อุโมงค์กูจี (Cu Chi Tunnel) ที่เวียดกงขุดไว้เป็นเครือข่ายซับซ้อนรบกับพวกอเมริกัน 


จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

เส้นทางเวียดนามใต้



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้

+ ย้อนอดีตเวียดนามใต้ 

วียดนามใต้ยังไม่ค่อยได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวไทยมากนัก เพราะเป็นย่านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมมากกว่า ค่าครองชีพออกจะสูงเสียด้วย ดังนั้นถ้าใครคิดจะไปเที่ยวเมืองเวียดมักจะมองไปที่เวียดนามกลางและเวียดนามเหนือมากกว่า ซึ่งผมก็แนะนำให้ทำอย่างนั้นเหมือนกันถ้าไม่เคยไปเวียดนามมาก่อนให้ไปเที่ยวภาคกลางและเหนือก่อนจะดีกว่า 

แต่เรื่องแบบนี้น่าจะเปลี่ยนไปเพราะเริ่มมีสายการบินโลว์คอสต์ของไทยบินไปลงที่โฮจิมินห์แล้ว คนไทยหลายคนก็ต้องบินไปติดต่องานที่นั่น อาจใช้เวลาแว้บหนีเที่ยวได้ซักวันสองวันถ้าวางแผนกันดีๆ ...อิอิ รวมทั้งถนนในเขมรเส้นทางหลักๆ ดีหมดแล้ว ดังนั้นการวางแผนเส้นทางเที่ยวกัมพูชาแล้วทะลุออกเวียดนามใต้จึงเป็นทางเลือกของการเดินทางที่น่าสนใจขึ้นมาบ้าง

เช่น สำหรับคนที่มีเวลายาวๆ คือข้ามสามประเทศ กรุงเทพฯเสียมเรียบ (นครวัด) – พนมเปญ - โฮจิมินห์ ซึ่งเหมือนกับเส้นทางจากชายแดนไปเที่ยวนครวัดนั่นล่ะ แต่แพลนไปต่อเข้าเมืองหลวงของกัมพูชาคือ พนมเปญ ซึ่งที่นี่เป็นแค่จุดแวะพัก ไม่มีอะไรมาก แล้วไปต่อเข้าเวียดนามใต้อีกที ปลายทางอยู่ที่ โฮจิมินห์ หรือไซ่ง่อนในชื่อเดิม ขากลับจะย้อนกลับเส้นทางเดิม หรือนั่งเครื่องบินกลับ กทม. ก็ได้ตามสะดวก 

อย่างไรก็ตาม จุดสนใจของเวียดนามใต้ที่นักท่องเที่ยวฝรั่งสนใจ อย่าง อดีตสงครามเวียดนาม ชายทะเลและหาดทราย รวมทั้งสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงและชีวิตทางน้ำ อาจเป็นเรื่องที่คนไทยไม่ค่อยเห็นว่าแปลกหรือน่าสนใจนัก รวมทั้งดาลัต (ด่าหลัด : Dalat) เมืองตากอากาศภูเขาของทางใต้ ก็ดูไม่ค่อยโรแมนติคเท่าไหร่ ต่างจากซาปาทางเหนือมาก เพราะมีสภาพเป็นเมืองใหญ่ รวมความแล้วอาจไม่ใช่ช้อยส์แรกๆ ที่แบ็คแพ็คเกอร์ชาวไทยเลือก 

แต่ แต่ และก็ แต่... ชีวิตเมืองใหญ่ของโฮจิมินห์ซิตี้ ก็มีเสน่ห์แบบวุ่นวาย อย่างเช่นทะเลมอเตอร์ไซค์คือสีสันอีกแบบที่ไม่มีในประเทศอื่นอย่างแน่นอน วิธีการข้ามถนนของที่นี่คือ ค่อยๆ เดินข้ามช้าๆ อย่าหยุด อย่าวิ่ง และอย่าถอยหลัง เราเดินไปช้าๆ ด้วยความเร็วที่แน่นอน ก้าวสม่ำเสมอ คนขับมอเตอร์ไซค์จะกะระยะได้ถูกและเลี้ยวหลบเราเอง 

โฮจิมินห์ (ไซ่ง่อน ภาษาเวียดอ่านว่า ส่ายกอน)

สำหรับนักเที่ยวชาวไทยที่มีเวลาพักร้อนน้อยกว่าชาติอื่น บินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลงโฮจิมินห์ซิตี้ น่าจะดีกว่า เพราะการเดินทางมาเวียดนามใต้ผ่านกัมพูชาด้านเหนือ (เส้นอรัญประเทศปอยเปตเสียมเรียบ - พนมเปญ) หรือจากลาวใต้ทาง ปากเซ มาอัตตปือ เข้า BO- Y ออกที่ราบสูงตอนกลางของเวียดนามนั้น แต่ละเส้นทางอย่างน้อยก็ใช้เวลาเดินทางสองวันกว่าจะถึง 

ถ้าต้องการเดินทางมาจากเมืองไทยทางบก ผ่านเขมรแล้วเข้าเวียดนามใต้ แนะให้ไปอ่านบทกัมพูชาครับ จะอธิบายตรงนั้นไว้ค่อนข้างละเอียดพอสมควร ที่  http://feelthai.blogspot.com/2013/02/cambodian-route-planner.html 

ที่เมืองโฮจิมินห์มีย่านเกสต์เฮาส์ใหญ่อยู่ที่ละแวกถนนฟาม หงู เหลา (Pham Ngu Lao) และถนนตามตรอกซอกซอยแถวนั้นที่มีที่พักมากมายให้เลือก โดยมากรถบัสที่บริการนักท่องเที่ยวจะมีจุดจอดที่ย่านนี้ตรงถนนฟามหงูเหลาด้านที่ติดกับสวนสาธารณะ และสำนักงานรถบัสหลายแห่งก็อยู่บริเวณห้องแถวริมถนนฝั่งนี้เช่นกัน 

สำหรับที่เที่ยวที่กินช้อปปิ้งของที่ระลึกคือตลาด Ben Thanh ที่อยู่ห่างออกทางเหนือประมาณสิบนาทีเดิน ที่นี่ในเวลากลางคืนจะเป็นไนท์มาร์เก็ตด้วยครับ


จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

งานปราบฮ่อ งานกาชาดหนองคาย ปี 2556



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้
ดูคลิปการเดินทาง  www.youtube.com/user/feelthai
มองหา ข้อมูลที่พัก โรงแรม รีสอร์ท


กำหนดการงานปราบฮ่อหนองคาย ประจำปี 2556 


ทางจังหวัดหนองคาย ที่เป็นเมืองเล็กๆ ชายแดนติดกับปประเทศลาวทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขามีการจัดฉลองงานอนุสาวรีย์ปราบฮ่อประจำกันทุกปีไม่มีขาดครับ  โดยปีนี้งานปราบฮ่อและงานกาชาดหนองคายจะมีจัดกันระหว่างวันที่ ๕-๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖ นี้ สำหรับสถานที่ของการจัดงานก็คือ หน้าอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ  ที่ตรงศาลากลางจังหวัดหนองคาย(หลังเดิม)

ชื่องานเต็มๆ อย่างเป็นทางการก็คือ “ฉลองอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ และงานกาชาดจังหวัดหนองคาย  ประจำปี ๒๕๕๖”  ครับ

 ไฮไลท์ของงานจะมีจัดประกวดสาวงามชิคตำแหน่งธิดาพญานาค  รวมทั้งมีการจัดไลฟ์แอนด์ซาวนด์ ประกอบแสง เสียง “วีรกรรมปราบฮ่อ”  พบกับการออกร้านตั้งขายสินค้าดีเมืองหนองคาย OTOP และอาหารนานาชนิด มีสินค้าธงฟ้าราคาประหยัดมาขาย มีเวทีประกวดร้องเพลง เสี่ยงโชคกาชาดกับร้านมัจฉากาชาดทุกคืน พร้อมหวยกาชาดรางวัลใหญ่ แจกรถกระบะVIGO
รวม รายชื่อที่พักในหนองคาย

นอกจากนี้ยังมี มีจัดหมอลำย้อนยุค ประกวดเต้น TO BE NUMBER ONE  และจัดนิทรรศการวีรกรรมปราบฮ่อ   การแสดงนิทรรศการของส่วนราชการ และมีการประกวดสุนัข น้องหมาอีกด้วย


สนใจสอบถามข้อมูลงานปราบฮ่อด้ที่
เบอร์โทรจังหวัดหนองคาย โทร. ๐๔๒-๔๑๒๖๗๘
เบอร์โทรททท. สนง.อุดรธานี โทร. ๐๔๒-๓๒๕๔๐๖-๗
เบอร์โทรศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร ททท. จังหวัดหนองคาย
โทร. ๐๔๒-๔๒๑๓๒๖

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 20, 2556

ข้อมูลงานโคมไฟพิษณุโลก ประจำปี 2556



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้

กำหนดงานโคมไฟพิษณุโลก ประจำปี 2556 

พิษณุโลก เมืองสองแควที่หลายคนเรียกติดปากในชื่อสั้นๆ ว่าพิดโลก กำลังจะมีงานใหญ่ คืองานโคมไปที่จัดกันทุกปี  โดยมีชื่อเป็นทางการของปีนี้ว่า “งานเทศกาลโคมไฟประจำปี 2556”  ครับ มาดูกันว่าปีนี้มีวันไหน และมีอะไรบ้าง

รายละเอียดงานของวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556
เริ่มตั้งแต่เวลาราวห้าโมงเย็น  มีขบวนแห่ใหญ่  จากศาลเจ้าแม่ทับทิม อ. วังทอง เช่น ฮก ลก ซิ่ว ขบวนล่อโก้ว ฮวยน้า และเองกอ  นอกจากนี้ยังมี ขบวนมังกรเงิน มังกรทอง   เชิดสิงโตกวางตุ้ง สิงโตปักกิ่ง ขบวนรถแห่โคมไฟ และสาวงามประกวดมิสง่วนเซียว   ตลอดจนมีการแห่ขบวนมังกรทะยานเมฆจากเทพมังกรทอง
ดู ข้อมูลที่พักในพิษณุโลก

นอกจากนี้จะมีงานประกวดสาวงามเทศกาลโคมไฟ หรือมิสง่วนเซียว ประจำปี 2556 ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556  ส่วนที่บริเวณถนนสวนชมน่าน จะมีอาหารจีน 4 ถ ิ่น ได้แก่ อาหารกวางตุ้ง  แคะ แต้จิ๋ว ไหลลำ เป็นต้น

ส่วนการแสดงบนเวทีในงานเทศกาลโคมไฟพิดโลกจะเริ่มเวลาประมาณ  18.00-22.30 นาฬิกา ตลอดสามวันสามคืนของการจัดงานเทศกาล ซึ่งจัดขึ้นโดย จังหวัดพิษณุโลก อบจ.พิษณุโลก และทางเทศบาลนครพิษณุโลก  ตลอดจนจากการมีส่วนร่วมของ ชมรม 7 สมาคมมูลนิธิและตระกูลแซ่จังหวัดพิษณุโลก

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
เบอร์โทรสมาคมจีนจังหวัดพิษณุโลก โทร. 055-219652


จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

คอนเสิร์ทชะอำมิวสิคเลิฟ "Cha-Am Music & Love Festival"



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้

"Cha-Am Music & Love Festival" 

จัดวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2556  ศกนี้  ใครที่ชอบบบรรยากาศคอนเสิร์ทติดทะเลไม่ควรพลาดงานนี้ของ ททท.  หรือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่จัดเนื่องในโอกาสเดือนกุมภาพันธ์ที่เป็นเดือนแห่งความรักครับ

แต่คาดว่าคนจะเยอะซักหน่อยเพราะเป็นฟรีคอนเสิร์ท  ดังนั้นก่อนเดินทางไปชมต้องเตรียมตัวให้พร้อมนะครับ

คอนเสิร์ทเริ่มเวลาประมาณราวๆ ทุ่มนึงเป็นต้นไป   สถานที่จัดคือ  ชายหาดชะอำ / บ้านปากคลอง อ. ชะอำ จ.เพชรบุรี   สามารถชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพราะเป็นฟรีคอนเสิร์ท

ดู รายชื่อที่พักชะอำ-หัวหิน

โดยวงที่จะมาร่วมเล่น แสดงให้ชมสดๆ ในบรรยากาศชายทะเลอินเลิฟบนเวทีมีดังนี้
จริงๆ  ในโปสเตอร์ต้องมิสเตอร์แซ็คแมน นะครับ ไม่ใช่แซทแมนอย่างที่เขียน

 23 ก.พ.56 
วงที่มาคือ  Jetset'er , โก้ มิสเตอร์แซคแมน และ อ๊อด คีรีบูน

 24 ก.พ.56
มีการแสดงของวง  Room 39 , วัชราวลี , เบน ชลาทิศ และ ลิเดีย


จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

เที่ยวฮาลองเบย์



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้

++ เที่ยวฮาลองเบย์ 

ฮาลองเบย์ คืออ่าวใหญ่ ที่ประกอบไปด้วยเกาะเล็กเกาะน้อยมากมาย เป็นเกาะภูเขาหินปูนเหมือนแถวอ่าวพังงาบ้านเราครับ อ่าวฮาลองนี่คนที่ชอบก็ชอบมาก คนที่เฉยก็เฉยไปเลย ผมคิดว่ามันจะสวยต้องดูตอนที่มีหมอกครับ แบบนั้นถึงจะเรียกว่างามจริง

สำหรับชาวแบ็คแพ็คเกอร์ที่มาฮานอย โดยมากเวลาไปเที่ยวฮาลองเบย์ นิยมจะซื้อบริการทัวร์จากเอเยนซีที่มีมากมายในย่านเกสต์เฮาส์ โดยทัวร์ฮาลองเบย์จะมีหลายแบบโดยแบ่งจากจำนวนวัน เช่น วันเดียวไปกลับไม่ค้าง หรือสองวันหนึ่งคืน หรือสามวันสองคืนอัพขึ้นไปเรื่อยๆ

นอกจากนี้ยังมีการแบ่งอีกแบบตามประเภทของที่พัก เช่นจะนอนในเรือ หรือนอนบนบก (พักที่เกาะกั๊ตบา - Cat Ba) อันนี้ก็ต้องเลือกเอา แต่ขอบอกว่า ถ้าไม่เคยนอนในเรือมาก่อน ประสบการณ์ที่ฟังดูเหมือนโรแมนติคนี้อาจไม่สบายอย่างที่คิด

ดู รายชื่อที่พักในฮาลอง
ความเร้าใจของการซื้อทัวร์ก็คือ จะซื้อทัวร์ได้ในราคาไหน เพราะนักท่องเที่ยวหลายคนที่ซื้อบริการมาจากเอเยนซีคนละเจ้าจะโดนคิดราคามาไม่เหมือนกัน ทั้งๆ ที่ไปทัวร์กรุ๊ปเดียวกัน เดินทางพร้อมกัน กินอะไรเหมือนกันหมด ดังนั้นจากฮานอยลองถามหลายๆ เจ้า แล้วเทียบราคาดู ก่อนจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายครับ

ยังไงก็ตาม ถ้าบางคนที่ไม่มีเวลา อยากไปแค่วันเดียวควรต้องคำนึงด้วยว่าระยะทางจากฮานอยไปที่ชายทะเลจุดลงเรือที่ฮาลองซิตี้นั้นตกราว 100 กว่ากิโลเมตร และโชเฟอร์เวียดนามส่วนใหญ่จะ “ตีนพระ” มากกว่า “ตีนผี” พอรวมเวลาเดินทางไปเดินทางกลับ เราอาจไม่ค่อยมีเวลาได้เห็นอะไรมากมายนัก เพราะขับกันช้าจริงๆ

จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

จาก Lao Cai ไปคุนหมิง



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้

+ ไปคุนหมิงจากหลาวกาย

ใครที่จะเที่ยวต่อจากเวียดนามไปเข้ายูนนาน จะต้องเริ่มจากที่นี่ครับ อันที่จริง ในสมัยก่อนจะมีรถไฟวิ่งจากหลาวกาย ไปถึงเมืองคุนหมิงในมณฑลยูนนาน แต่ปัจจุบันเส้นทางนี้ได้เลิกบริการผู้โดยสารไปแล้วเหลือแต่รถขบวนสินค้าเท่านั้น เพราะสภาพทางเก่า และเป็นรถไฟรางเล็ก (รถไฟในไทยหรือเวียดนามเป็นรถไฟรางแคบเล็กกว่ามาตรฐานโลกที่ใช้กัน) จีนเลยไม่พัฒนาต่อ


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
แผนที่ Lao Cai ไปเหอโข่ว

 ดังนั้นตอนนี้ ถ้าใครจะไปคุนหมิงจะต้องข้ามแดนไปเมืองเหอโข่ว (河口) ในฝั่งจีน ไปต่อรถนอนจีนที่จะออกจากเหอโข่วตอนเย็นๆ แล้วไปถึงคุนหมิงในตอนเช้ามืดที่สถานีถนนเป่ยจิงลู่ (北京路) ครับ อัพเดตใหม่ว่าเป็นสถานีสายใต้ที่อยู่นอกเมืองคุนหมิงแทน 


ระยะทาง 470 กม. ดูดีๆ นะว่าไอ้รถที่เราออกน่ะมีตัวจีนโตๆ เขียนไว้ว่า 昆明 (คุนหมิง) หรือป่ะ ม่ายงั้นตื่นเช้ามาดันอยู่ผิดมณฑล อันนั้นเรื่องหย่าย...ขอรับ

ทั้งเมืองหลาวกายและเหอโข่วไม่มีอะไรเที่ยวมากมายนัก แต่มีเตือนให้ระวังด่านจีนตรงจุดนี้มักจะมีเรื่องราวแปลกๆ เกิดขึ้นเช่น จู่ๆ พี่แกก็ยึดคู่มือดาวเหงา หรือโลนลี่เพลเน็ต (Lonely Planet) ฉบับเมืองจีนไปจากนักเดินทางจนฝรั่งบอกเตือนกันทั่วเน็ต หรือปฏิเสธวีซ่า 

นอกจากนี้จะมีพวกหากินตามสถานีขนส่งจีนมาไถตังค์เพิ่มหรือต่างๆ นานา เรียกว่าแวมไพร์ดุครับแถวเนี้ย !




จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

เส้นทางชนกลุ่มน้อยเวียดนามเหนือ



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้
ดูคลิปการเดินทาง  www.youtube.com/user/feelthai
มองหา ข้อมูลที่พัก โรงแรม รีสอร์ท


โดดเดี่ยวในเส้นทางชนกลุ่มน้อย

ทางตอนเหนือของเวียดนาม มีเส้นทางที่ไม่ค่อยมีคนได้มีโอกาสผ่านไปมากนักอยู่สายหนึ่ง บริเวณนี้อาจจะพอเรียกได้ว่ารับอิทธิพลจากโลกภายนอกน้อยมากทีเดียว และที่น่าสนใจสำหรับคนไทยเราคือเป็นพื้นที่ซึ่งมีชาว “ไทยดำ” ที่เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลไท-ลาว อยู่จำนวนมาก ลองแวะคุยด้วยคำง่ายๆ นับเลขกันดูครับ

เส้นทางนี้จะเริ่มจาก หลาวกาย (Lao Cai) ผ่านซาปา ไป Lai Chau ผ่านเดี๋ยนเบียนฝู (Dien Bien Phu) ที่อยู่ติดชายแดนลาวและเป็นอดีตสมรภูมิสำคัญที่ฝรั่งเศสมาพ่ายแพ้แก่กองทัพกู้ชาติเวียดมินห์ที่มีลุงโฮเป็นผู้นำ จากจุดนี้สามารถแยกเข้าลาวเหนือไปเมืองอุดมไซ หรือเมืองไซ (Oudomxay) ซึ่งเป็นชุมทางสำคัญของลาวในภูมิภาคนี้ แล้วออกไปหลวงพระบางได้ แต่ไม่ใช่ทางที่สะดวกนะครับ (หรือถ้าใครจะเข้ายูนนาน จากเมืองไซจะมีรถประจำทางวิ่งไปจิ่งหงหรือเชียงรุ่งในจีนได้) ด่านข้ามแดนฝั่งเวียดที่ Tay Trang ข้ามไปที่ Sop Hun ในฝั่งลาว

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
แผนที่เส้นทางเวียดนามแถบตะวันตกเฉียงเหนือ

จากเดียนเบียนฟู หรือเดี๋ยนเบียนฝู เส้นทางจะวกกลับมาที่เมือง Son La เดินทางต่อมาเรื่อยๆ มาที่ Hoa Binh แล้วมาวนครบรอบที่ฮานอยในที่สุด เส้นทางทั้งหมดจัดว่าเป็นระดับยาก เป็นภูเขาตลอด ถ้าเลยเมืองซาปาไปแล้ว รถประจำทางมีเที่ยวรถน้อย

วิธีประหยัดที่สุดในการเดินทางคือเช่ามอเตอร์ไซค์วิบากเดินทางสำหรับคนที่ขับรถแข็งและมีประสบการณ์ขับบนเส้นทางภูเขา แต่ควรระมัดระวังว่า ในบางครั้งจะมีสภาพ “อากาศปิด” ที่หมอกปกคลุมหนา ชนิดที่ยกมือขึ้นก็เห็นมือตัวเองลางๆ เท่านั้น ดังนั้นควรเผื่อเวลาเดินทางด้วย หรืออีกวิธีที่ไฮโซกว่าคือการใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อตะลุยเส้นทางนี้ ซึ่งบริษัททัวร์ในฮานอยหลายแห่งก็มีบริการในจุดนี้แต่ราคาไม่ถูกครับ

ดูข้อมูลที่พักในเวียดนาม

แถมท้ายนิดนึงว่าก่อนเข้า Hoa Binh จะมีแยกไปด่านสากลอีกด่านหนึ่งคือ ด่าน Nam Xoi ในฝั่งเวียด ไปด่าน Na Maew ในฝั่งลาว ซึ่งจากจุดนี้จะมีทางเชื่อมต่อไปเมืองซำเหนือในลาว และสามารถต่อไปโพนสะหวัน และเข้าหลวงพระบางได้ในที่สุด

ทั้งสองจุดข้ามแดนที่พูดถึงในเส้นทางนี้มีความยากสูงสุด ไม่สะดวก เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบผจญภัย โดยเฉพาะด่านข้ามแดนที่เดี๋ยนเบียนฝู เป็นด่านท้าทายที่ชาวแบ็คแพ็คเกอร์ทั่วโลกรอให้เปิดมานาน โดยเพิ่งเปิดเมื่อเร็วๆ นี้นี่เอง

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 19, 2556

กำหนดงานดอกลำดวนบาน ปี 2556



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้

กำหนดการดอกลำดวนบาน ศรีสะเกษ ปี 2556 

ที่จังหวัดศรีสะเกษ ในเขตอีสานใต้ เขามีงานดอกไม้เหมือนกันครับ ก็คืองานดอกลำดวน ที่ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ที่มีต้นลำดวนขึ้นหลายหมื่นต้นในพื้นที่เกือบสามร้อยไร่ พอเดือนมีนาคมก็จะมีดอกบานทั้งบริเวณ

มีแสดงชีวิตของชนสี่เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษ แสดงเป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมลาว เขมร ส่วยและเยอ  ขายสินค้าโอท็อป  งานแสดงภาพเก่า ประกวดภาพวาดต่างๆ  นอกจากนี้ในตอนค่ำ จะมีการจัดทานอาหารพื้นเมืองแบบพาแลง (พาละ 1,500 บาท /6 คน ) ดูโชว์แสงสี เสียง ครั้งใหญ่ในชื่อยิ่งใหญ่ว่า  “ศรีพฤทเธศวร” มีนักแสดง 800 กว่าคน มาโชว์ชีวิต 4 เผ่าพื้นเมือง

ดูที่พักในจังหวัดศรีสะเกษ

กำหนดจัดงานเทศการลำดวนบานที่เมืองศรีสะเกษคราวนี้จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม 2556 จัดที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ที่อยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

ชื่องานเต็มๆ  ของทางจังหวัดศรีสะเกษ เรียกว่า งาน “เทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ” ประจำปี 2556

สอบถามข้อมูลงานดอกลำดวนเพิ่มเติมที่ :
เบอร์โทรททท.สุรินทร์  โทร. 0 4451 4447-8    


จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

ฮานอย – ซาปา เส้นทางเที่ยวเวียดนามเหนือ



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้

 เส้นทางเที่ยวเวียดนามเหนือ
ฮานอย – ซาปา 

เส้นนี้มักจะนิยมเดินทางไปด้วยเครื่องบินมากกว่าทางบกเพราะถึงแม้มีหลายด่านชายแดนที่ข้ามผ่านลาวไปได้ แต่เที่ยวรถฝั่งลาวมักไม่แน่นอน รวมทั้งสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชันข้ามไปมาไม่สะดวกใช้เวลาหลายวันทำให้เครื่องบินเป็นวิธีที่ดีกว่า

บินลงฮานอย

นั่งเครื่องบินโลว์คอสต์จากกรุงเทพฯ ไปลงฮานอย อย่างไรก็ตาม สนามบินนอยไบที่ฮานอย หรือที่ภาษาเวียดเรียกว่าเซินไบ เหน่าะบ่าย (Noi Bai International Airport) ห่างจากตัวเมืองพอสมควร ถ้ารถติดก็นั่งสองชั่วโมงขึ้น ถ้าไม่ติดอะไรก็อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงละครับกว่าจะเข้าถึงในเมือง

ที่พักของชาวแบ็คแพ็คเกอร์ในฮานอยจะอยู่ย่านเกสต์เฮาส์ริมทะเลสาบโฮนเกี่ยม (Hoan Kiem) หรือที่เรียกว่าย่านเมืองเก่า หรือ Old Quarter โดยจะมีที่พักเป็นเกสต์เฮาส์บ้าง โรงแรมบ้างกระจัดกระจายไปตามละแวกถนนต่างๆ ระหว่างตัวทะเลสาบไปจนถึงตลาดด่งซวน หรือ เจอะด่งซวน (Dong Xuan market) ลองเลือกดูเอาตามใจชอบครับ

จากฮานอยมีสองเส้นทางไปต่อที่นิยมเที่ยวกันคือ ขึ้นเหนือไปซาปา เมืองตากอากาศวิวภูเขาของเวียดนามเหนือ หรือ ไปเที่ยวฮาลองเบย์ ที่เป็นภูเขาหินปูนกลางทะเลเหมือนอ่าวพังงาของไทยครับ ไม่ว่าจะไปเส้นไหนเราฝากกระเป๋าใหญ่ไว้ที่เกสต์เฮาส์ที่เราพักได้ครับ เอาแต่กระเป๋าเล็กและเครื่องใช้จำเป็นไป

++ ชิลล์เอาท์ที่ซาปา (SAPA)

เราเริ่มที่เส้นทางภูเขาก่อน ฮานอยไปซาปากินระยะทาง 325 กิโลเมตร อย่าสับสนคำว่า Sapa กับ spa นะครับ ไปซาปา มีสองวิธีคือไปเองหรือซื้อทัวร์ไป ผมจะแนะนำเฉพาะวิธีไปเองก็แล้วกัน ซึ่งจริงๆ แล้วไปเองน่าจะดีกว่า ส่วนใครที่ซื้อทัวร์ไปให้เช็คดูด้วยครับว่า ทัวร์ที่เราซื้อมีโฮมสเตย์หมู่บ้านชาวเขามั้ย หรือพาไปเที่ยวที่ตลาดชาวเขาอย่างพวก ตลาดบั๊คห่า (Bac Ha) ที่มีในวันอาทิตย์และเป็นตลาดใหญ่ที่สุด ตลาดค็อก ลี (Coc Ly) ในวันอังคาร และตลาดคันเคา (Can Cau) ที่มีในวันเสาร์ เป็นต้น

ทั้งสามตลาดที่ว่านี้ไม่ได้อยู่ในเมืองซาปา ดังนั้นถ้าใครจะไปเที่ยวซาปาและมีเวลามากพอควรจะวางแผนช่วงวันที่มีตลาดนัดในแต่ละสัปดาห์ด้วย โดยจะต้องเผื่อเวลาและค่าเดินทางเพิ่มจากซาปา ลองถามหาข้อมูลเพิ่มจากเอเยนต์ทัวร์ทั้งที่ซาปา หรือฮานอยครับ

นอกจากนี้ยังมีอีกวิธีนึง สำหรับคนที่ไปเที่ยวซาปาเอง คือถ้าเรานั่งรถไฟไปถึงหลาวกาย ในวันที่มีตลาดพอดี เช่นไปถึงวันอาทิตย์เราอาจหารถไปเที่ยวที่ตลาดบั๊กห่าเลย รวมพลกับเพื่อนหรือชวนฝรั่งเหมารถกันไปเที่ยวตลาด แล้วค่อยกลับไปพักที่เมืองซาปาอีกที

จะไปเมืองซาปา ต้องลงรถที่เมืองลาวไก (หลาวกาย : Lao Cai) ซึ่งเป็นเมืองหลักชายแดนตะวันตกเฉียงเหนือต่อกับมณฑลยูนนาน (หยุนหนัน) เส้นทางจากฮานอยที่ไปเมืองหลาวกายนิยมมากที่สุดก็คือ ไปด้วยรถไฟ โดยขึ้นรถที่สถานีรถไฟฮานอย หรือ กา ห่า หน่อย (Ga Ha Noi) เป็นรถนอนออกจากฮานอยค่ำๆ วิ่งคืนนึงถึงหลาวกายตอนเช้ามืด รถบัสไปได้เหมือนกัน แต่เส้นทางลำบากไม่นิยมกันครับผม

สถานีรถไฟฮานอยจะมีสองฝั่ง ฝั่งตัวสถานีหลักที่มีช่องขายตั๋วจะอยู่ติดถนนเลอ ดวน (Le Duan) แต่อีกฟากหนึ่งของทางรถไฟ (นึกภาพว่ามีทางรถไฟและชานชาลาเรียงเป็นสิบขวางกั้นอยู่) รถไฟขบวนที่ไปซาปาจะจอดอยู่ริมอีกฝั่งนึง คือฝั่งถนน Tran Quay Cap อาจบอกแท็กซี่ให้ไปที่นั่นก็ได้ หรือลงที่ฝั่งสถานีหลักปกติก็ได้ แล้วเดินไกลหน่อยไปขึ้นรถ

ประเภทรถไฟเวียดนาม 

รถไฟที่ออกจากฮานอยขบวนธรรมดาที่เป็นของทางการจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ เตียงนิ่ม (Soft sleeper) ในตู้นึงจะมี 4 เตียง ข้างนึงมีสองเตียง ส่วนแบบ เตียงไม่นิ่ม (Hard sleeper) จะมี 6 เตียงในตู้ ข้างละสามเตียง ทั้งสองแบบนี้เตียงอยู่บนจะถูกสุด เตียงอยู่ล่างจะแพงสุด (ดูรูปประกอบ)

ขาไปเราจะซื้อตั๋วเอง หรือให้เอเยนซีซื้อให้ก็ได้ เขาก็บวกค่าธรรมเนียมเข้าไปบ้างตามระเบียบ แต่ปัญหาก็มีอยู่ว่า รถไฟเวียดนามมักจะจองล่วงหน้าหลายวันไม่ได้ จะได้วันเดียว และเราจะจองขากลับจากหลาวกายล่วงหน้าไม่ได้เหมือนกัน (ขากลับเราต้องจองผ่านเอเยนต์ที่ซาปาสถานเดียวเท่านั้น เว้นเสียแต่จะนั่งรถมาซื้อตั๋วที่สถานีหลาวกายเอง) ดูแล้วยุ่งยากจัง แต่ขอบอกว่านี่ดีแล้วครับ ถ้าเป็นเมื่อก่อน ทางการรถไฟกำหนดเลยว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติซื้อตั๋วต้องจ่ายราคาแพงกว่าคนเวียดนามเองซื้อด้วยซ้ำ


นอกจากนี้ รถไฟเวียดนามยังมีระบบตู้รถพิเศษที่หรูหราและสบายกว่า (แต่แพงกว่าด้วย อิอิ) เช่น ของ Victoria, Ratraco, Tulico, TSC และ Royal, King เป็นต้น จะบริการเป็นตู้พิเศษที่พ่วงเข้าไปกับขบวนรถปกติ ซื้อตั๋วพวกนี้ได้จากเอเยนซีทัวร์ในฮานอยครับ ไม่มีขายที่สถานีรถไฟ

ขึ้นซาปา

ตรงหน้าสถานีหลาวกายตอนเข้ามืด จะมีทั้งนายหน้า คนขับ และใครต่อใครที่มีความหวังดีอยากได้สตางค์ในกระเป๋าเรามาเสนอราคารถเต็มไปหมด ใจเย็นๆ ค่อยๆ เลือกเอาครับ จากจุดนี้เราต้องหารถตู้เดินทางขึ้นเขาต่ออีก 40 กิโลถึงซาปา ระยะเวลาประมาณชั่วโมงเดียว (ทางอาจเวียนหัวนิดหน่อยสำหรับคนที่เมารถง่าย) ถ้าหมอกไม่บังทางเราจะเห็นนาขั้นบันไดขนาดใหญ่ยักษ์เป็นระยะๆ มาเที่ยวซาปา ก็คือมาพักผ่อนชิลล์ชิลล์ กับบรรยากาศภูเขาฟานซีปัน (Fan Si Pan) ที่สูงสุดในเวียดนามด้วยระดับความสูง 3,142 เมตรตั้งตระหง่านตรงหน้า (ตัวเมืองซาปาอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 1,600 เมตร) อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี บางทีมีหมอกคลุมหนาทั้งเมืองหลายวัน ถ้าโชคดีในบางปี อาจมีหิมะตกมาด้วย (หิมะจริงๆ ครับ ขอบอก)

ที่เที่ยวอื่นๆ ยังมีหมู่บ้านชาวเขาหลายแห่งที่สามารถเหมารถไปเที่ยว หรือเช่ามอเตอร์ไซค์ขับไปได้ ใครไม่อยากไปไหนจะนั่งจิบกาแฟร้อนหอมกรุ่นก็แล้วแต่ถนัด ดังนั้นจะไปซาปาควรคำนวณให้มีเวลาอยู่ที่ซาปาอย่างน้อยสามหรือสี่วัน ไม่งั้นจะรู้สึกไม่คุ้มต่อการเดินทางครับ เพราะไป-กลับเราเสียเวลาไปสองคืนบนรถไฟแล้ว

ไม่ว่าพักที่ไหน หรือเที่ยวยังไงในซาปา มีสุดยอดร้านกาแฟและขนมเค้กน่ารักมาแนะนำสาวๆ ทุกคนที่อ่านหนังสือเล่มนี้ คือร้าน Baguette and Chocolate ที่ถนน Thac Bac, Sapa โทร: (020) 871 766 ถามใครๆ ก็รู้จักครับ อยากรู้ว่าจิบกาแฟอุ่นๆ แกล้มขนมเค้กสุดอร่อยในบรรยากาศเตาผิง แถมข้างนอกร้านโน่นเป็นสายหมอกเลือนรางมันเป็นยังไง ต้องไปลองครับ แต่เตือนว่าร้านเขาคิวแน่น ต้องเล็งจังหวะดีๆ กันซักหน่อยถึงจะได้ที่นั่ง




จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

เส้นทางเที่ยวลาว - เวียดนามกลาง



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้

+ ลาว - เวียดนามกลาง
มุกดาหาร – สะหวันนะเขต – ด่งฮา - เว้ – ดานัง - ฮอยอัน

เส้นนี้จัดเป็นสุดยอดเส้นทางบก ชนิดวันเดียวเที่ยวสามประเทศซึ่งต่อไปเส้นนี้น่าจะนิยมกันมากขึ้นเพราะมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายและถนนหนทางดีหมดแล้ว รวมทั้งไม่ต้องเสียค่าเครื่องบิน เรากำลังจะเข้ายุคใหม่ของการท่องเที่ยวในอนาคตที่คนอีสานมาเที่ยวทะเลที่เวียดนามใกล้กว่าไประยอง !

การเดินทางเริ่มจากกรุงเทพฯ นั่งรถทัวร์ไปจังหวัดมุกดาหาร ต่อรถข้ามสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่สองไปเมืองสะหวันนะเขต (หรือจะข้ามด่านทางเรือตรงตัวเมืองมุกดาหารก็ได้) ที่คิวรถเมืองสะหวันฯ นี้จะมีเที่ยวรถประจำทางที่มีจุดหมายปลายทางที่ชายแดนตรงด่านสะหวัน และรถบัสที่วิ่งไปถึงเวียดนาม เส้นนี้จะวิ่งไปตามถนนหมายเลข 9 ไปที่ด่านสะหวัน (Dan Savanh) ข้ามไปด่านลาวบ่าว (Lao Bao) ในฝั่งประเทศเวียดนาม เข้าเมืองดงฮา แล้วเลี้ยวลงใต้ไปเว้ ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของเวียดนาม เลยต่อไปทางใต้ลงดานัง และฮอยอันตามลำดับ

ถ้านั่งรถประจำทางไปด่านชายแดนแล้วหารถฝั่งเวียดเอง ให้คำนวณเวลาให้ดีอย่าไปถึงชายแดนลาว - เวียดนาม บ่ายคล้อยหรือเย็นเกินไป ไม่งั้นจะต่อรถลำบาก หรือถ้าตกรถแล้วต้องค้างจะถูกโขกค่าที่พักแพงๆ ครับ

อย่างไรก็ตาม แนะนำว่า ให้ลองใช้รถบริการนักท่องเที่ยวที่วิ่งตรงไปเวียดนามเลยจะดีกว่า (ติดต่อได้จากเกสต์เฮาส์และเอเยนซีทัวร์ในสะหวันนะเขต เช่น เกสต์เฮาส์สะหวันบ้านเฮา)

อัพเดต- รถสะหวันบ้านเฮาไม่ได้วิ่งแล้ว เดี๋ยวนี้มีรถบัสกลางคืนออกจากสถานีขนส่งเมืองสะหวันเขตแล้ว มีทั้งแบบดีและไม่ดี ต้องถามที่สถานีรถสะหวันนะเขต

เพราะรถประจำทางของลาวแบบธรรมดาจะวิ่งแบบนั่งชาตินี้ถึงชาติหน้าใช้เวลา 5 - 6 ชั่วโมงทั้งๆ ที่ทางไม่มีอะไรขับยาก เราจะเสียเวลาไปมากแบบไม่จำเป็น รถที่บริการนักท่องเที่ยวยังดีอีกอย่างตรงที่ด่านสองด่านเนี่ย มันไม่ได้อยู่ติดกันเป๊ะๆ แต่ห่างพอควร ถ้าเราไปเองจะต้องจ้างมอเตอร์ไซค์ให้ไปส่งอีกด่าน แต่พอมีรถประจำเราก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจุกจิกตรงนี้

ถ้ามีเวลาควรจะค้างหนึ่งวันที่เมืองสะหวัน

ปัญหาของเส้นทางนี้มีอยู่อย่างเดียวคือ เราต้องนอนค้างหนึ่งวันที่สะหวันนะเขตเพื่อความชัวร์ เหตุเพราะรถทัวร์จากกรุงเทพฯจะถึงมุกดาหารราวเจ็ดโมงเช้า กว่าเราจะข้ามด่านไป กว่าจะติดต่ออะไรก็มักจะไม่ทันรถเที่ยวเช้าทั้งรถชาวบ้านธรรมดาและรถสำหรับนักท่องเที่ยว ถ้ารอเที่ยวถัดไปอาจจะไปถึงด่านชายแดนบ่ายมาก หรือเย็น จะไม่สะดวกอย่างยิ่ง ยิ่งเย็นยิ่งค่ำมากเท่าไหร่ อำนาจต่อรองเรื่องที่พัก เรื่องเช่ารถเดินทางต่อที่ชายแดนเราจะน้อยลงตามแสงอาทิตย์ที่ลับฟ้า (พอมืดแล้ว ผีดิบกับแวมไพร์จะออกอาละวาดครับ....อิอิ)

ดังนั้น ขอบอกว่าเพื่อความชัวร์ เราอย่าเสี่ยงกับพวกแวมไพร์ชายแดน อยู่เที่ยวเมืองสะหวันเล่นซักวัน จองเที่ยวรถเรียบร้อยแล้วออกแต่เช้าจะสบายใจ สบายกาย และปลอดภัยกระเป๋ากว่าครับ

ด่งฮาและเว้ 

รถสำหรับนักท่องเที่ยวนี้ถ้าคนเยอะจะเป็นรถบัส ถ้าคนน้อยจะลดขนาดลงมากลายเป็นรถตู้ และมักจะไปส่งเราแค่เมืองด่งฮา (Dong Ha) ในจังหวัดกวางชิ (Quang Tri) โดยจะส่งลงที่จุดรอซึ่งมักจะเป็นตัวแทนท่องเที่ยว จากนั้นเราจะรอรถบัสนักท่องเที่ยวคันใหญ่ที่วิ่งมาจากทางเหนือต่อรถเข้าเมืองเว้ (Hue) อีกที ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง

รวมๆ แล้ว ถ้าออกจากเมืองสะหวันตอนเจ็ดหรือแปดโมงเช้า พอตกค่ำก็น่าจะถึงเมืองเว้แล้ว รถจากด่งฮาจะจอดส่งเราในเมืองเว้ที่แถวๆ ถนน Le Loi ตัดกับ Pham Ngu Lao หรือบริเวณใกล้เคียงกับสะพาน Trang Tien ถ้าจอดที่อื่นก็บอกว่าให้ไปถนนฟามหงูเหลา (ดี เดื่อง ฟาม หงู เหลา – ภาษาเวียด) ที่พักจะอยู่ในละแวกใกล้เคียงย่านนี้ครับ

ตัวเมืองเว้ทั้งหมดที่เราเห็นผ่านการทำศึกครั้งใหญ่จนเกือบราบไปทั้งเมืองในสมัยสงครามเวียดนาม และมีการสร้างขึ้นมาใหม่ โดยฝ่ายเวียดกงยึดบริเวณพระราชวงศ์เก่าเอาไว้ ส่วนทหารอเมริกันอยู่ด้านนอกมีแม่น้ำซงเฮืองหรือแม่น้ำหอมคั่นกลาง

เราสามารถขี่จักรยานเที่ยวเมืองเว้ได้ รถมอเตอร์ไซค์มากมายก็จริง แต่เท่าที่พอมองเห็นยังน้อยกว่าฮานอย หรือโฮจิมินห์ซิตี้ทำให้พอเช่าจักรยานขี่เที่ยวตัวพระราชวังเก่าได้ แต่ถ้าจะไปดูสุสานจักรพรรดิ์นอกเมืองควรจะเช่ามอเตอร์ไซค์ไปหรือ เหมาเรือล่องแม่น้ำไป โดยท่าเรือจะอยู่ใกล้ๆ สะพาน Trang Tien ราคาเช่าควรจะต่อรองให้รวมอาหารมื้อเที่ยงที่ทานในเรือด้วย และควรออกเดินทางแต่เช้าเพราะเรือจะเสียเวลาทวนน้ำไปและต้องอ้อมโค้งน้ำใหญ่กว่าจะไปถึงบริเวณที่ตั้งสุสานจักรพรรดิ์

ข้ามภูเขาไปดานัง 

ดานังโดยตัวเองเป็นเมืองใหญ่และเมืองอุตสาหกรรมและเมืองท่าสำคัญ เมืองนี้ไม่มีที่เที่ยวอะไรสำคัญมากนักแต่เป็นทางผ่านที่จำเป็นสู่ฮอยอันที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ การเดินทางจากเว้ไปดานังทำได้สองทาง และจะได้สัมผัสบรรยากาศยิ่งใหญ่สองแบบที่แตกต่างกัน ถ้าไปทางรถบัสจะผ่านอุโมงค์ห่ายวาน (Hai Van Tunnel) ความยาว 6.3 กิโลเมตรยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 อุโมงค์นี้จะช่วยให้รถไม่ต้องเสียเวลาไต่ระดับภูเขาสูงชันผ่านช่องเขาห่ายวานที่กั้นที่กั้นระหว่างเว้กับดานัง ตัวแทนท่องเที่ยวในย่านเกสต์เฮาส์น่าจะมีตั๋วรถวิ่งตรงผ่านดานังไปฮอยอันเลย รถจากเว้ไปดานังน่าจะใช้เวลาราว 3 ชั่วโมง และจากดานังต่อไปฮอยอันน่าจะใช้เวลาราว 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมง

ถ้าไปทางรถไฟ จากเว้ไปดานังให้นั่งฝั่งซ้าย แต่ถ้าเดินทางจากดานังมาเว้ให้นั่งฝั่งขวา ทำแบบนี้แล้วจะนั่งติดทะเล จุดเด่นของเส้นทางรถไฟสายนี้ก็คือจะเลาะลัดไปตามไหล่เขาสูงชัน แต่อีกฟากจะเป็นวิวทะเลสีคราม ลองนึกถึงภาพทางรถไฟไปเมืองกาญจน์ฯ แต่ภูเขาสูงกว่า แล้วอีกฟากก็เป็นทะเล สุดยอดเลยครับ แต่เส้นทางนี้จะยุ่งยากนิดนึงตรงที่เราต้องลงรถที่สถานีรถไฟดานัง แล้วต่อรถไปเมืองฮอยอันอีกทีนึง

ช่วงที่ออกนอกเมืองดานังมุ่งหน้าไปฮอยอัน ระหว่างทางด้านติดทะเลจะห็นชายหาดยาวเหยียดสามสิบกว่ากิโล ส่วนหนึ่งก็จะเป็นชายหาดชื่อดังสำหรับพวกจีไอที่มารบในสงครามเวียดนามว่า ไชน่าบีช (China Beach)

ฮอยอันฉันรักเธอ

ฮอยอัน (ฮอยอัน) เป็นเมืองเล็กๆ ที่เป็นท่าเรือเก่าแก่มีสถาปัตยกรรมจีนเก่าแก่ บ้านทรงจีนมากมาย และกลายมาเป็นที่รู้จักในวงกว้างในเมืองไทยหลังกลายเป็นชื่อละครดังเรื่องนึง (ถ้าไปตรงช่วงพระจันทร์เต็มดวง ช่วงหัวค่ำของคืนวันที่ 14 ตามปฏิทินจันทรคติของเวียดนามในเมืองฮอยอันจะปิดไฟหมด จุดโคมตะเกียงย้อนบรรยากาศเก่าแก่เมื่อหลายร้อยปีก่อนให้เราชมกัน ใครชอบถ่ายรูปอย่าลืมเอาพวกขาตั้งกล้องดีๆ ไปด้วยนะครับ)

เมืองท่าสไตล์นี้เกิดขึ้นตลอดเส้นทางค้าขายระหว่างจีนกับอินเดียโบราณ เพราะว่าพวกพ่อค้าและนักผจญภัย ต้องมาจอดเรือรอทิศทางลมหลายๆ เดือนในแต่ละปี เกิดเป็นชุมชนค้าขายนอกประเทศขึ้นมา เมืองเก่าฮอยอันสามารถเดินเที่ยวได้สบายครับไม่ใหญ่มาก ลองหาร้านอาหาร แล้วสั่ง “เกาเหลา” ดูครับ เป็นก๋วยเตี๋ยวแบบหนึ่งที่ไม่เหมือนเกาเหลาบ้านเรา

ปัญหาของฮอยอันคือเป็นเมืองเล็ก ที่พักอาจเต็มอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ไฮซีซัน และช่วงพระจันทร์เต็มดวง ทางเลือกคือยอมพักที่เกสต์เฮาส์ห่างย่านเมืองเก่าออกไปแล้วเช่าจักรยานปั่นเอา จากฮอยอันสามารถซื้อเดย์ทัวร์ไปเที่ยวชุมชนโบราณของพวกจาม ที่เมืองโบราณ My Son ซึ่งเคยรุ่งเรืองแถบนี้มาก่อน เดย์ทัวร์ที่ขายกันมีทั้งแบบล่องเรือไปและไปรถครับ แต่น่าเสียดายในสงครามเวียดนามเมืองโบราณแห่งนี้ถูกพวกอเมริกันเอาเครื่อง B52 มาทิ้งบอมบ์




จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

เส้นทางเที่ยวกัมพูชา (เขมร)



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้
ดูคลิปการเดินทาง  www.youtube.com/user/feelthai
มองหา ข้อมูลที่พัก โรงแรม รีสอร์ท


กัมพูชา (เขมร)

พูดถึงกัมพูชา ก็ต้องพูดถึงปราสาทหิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นครวัด นครธม ที่เสียมเรียบ รวมทั้งสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติที่แม่น้ำโขงไหลย้อนขึ้นเหนือไปตามที่ราบต่ำเขมร จนเกิดเป็นโตนเลสาบ ที่เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ยักษ์

อาจจะเป็นเพราะเรื่องสงครามในอดีต เลยทำให้กัมพูชาจัดว่าเป็นประเทศที่คนไทยชอบมองข้าม ทั้งๆ ที่มีจุดท่องเที่ยวน่าสนใจระดับโลกอย่างนครวัดและบายน ซึ่งพวกฝรั่งถึงกับบินข้ามทวีปมาดูกันถึงที่ นอกจากนี้ ยังเป็นเส้นทางหลักของแบ็คแพ็คเกอร์สำหรับการเดินทางผ่านต่อไปประเทศเวียดนาม หรือลาวตอนใต้ได้ด้วยครับ

อย่างไรก็ตาม กัมพูชาเป็นประเทศที่ยังต้องใช้วีซ่าในการผ่านแดน โดยเสียค่าใช้จ่ายราวคนละ 20 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถ้าไม่ได้ทำไว้จากกรุงเทพฯ ไปถึงชายแดนที่ตลาดโรงเกลือก็ทำวีซ่าได้ทันทีเหมือนกัน แต่จะโดนบวกค่านายหน้าเพิ่มเป็นหนึ่งพันหรือหนึ่งพันสองร้อยบาท
อัพเดต - ตอนนี้คนไทย ไม่ต้องเสียวีซ่าเข้าเขมรแล้วครับ อยู่ได้ 15 วัน หรือสองอาทิตย์ 

บางคนอาจบอกว่าเคยข้ามไปที่คาสิโนฝั่งเขมรไม่ต้องเสียวีซ่า อันนั้นก็จริงครับเพราะพื้นที่คาสิโนชายแดนกัมพูชาจัดเป็นเขตปกครองพิเศษ ไม่เกี่ยวกับวีซ่าเข้าประเทศของเขา เป็นคนละกรณีกัน

ภาษาไทยและเขมรยังใกล้ชิดกันมากเพราะไทยเรารับเอาคำภาษาเขมรมาใช้จำนวนมาก ถ้าเงี่ยหูฟังให้ดีจะมีเสียงเพี้ยนกันนิดหน่อยเท่านั้น ถ้าให้ความสนใจเรียนรู้ซักหน่อยคนไทยจะพูดเขมรเพื่อการสื่อสารง่ายๆ ได้เร็วมาก ในทางกลับกัน คนเขมรก็เรียนภาษาไทยได้ง่ายเช่นกัน หลายคนเคยมาทำงานเมืองไทย ดังนั้น ขอแนะว่าอย่านินทาใครด้วยภาษาไทย เขาอาจจะเข้าใจนะ ขอบอก

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ล่าสุด สภาพถนนหนทางในกัมพูชาโดยรวมดีขึ้นมาก การเดินทางในเขมรเองในเส้นหลักๆ หรือการเดินทางผ่านไปเวียดนามมีลาดยางหมดแล้ว สามารถทำเวลาได้ดีขึ้นมาก ส่วนเรื่องเงินบาทใช้ได้ในฝั่งตะวันตกของประเทศไปจนถึงพนมเปญครับ แต่จะขาดทุนเล็กน้อย ดังนั้นแนะให้ใช้ดอลลาร์หรือแลกเป็นเงินเรียลดีกว่า

ปัญหาอย่างหนึ่งของการเดินทาง คือพวกหากินตามชายแดน หรือนายหน้า หรือสามล้อที่เสียมเรียบจะชอบตื๊อหนัก ตามไม่เลิก หรืออื่นๆ อีกมากมาย ต้องอดทนและระวังบ้างครับ อีกเรื่องที่ต้องระวังคือ กัมพูชายังเป็นดินแดนที่มีปัญหาเรื่องกับระเบิดตกค้างหลังสงคราม ดังนั้นเวลาที่จำเป็นต้องทำธุระส่วนตัวระหว่างเดินทาง อย่าออกไปจากบริเวณถนนมากนัก

ดูลิงก์การเดินทางเส้นทางต่างๆ  ในกัมพูชาดังนี้ครับ 



จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

จุดข้ามแดนชายแดนไทย - กัมพูชาอื่นๆ



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้
ดูคลิปการเดินทาง  www.youtube.com/user/feelthai
มองหา ข้อมูลที่พัก โรงแรม รีสอร์ท


จุดข้ามแดนชายแดนไทย - กัมพูชาอื่นๆ

สมัยก่อน จุดข้ามแดนอื่นๆ แต่ไม่นิยมกันเพราะปัญหาหลักคือ หารถไปลำบากจากฝั่งไทย หารถไปต่อลำบากในฝั่งเขมร เมืองชายแดนที่ต่อเนื่องเล็กเกินไป ที่พักไม่สะดวก หลายจุดยังไม่มีบริการวีซ่าด่วนที่ชายแดน รวมเรื่องราวพวกนี้ทำให้ไม่ค่อยมีใครใช้เส้นทางพวกนี้มากนักเว้นเสียแต่ใครที่อยากผจญภัย ไปกับกรุ๊ปทัวร์ ค้าขาย เป็นต้น

แต่มาตอนนี้หลายจุดพัฒนาให้ติดต่อสะดวกขึ้น เข้าง่ายขึ้น ต่อรถได้ง่ายขึ้น แต่ขอแนะว่าให้มีประสบการณ์ในการเดินทางเยอะหน่อย ค่อยมาใช้เส้นพวกนี้ 

ทางสุรินทร์และศรีสะเกษ
ด่านช่องจอม (Chong Jom) ฝั่งไทย กับ ด่านโอสะมัก (O Smach) ฝั่งกัมพูชา

ข้ามจากไทยตรงจังหวัดสุรินทร์ผ่านทางช่องจอมเข้าจังหวัดโอดอนเมียนเจย (อุดรมีชัย) ไปต่อที่เมืองสำโรง (Samrong) แล้วต่อรถเข้าเสียมเรียบ

ด่านช่องสะงำ (Chong Sa Ngam)ฝั่งไทย ไปที่ด่านจอม (Choam) ฝั่งกัมพูชา
ข้ามจากไทยตรงจังหวัดศรีสะเกษที่ช่องสะงำแล้วเข้าเขมร จุดเด่นตรงนี้คือเป็นทางผ่านไปที่เมืองต่อเนื่องคือ อันลองเวง (Anlong Veng) ที่มั่นสุดท้ายของเขมรแดง ก่อนยอมสงบศึกกับรัฐบาลของสมเด็จฮุนเซ็น

ทางจังหวัดจันทบุรี

นอกจากนี้ ยังมีอีกด่านในจังหวัดจันทบุรี คือ ด่านบ้านผักกาด (Ban Pakard) ที่ต่อกับด่านปซาร์ ปรม (Psar Prohm) ฝั่งกัมพูชา ที่อยู่ใกล้เมืองไพลิน (Pailin) อดีตที่มั่นสำคัญของเขมรแดงประมาณ 20 กิโลเมตร จากเมืองไพลินจะต้องเดินทางอีก 80 กิโลเมตรไปต่อที่จังหวัดบัตดำบอง จึงจะเข้าเครือข่ายการเดินทางของเขมรตอนใน หากจะเดินทางผ่านเขตนี้ให้ระมัดระวังเรื่องยุงนะครับ เพราะบางจุดแถวเมืองไพลินยังจัดเป็นเขตมาลาเรียดื้อยา

ลาวใต้เข้ากัมพูชา

เส้นทางนี้คือจุดเชื่อมต่อกับประเทศลาวตอนใต้ โดยเชื่อมที่ด่านเวินคำ (Voen Kham) ในฝั่งลาวบริเวนสี่พันดอน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของลาวใต้ กับด่านดอม กรอลอร์ (Dom Kralor) ซึ่งจากจุดนี้จะต้องเดินทางใช้เวลา 1-2 ชั่วโมงเข้าเมืองสตึงแตรง (Stung Treng) ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ในย่านนี้ แล้วต่อรถเข้าพนมเปญ ซึ่งจะกินเวลา 7-9 ชั่วโมง

ทางเส้นนี้ค่อนข้างลำบาก ไม่นิยมใช้ และหารถช่วงสตึงแตรงไปชายแดนลำบาก จะใช้เส้นทางนี้ต้องวางแผนกันให้ดีครับ



 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

เที่ยวกัมพูชาเส้นล่าง-เลียบฝั่ง-เข้าเวียดนาม



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้

เที่ยวกัมพูชาเส้นล่าง-เลียบฝั่ง-เข้าเวียดนาม
ตราด - เกาะกง – สีหนุวิลล์ – กำปอด- ชายแดนเวียดนาม

เส้นนี้ก็คล้ายเส้นล่างอีกเส้นหนึ่ง คือเส้นทางตราดไปเกาะกง  ดูที่ลิงก์ http://feelthai.blogspot.com/2013/02/trad-kohkong-phnompenh-route.html   ได้เลย  แต่แทนที่จะเข้าพนมเปญเราก็ออกจากเกาะกงโดยทางเรือเร็วหรือรถไปที่สีหนุวิลล์ (Sihanouk Ville) แล้วจากนั้นก็เลาะชายฝั่งด้านใต้ไปเรื่อยๆ

เที่ยวเมืองสีหนุ

ที่ท่าเรือเกาะกง จะมีเรือเร็วตอนเช้าวิ่งตัดอ่าวไปยังสีหนุวิลล์ ซึ่งหมายถึงเมืองสีหนุ (ชื่อเดิมกำปงโสม) ใช้เวลาราว 4 ชั่วโมง เป็นเรือลำใหญ่ ผมเข้าใจว่าเป็นเรือที่ซื้อมาจากมาเลเซียเพราะเห็นเรือแบบนี้วิ่งตามแม่น้ำ หรือข้ามอ่าวระยะสั้นๆ ในเกาะบอร์เนียว เวลาแล่นในทะเลข้อดีคือเรือมันหนัก จะไม่กระแทกหรือกระดอนมากเท่าลำเล็กครับ   หมายเหตุ-อัพเดตแก้ข้อมูลเก่าจากในหนังสือ คือตอนนี้เส้นทางบกดีหมดแล้ว คนหันมาใช้รถบัสเดินทางจากเกาะกง ไปสีหนุวิลล์แทน 

สีหนุวิลล์เป็นทั้งเมืองท่าและเมืองตากอากาศชายทะเลของกัมพูชา เดิมถูกทิ้งซากร้างในสมัยสงคราม ปัจจุบันกำลังค่อยๆ ฟื้นคืนสีสันกลับมามีชีวิตอีก โดยเริ่มเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวฝรั่งที่ชอบเที่ยวทะเลสงบ ๆ และมองว่าทะเลเมืองไทยหรือประเทศอื่นแพงเกินไป ดังนั้นบรรยากาศของเมืองนี้คือ Beach & Bar กับฝรั่งอ้วนๆ อาบแดดตัวแดงที่อาจไม่ถูกโรคกับนักเดินทางชาวไทยมากเท่าไหร่ครับ ดังนั้นเส้นนี้จึงหานักท่องเที่ยวชาวไทยได้ยากมาก

กำปอตและแกป

ห่างออกไปทางตะวันออกประมาณสองชั่วโมง คือเมืองกำปอต (Kampot) และเมืองตากอากาศแกป(Kep) เป็นอีกจุดบนเส้นทางสายเที่ยวทะเล แต่อาจไม่คึกคักเท่าสีหนุวิลล์

จากตรงนี้สามารถแยกเดินทางไปที่ Kampong Trach แล้วไปต่อข้ามแดนที่ด่านเปรกจัก ( Prek Chak) ในฝั่งเขมร และซาเซีย (Xaxia) ในฝั่งเวียด จุดนี้จะเชื่อมต่อไปที่เมืองฮาเตียน (Ha Tien) ซึ่งใครที่มาตรงนี้มักจะไปเที่ยวต่อที่เกาะฟูกว๊วก (Phu Quuoc) ที่เริ่มกลายเป็นเกาะตากอากาศสำคัญในภาคใต้ของเวียดนาม ด่านนี้ไม่ค่อยมีคนใช้ครับ บางทีก็มีการปิดให้ข้ามแต่เฉพาะคนท้องถิ่น ก่อนเดินทางไปควรจะเช็คข้อมูลให้ดีจากเน็ต

ผ่านตาแก้วเข้าเวียด

จากกำโปตสามารถใช้เส้นทางเข้าเวียดนามในด่านใต้คือนั่งรถสองชั่วโมงไปที่จังหวัดตาแก้ว (Takeo) นั่งรถต่ออีก ราว 50 กิโลเมตร ไปข้ามแดนที่ด่าน พนมเด็น (Phnom Den) โดยไปต่อที่ด่าน ทินเบียน (Tinh Bien) ในฝั่งเวียดแล้วต่อรถไปที่จ่าวด๊ก (Chau Doc) ซึ่งเป็นเมืองชุมทางทั้งทางบกทางน้ำ ก่อนต่อรถเข้าโฮจิมินห์ซิตี้อีกทีนึง

จะเห็นว่า เส้นทางเข้าเวียดนามทางนี้ค่อนข้างลำบากกว่าเส้นทางด้านเหนือมาก เพราะมีต้องต่อรถหลายทอด ทำให้คำนวณเวลายาก เส้นนี้คงจะเหมาะเฉพาะคนที่อยากจะเที่ยวทะเลเขมรจริงๆ เท่านั้น



จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

เส้นทางจากตราดไปเกาะกง ไปพนมเปญ



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้
ดูคลิปการเดินทาง  www.youtube.com/user/feelthai
มองหา ข้อมูลที่พัก โรงแรม รีสอร์ท



กัมพูชาเส้นล่าง-เส้นทางจากตราดไปเกาะกง ไปพนมเปญ
กรุงเทพฯ – ตราด - หาดเล็ก – เกาะกง – พนมเปญ

เที่ยวกัมพูชายังไปได้อีกแบบ โดยใช้เส้นทางสายเลียบชายฝั่งไป โดยมากเส้นทางนี้จะนิยมกันในหมู่ฝรั่งแบ็คแพ็คเกอร์ที่เดินทางมาจากไทยไปเที่ยวเกาะช้างแล้วเลยต่อไปเข้าเขมร หรือมาจากเวียดนามใต้ เที่ยวเขมรแล้วเข้าทางนี้เพื่อไปเที่ยวเกาะช้างต่อ

ถ้ายังไม่เคยมากัมพูชา ไปใช้เส้นบนดีกว่าครับ เพราะได้เที่ยวเสียมเรียบกะนครวัดด้วย แถมหนทางยังดีตลอดจนถึงกำปงธมและพนมเปญ

กรุงเทพฯ - ตราด 

จากสถานีขนส่งเอกมัย ให้นั่งรถประจำทางมาที่จังหวัดตราด ใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง แล้วต่อรถมินิบัสไปที่บ้านหาดเล็กราว 1 ชั่วโมง ไปที่ด่านชายแดน พอผ่านด่านอะไรเรียบร้อยทั้งฝั่งเขมรและไทย แล้วเรียกมอเตอร์ไซค์ข้ามไปเกาะกง ใช้เวลาประมาณ 15 นาที

เกาะกง (Krong Koh Kong) 

ที่นี่ก็คล้ายตรงด่านปอยเปต เพราะมีคาสิโนมากมายเปิดรองรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เกาะกงนี่มีอะไรพิเศษนิดหน่อยตรงที่มีเขมรเชื้อสายไทย หรือจะบอกว่าเป็นคนไทยก็ได้ เพราะพูดเหมือนคนไทยแถวจันทบุรีหรือตราดอาศัยอยู่ที่นี่เป็นจำนวนมากราว 30 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด ดังนั้นภาษาไทยใช้ได้ไม่น่าจะมีปัญหา

นั่งแท็กซี่แชร์ไปพนมเปญใช้เวลา 6- 10 ชั่วโมง อันนี้ก็ต้องขึ้นกับสภาพอากาศด้วย ส่วนสะพานต่างๆ ที่เป็นตัวเชื่อมสำคัญบนเส้นทางเพิ่งเสร็จเมื่อปี 2008

สมัยก่อนการเดินทางจากเกาะกง ไปพนมเปญ นิยมนั่งเรือเร็วตัดมาที่เมือง สะเรย อัมเบิล (Sre Ambel) ที่เป็นเมืองชุมทางที่จะตัดไปพนมเปญ แล้วต่อรถเข้าเมืองหลวงอีกที แต่ตอนนี้ถนนก็ค่อยข้างโอเคแล้วครับ

ใครที่ต้องการร่นเวลาก็สามารถลงเรือเร็ว (ลำเล็ก) ไปสะเรย อัมเบิล ได้แต่อาจไม่สะดวกนักเพราะต้องเบียดกันไปในเรื่อลำเล็กหลายสิบคน โยกไปมาพร้อมจังหวะแฉลบคลื่น (จะกระแทกดังปึ้ก) เป็นระยะๆ สลับกับเสียง “โอ๊ย” ของผู้โดยสารเคราะห์ร้าย ใช้เวลาเดินทางราว 3 ถึง 4 ชั่วโมง หมายเหตุ -อัพเดตใหม่ ตอนนี้ เส้นทางเรือจากเกาะกงไม่ใช้กันแล้วครับ ใช้ทางรถหมดแล้วเพราะมีสะพานและถนนตัดใหม่


จากสะเรยอัมเบิล นั่งรถเข้าพนมเปญจะใช้เวลาประมาณ 2 - 2.5 ชั่วโมง

พนมเปญ 

ปกติแล้วแบ็คแพ็คเกอร์ไม่ค่อยนิยมแวะพักพนมเปญมากนัก แต่บางทีเรื่องของการต่อเที่ยวรถก็จำเป็นเหมือนกัน โดยที่พักสำหรับชาวแบ็คแพ็คเกอร์ในเมืองหลวงของกัมพูชา จะอยู่ในบริเวณบึงกัก (Boeng Kak) ใกล้สถานีรถไฟพนมเปญ กับอีกจุดคือย่านริมน้ำโตนเลสาบ ตรงถนนสีโสวัท (Sisowath Quay) (ระวังนิดนึงเพราะถนนเส้นนี้ยาวมาก) ซึ่งจะแพงกว่า แต่บรรยากาศโดยทั่วไปก็ดีกว่าด้วย

จากพนมเปญก็จับรถต่อเข้าเวียดนามครับ โดยมากนิยมใช้รถบัสเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมงถึงโฮจิมินห์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เส้นทางจากเขมรเข้าเวียดนาม ที่ลิงก์ http://feelthai.blogspot.com/2013/02/thailand-to-southern-vietnam-route-via-cambodia.html  นี้


 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

นั่งเรือเที่ยวเขมร - ไปเวียดนาม



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้

นั่งเรือเที่ยวเขมร - ไปเวียดนาม

เมื่อก่อนการเดินทางทางเรือคือเส้นทางหลักเวลาจะไปไหนมาไหนในประเทศนี้ เหตุเพราะถนนเกือบทั้งหมดถูกทำลายในระหว่างสงคราม แต่ช่วงหลังมานี่ถนนดีขึ้นมาก สะดวกและเร็วกว่า พอเป็นแบบนี้ การเดินทางไปกับสายน้ำเลยหมดความหมายไปทีละน้อย แต่ยังไงก็ตาม เรือให้บรรยากาศการเดินทางที่เป็นธรรมชาติมากกว่า หลายคนก็ยังติดใจตรงนี้อยู่

เสียมเรียบไม่ได้อยู่ติดโตนเลสาบ เวลาไปลงเรือต้องลงใต้ไปอีกสิบกิโลไปขึ้นเรือที่ท่าจงคะเนีย ซึ่งจากที่นี่นอกจากจะมีบริการเรือเที่ยวแบบวันเดย์ทริป (ติดต่อตัวแทนท่องเที่ยวในเสียมเรียบ) แล้ว ยังเป็นจุดขึ้นเรือไปบัตดำบอง (พระตะบอง) และพนมเปญ ใช้เวลาไปแต่ละแห่งราวห้าชั่วโมง แต่ในบางช่วงเช่นหน้าแล้ง (มีนา ถึง พฤษภา) อาจไม่มีการเปิดเดินเรือเพราะน้ำไม่มากพอ


จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 
จากพนมเปญ มีเรือเร็วไปเจ่าด๊ก (Chao Doc) ในเวียดนาม (เรือเร็ว 4-5 ชม. เรือช้า 8 ชม.) แล้วเดินทางต่อด้วยรถไปเกิ่นเทอ (Can Tho) แล้วต่อเข้าโฮจิมินห์ในที่สุด โดยเรือจะข้ามแดนที่ด่าน กำสำนอร์ (kaam Samnor) ในฝั่งเขมร และ วินห์เซือง (Vinh Xuong) ในฝั่งเวียด

สำหรับเรือเดินทางตรงระหว่างเสียมเรียบ – พนมเปญ - โฮจิมินห์ซิตี้ นั้นมีแบบเดียวคือเรือนักท่องเที่ยวแบบกึ่งทัวร์เก็บค่าโดยสารในราคาแพงเอาเรื่องครับ ถ้าสนใจก็ลองถามตัวแทนทัวร์ในเสียมเรียบดู

รถไฟเขมรไปยุโรป ? 

ในทางทฤษฎีมีทางรถไฟจากชายแดนไทยที่ปอยเปต มาบัตดำบอง และพนมเปญ ส่วนจากพนมเปญมีลงใต้ไปเมืองท่าสีหนุวิลล์ แต่ในทางปฏิบัติมีแต่รถสินค้าวิ่งกัน ทางรถไฟอยู่ในสภาพแย่ ขาดการบำรุงรักษาและไม่มีบริการโดยสารหรือถ้ามีเปิดบริการอีกก็ไม่แนะนำให้ใช้บริการ

แต่ในอนาคตทางธนาคารพัฒนาแห่งเอเชียมีโครงการจะให้ความช่วยเหลือซ่อมทางรถไฟจากชายแดนไทยกัมพูชามาจนถึงพนมเปญ และจะสร้างทางใหม่เชื่อมไปที่โฮจิมินห์ซิตี้ ซึ่งถ้าโครงการนี้ไม่แท้งไปก่อนจะเป็นการเชื่อมต่อรถไฟไทยเข้ากับระบบรถไฟโลก โดยสามารถเดินทางด้วยรถไฟเรื่อยๆ จากสถานีหัวลำโพงที่กรุงเทพฯไปถึงยุโรปโดยผ่านเวียดนาม จีน และทางสายทรานส์ไซบีเรียในประเทศรัสเซีย

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

เส้นทางจากไทยไปกัมพูชาไปเวียดนามภาคใต้



โดย มารพิณ

  www.facebook.com/marnpinbook
แวะเที่ยว  หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-backpack-แบกเป้

ไทย – กัมพูชา - เวียดนามใต้
เสียมเรียบ - พนมเปญ – โฮจิมินห์ ซิตี้

ถึงเวลาเดินทางต่อแล้วล่ะครับ ในช่วงนี้เราจะเริ่มจากที่เมืองเสียมเรียบเลย ส่วนการเดินทางนั้น ง่ายมากไม่มีอะไรซับซ้อน ขึ้นอยู่กับชะตาว่าคุณจะซื้อตั๋วได้รถดีหรือรถร้าย

พอจบจากเสียมเรียบและนครวัดแล้ว ใครที่มีเวลาพอ หรือที่ผ่านมามันยังไม่เร้าใจมากพอสามารถเดินทางไปต่อแบบแบ็คแก็คเกอร์ฝรั่งได้ถึงพนมเปญและโฮจิมินห์ โดยรถที่ไปโฮจิมินห์จะแวะที่พนมเปญก่อน เพื่อรับผู้โดยสารเพิ่มหรือเปลี่ยนรถ สามารถไปขึ้นรถได้ที่สถานีรถประจำทาง หรือซื้อจากตัวแทนท่องเที่ยวในย่านแบ็คแพ็คของเสียมเรียบก็ได้ ซึ่งแบบหลังจะสะดวกกว่า

ผมแนะให้เลือกบริษัทรถบัสที่เป็นของเวียดนามเพราะจะมีปัญหาน้อยกว่าเวลาผ่านแดนเข้าเวียด และไม่ต้องเปลี่ยนรถ เช่นของบริษัท Sapaco หรือ Saigon Passenger Transport Company ดังนั้นเวลาจองตั๋วกับตัวแทนท่องเที่ยวในเสียมเรียบให้ถามให้ชัดๆ ไปด้วยว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนรถที่ชายแดนมั้ย หรือไปต่อเข้าเวียดในรถคันเดิม ซึ่งควรเลือกแบบที่ไม่ต้องเปลี่ยนรถจะดีกว่า

รถบัสปรับอากาศจากเสียมเรียบที่ไปพนมเปญจะใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง โดยลงมาข้างทะเลสาบด้านขวา ผ่านเมืองใหญ่คือ กำปงธม แล้วถึงพนมเปญในที่สุด ข่าวดีก็คือเส้นทางจากเสียมเรียบมาถึงกำปงธมที่เคยมีปัญหาในอดีตนั้น ตอนนี้ปรับปรุงสภาพถนนเสร็จเรียบร้อยหมดแล้ว เพราะฉนั้นทำเวลาได้ไม่ล่าช้า เช่น ถ้ารถออกเจ็ดโมงเช้าจากเสียมเรียบก็น่าจะถึงพนมเปญในราวเที่ยง หรือเที่ยงกว่า ถ้ามี late บ้างก็ มักจะเป็นช่วงที่เข้าพนมเปญอาจเจอรถติด


จอง-ค้นหาที่พัก Agoda 

ส่วนรถบัสที่ออกจากพนมเปญ (ซึ่งอาจจะเป็นคันเดียวกับที่พาเรามาจากเสียมเรียบ) จะไปถึงนครโฮจิมินห์ในประเทศเวียดนามภายในเวลา 5 – 6 ชั่วโมง แต่เช่นเดียวกันครับ อาจเจอรถติดตอนออกจากพนมเปญ

รถที่ออกจากพนมเปญจะวิ่งมาตามทางหลวงหมายเลข 1 มาข้ามแพขนานยนต์ที่ท่าข้ามน้ำโขงที่เมือง เนียกเลือง (Neak Luong) ซึ่งจุดนี้อาจมีการเสียเวลาเพราะรอคิวลงแพ ในอนาคตจะมีสะพานข้ามโขงตรงนี้โดยได้ความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น เมืองนี้เคยทำให้อเมริกันขายหน้าในช่วงสงครามเวียดนามเพราะสั่ง B52 บอมบ์ผิดพิกัดลงกลางตลาดเล่นเอาราบไปครึ่งเมือง ชาวบ้านตายนับร้อย

ผ่านจุดนี้มาได้จะเดินทางต่อไปเข้าจังหวัดสวายเรียง (Svay Rieng) ไปที่ด่านชายแดนบาหวัด (Bavet) ข้ามไปด่านมอคไบ (Moc Bai) แล้ววิ่งไปโฮจิมินห์ โดยมากรถจะไปจอดที่ปลายทางตรงข้างๆ สวนสาธารณะตรงถนนฟามหงูเหลา ซึ่งเป็นแหล่งที่พักแบ็คแพ็คเกอร์สำคัญในนครโฮจิมินห์ซิตี้

ตรงด่านบาหวัด สังเกตุให้ดีจะมีคาสิโนผุดขึ้นมากมายไม่แพ้ปอยเปตเพื่อรองรับนักท่องแที่ยวชาวเวียดนาม



+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ