วันพุธ, พฤศจิกายน 24, 2553

truce - กรุงโซลใกล้ชายแดนเกาหลีเหนือมากแค่ไหน

โดย มารพิณ



เช็คข่าวกันทุกประเทศครับ  เพราะวงการท่องเที่ยวเกาหลีเน้นขายหน้าหนาว ช่วงนี้ กับธันวาเดือนหน้า มีทัวร์เข้าเกาหลีเยอะ เวลามีเหตุถึงขั้นยิงปืนใหญ่ถล่มกันเละแบบนี้  ใครจะไปทัวร์กรุงโซล เกาะนามิ อะไรทั้งหลายในเดือนหน้่า ก็ต้องตามข่าวกันทุกระยะ  รวมทั้งกรุ๊ปทัวร์เมืองไทยน่าจะตามข่าวและสถานการณ์กันไว้ด้วยเพราะงานนี้  กรุงโซลห่างจากเขตแบ่งแดนของทั้งสองประเทศแค่นิดเดียว ไม่กี่สิบกิโลเมตรครับ





ดูรูปแผนที่กูเกิ้ลด้านบนครับ เส้นเหลืองจากกรุงโซล ไปที่ชายแดนที่เรียกกันว่า เขตปลอดทหาร หรือ "DMZ" or de-militarized zone  ก็ไม่ถึง 40 กิโล เรียกว่าใกล้กว่า กรุงเทพฯ ไปอยุธยา ด้วยซ้ำไป (ลองนึกภาพว่า ถนนพหลโยธินจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปถึงธรรมศาสตร์รังสิต มีระยะทางราวสี่สิบกว่า กิโล)  ไม่ว่าจากโซลทาวเวอร์   เมียงดง   พระราชวังเคียงบ็อค   กิมจิแลนด์   ทงแดมุน  เอเวอร์แลนด์ พวกนี้ ก็ไม่ห่างจากชายแดนเลย  ดังนั้นที่คนเกาหลีใต้ และชาติอื่นที่ไปเที่ยวไปลงทุนเกาหลีตื่นตกใจกันมากก็เพราะมันใกล้มากนี่ล่ะครับ ยังไงเขาก็ระวังไว้่ก่อน

และมีอีกเรื่องนึงที่ควรทราบและจะแนะนำศัพท์ภาษาฝรั่งคำนึง ก็คือ  ที่เอามาหลอกให้จำกัน หลังจากหลงกลอ่านเรื่องเกาหลีของผมไปแล้ว นั่นคือ


                          truce


truce   ทรู่ส  แปลว่าหยุดยิง ยอมยุติศึกชั่วคราว หรือ ข้อตกลงหยุดยิง ใช้ได้อีกคำว่า cease-fire  อันนี้แปลตามตัวเลยว่า หยุด-ยิง  เพราะ fire พอเป็นเวิร์บแปลว่า ยิง หรือ ยิงปืน


คำนี้มีความสำคัญก็เพราะ ในทางเทคนิคแล้ว...  เชื่อหรือไม่ว่า สงครามเกาหลียังไม่จบครับถึงแม้เวลาจะผ่านไปนานกว่า 50 ปีแล้ว  ก็เพราะไม่มี "ข้่อตกลงสันติภาพ"  ที่ไม่รบกัน ก็เพราะมี truce  หรือข้อตกลงหยุดยิงเท่านั้น !  ดังนั้นสถานะสงครามยังมีอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่สองฝ่ายนัดแนะว่า... "กรูไม่ยิงเมิงนะ  เมิงอย่าเจือกยิงกรูล่ะ"  

ซึ่งหมายความว่า จะยิงกันเมื่อไหร่ก็ได้ อย่างที่เกาหลีเหนือทำไปเมื่อวันก่อน ซึ่งยังเถียงกันดราม่าไม่จบว่าใครยิงใครก่อน


 รวมลิงก์หนังสือมารพิณ

มีอะไรก็คอมเมนท์มาได้ นะครับ.... ใครมีความรู้เพิ่มเติมก็มาแชร์กัน ผมไม่ได้เก่งอะไรมากมาย ยังไงฝากบอกแนะนำลิงก์ของบล็อก feelthai.blogspot.com ต่อเพื่อนๆ ด้วย
แต่ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามภาษาอังกฤา หรือแก้ปัญหาการบ้านภาษาอังกฤษนะครับ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ
 (English for learners - blog)