วันอังคาร, พฤศจิกายน 23, 2553

stampede - ศัพท์อังกฤษในข่าวเหยียบกันตายที่เขมร (กัมพูชา-)

โดย มารพิณ 

ก่อนอื่นขอแสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิตทุกคน เรื่องแบบนี้อย่าประมาทครับ  ผมเคยเห็นเหตุการณ์แบบนี้กำลังจะเกิดหลายครั้งที่สถานีรถใต้ดินตรงทางขึ้นศูนย์สิริกิต  เวลาที่มีงานใหญ่ๆ และเจ้าหน้าที่ทั้งของศูนยฯ และของรถใต้ดินก็มัวแต่กั้นๆ  และกั้น โดยไม่ดูว่าคนทะยอยมาแค่ไหน ระบายยังไง  ต้องมีแผนป้องกันเรื่องนี้ให้ดีด้วยนะครับ 


ผมเคยเขียนเรื่องศัพท์ stampede นี้ไปแล้วหนหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน ในข่าวเหตุการณ์ทำนองนี้ในระหว่างพิธีฮัจย์ ที่ประเทศซาอุดิอารเบีย  เข้าไปอ่านตามลิงก์ด้านล่างครับ


โศกนาฎกรรมในซาอุฯ
http://feelthai.blogspot.com/2010/06/blog-post_1885.html



คราวนี้เรามาดูข่าวคนแตกตื่น จนเหยียบกันตายที่เขมรกัน ยกมาส่วนนึงจากข่าวซีเอ็นเอ็น 


A stampede that occurred during a festival near Cambodia's royal palace in Phnom Penh has killed 339 people. 


เหตุเหยียบกันตายที่เกิดขึ้นระหว่างงานเทศกาลใกล้กับวังหลวงกัมพูชาในพนมเปญได้คร่าชีวิตคนไปกว่า 339 ราย 


ศัพท์อังกฤษที่เกี่ยวข้อง
  • stampede  สแตมพีด  ถ้าใช้กับฝูงชน  หรือคน  แปลว่า ฝูงชนแตกตื่น ตกใจ แย่งชิงอะไร  และถ้ารุนแรงมากก็จะถึงขั้นเหยียบกันตาย เลยครับ  โดยมากที่เป็นข่าวเขาจะใช้กับเหตุร้ายที่มีการเหยียบกันตาย
  • occur อ่อกเค่อ  คือเกิดขึ้น สังเกตนิดนึงว่าในข่าวนี้พอเติม  -ed เข้าไป เขาเบิ้ล ตัว r  เข้าไปอีกตัว
เป็น  occurred   และคำนี้ถ้าเติม -ing  ก็ต้องเบิ้ลตัวอาร์เหมือนกันเป็น  occurring  ถ้าตำราเล่มอื่นเขาจะอธิบายว่าเป็นหลักแกรมมาร์แต่ผมว่า เพราะถ้าไม่เติม เสียงมันจะอ่านไม่ได้เหมือนเดิม ออกเสียงไม่ได้ เลยเป็นเหตุจำเป็นที่ต้องมีเติม   ส่วนแกรมมาร์ หรือแกรมมั่ว พวกบ้ากฏเกณฑ์มาสรุปเอาทีหลัง
  • during   ดูหริ่ง   แปลว่า  ระหว่าง ในระหว่าง  
  • festival  เฟ่ซติหว่าว  หมายถึง เทศกาล งานเทศกาล ประเพณี 
  • royal palace    รอยั่ล แพ้เล่ส หมายถึง  วังหลวง หรือพระราชวัง ครับ 
ยังไงก็ระวังเหตุแตกตื่นแบบนี้ด้วยนะครับ

 รวมลิงก์หนังสือมารพิณ

มีอะไรก็คอมเมนท์มาได้ นะครับ.... ใครมีความรู้เพิ่มเติมก็มาแชร์กัน ผมไม่ได้เก่งอะไรมากมาย ยังไงฝากบอกแนะนำลิงก์ของบล็อก feelthai.blogspot.com ต่อเพื่อนๆ ด้วย แต่ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามภาษาอังกฤา หรือแก้ปัญหาการบ้านภาษาอังกฤษนะครับ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ
 (English for learners - blog)