วันศุกร์, พฤษภาคม 20, 2554

Pirates of the Caribbean: On Stranger Tides -ผจญภัยล่าสายน้ำอมฤตสุดขอบโลก


โดย มารพิณ 
 www.facebook.com/marnpinbook 


หนังดีที่เอาไว้ฝึกอังกฤษก็เข้าโรงสุดสัปดาห์นี้อีกเรื่องครับ   จะเป็นอะไรไม่ได้นอกจากหนังโจรสลัด
ภาคสี่  ที่กำกับภาพยนตร์โดย  ร็อบ มาร์แชล   และดารานักแสดงชั้นนำมากมาย ที่ขนกันมาเป็นโหล อย่าง  จอห์นนี่ เดปป์, เพเนโลเป้ ครูซ, เอียน แมคเชน, เควิน อาร์. แม็คแนลลี่, แอสทริด แบร์เจ ฟริสเบ, แซม คลาฟลิน, เจฟฟรีย์ รัช  ฯลฯ

มาดูชื่อหนังตอนนี้ครับ
Pirates of the Caribbean: On Stranger Tides
ผจญภัยล่าสายน้ำอมฤตสุดขอบโลก

คำว่า On Stranger Tides  เป็นชื่อนิยายแฟนตาซีอิงประวัติศาสตร์ขายดีของ Tim Powers  คำว่า tide    ท้ายด์ เฉยๆ  หมายถึง  กระแสน้ำ  หรือ น้ำขึ้นน้ำลง     ส่วน Stranger Tides  เป็นอะไรนั้น ผมไม่ทราบได้ ใครรู้ช่วยแชร์บอกหน่อยครับ

  • Pirate     ไพ๊เหร่ท   ก็คือ   สลัด โจรสลัด   ที่ปล้นชิงเรือ  ค้าของเถื่อน อะไรสารพัด  ในประวัติศาสตร์ความเป็นจริง โจรสลัดหรือ  Pirate    มันไม่ได้โรแมนติคอะไรขนาดนั้น ส่วนการกระทำอันเป็นโจรสลัด  นั้น  ทางภาษาฝรั่งเขาเรียกว่า  piracy   ไพ๊เหร่ สี่    ตอนหลังมีการขยายศัพท์ตัวนี้ให้รวมถึงพวกสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย เช่น ซอฟต์แวร์   กระเป๋ากุดจี่   เสื้อผ้ายี่ห้อแบรนด์เนม ฯลฯ  


ปัจจุบัน สลัดแบบเดิมๆ   ก็ยังมีครับ แถวโซมาเลีย (Somalia) ในมหาสมุทรอินเดีย  ที่คอยจี้เรือสินค้าไปเรียกค่าไถ่  จนต้องมีกองกำลังนานาชาติคอยปราบปรามและไทยก็ได้ส่งเรือรบไปช่วยหลายลำ ตั้งเป็น หมู่เรือปราบปรามโจรสลัดกองทัพเรือ ประกอบด้วย เรือหลวงปัตตานี (น.อ.สาทิพ จิตนาวา เป็นผู้บังคับการเรือ) และ เรือหลวงสิมิลัน(น.อ.พูลลาภ ทัตทองคำ เป็นผู้บังคับการ)

ฝอยมากไปแล้ว  มาดูคลิปวิดีโอของ  ฺBlackbeard   หรือ ไอ้เคราดำ  ที่โผล่ออกมาจากท้ายเรือ  ดูตอนที่เวลา  1.12    จะพูดคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า  mutiny    โดยถามจาก   first mate   เดี๋ยวผมจะอธิบายว่าสองคำนี้มีความหมายว่าอะไร

แต่ถ้าฟังคำพูดของเคราดำไม่รู้เรื่องทั้งหมด ก็ไม่เป็นไรครับเพราะว่า เขาใช้ภาษาแบบเก่าโบราณ และเวลาเก๊กเสียงพูดมันก็อาจฟังยากนิดนึง ดังนั้นให้ได้ ให้รู้ศัพท์แค่สองตัวนี้ก็พอ เราประสบความสำเร็จแล้วครับ




มาดูศัพท์อังกฤษจากคลิปเด็ดนี้กัน

  • mutiny    มิ๊วถิ หนี่   แปลว่า แข็งข้อ เป็นกบฏ   ทำการทุรยศ  มักใช้กับการแข็งข้อต่อกัปตัน สมัยก่อนเวลาเขาหาลูกเรือมาเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล  เขาก็เอานักโทษมาบ้าง หลอกมาบ้าง  ไปเอาคนเมาตามท่าเรือจับใส่เรือบ้าง ตื่นมาสร่างเมามา อ้าวอยู่บนเรือแล้ว   แบบนี้จริงๆ ไม่ได้โม้ เพราะสมัยก่อนในยุคเรือใบพึ่งสายลม ง้อสายน้ำ  คนดีๆ  เขาไม่ค่อยไปกับเรือกันเพราะอัตราการตายโหงสูงระดับ maximum  ไม่มีลิมิต เสียชีวิตเกินร้อย เพราะทั้งพายุ ทั้งเรือจม  ทั้งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ   โจรสลัด  ฯลฯ


ส่วนโทษกบฏมีทั้งเฆี่ยน ขัง แขวนคอ และถ่วงน้ำ ถีบลงทะเล  แล้วแต่จะเลือกใช้กัน

คลิปนี้ฮาตรงที่พระเอกของเรา ที่ถูกเชือกมัดห้อยหัวตอนท้าย อุตส่าห์ทำเป็นยียวนบอกว่า "กัปตัน...ผมอยากจะแจ้งว่ามีการแข็งข้อเกิดขึ้น... Captain ..I wish to report a mutiny! )

first mate   ก็แปลว่า ต้นเรือ  ต้นหน ต้นหนที่หนึ่ง เป็นเหมือน ผู้ช่วยกัปตัน  อะไรแบบนั้น

เห็นศัพท์ first mate  ก็เลยไปค้นเน็ตต่อ รวบรวมเอาไว้ตรงนี้เผื่อใครมีเหตุต้องตามหา่คำแปลเฉพาะทางพวกนี้ เอามาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนี้โดยตรงของไทย    นั่นก็คือ  ข้อบังคับกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ทำการในเรือ พ.ศ. 2532  อ้างอิงจาก  เว็บของกรมเจ้าท่า (Marine Department)   http://www.md.go.th/law/kr32_control01.php

หมวดที่ 1 ฝ่ายเดินเรือ  ส่วนที่ 1   การแบ่งชั้นความรู้    ข้อ 5 ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทำการในเรือ ฝ่ายเดินเรือให้มีลำดับชั้นของประกาศนียบัตร จากชั้นสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้
                         
(1) ประกาศนียบัตรชั้น 1 (นายเรือ)  CLASS 1 (MASTER MARINER)
 (2) ประกาศนียบัตรชั้น 2 (ต้นหนที่หนึ่ง)  CLASS 2 (FIRST MATE)
  (3) ประกาศนียบัตรชั้น 3 (ต้นหนที่สอง)  CLASS 3 (SECOND MATE)
 (4) ประกาศนียบัตรชั้น 4 (ต้นหนที่สาม)CLASS 4 (THIRD MATE)
 (5) ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือประมง  (SKIPPER OF FISHING VESSEL)
  (6) ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือเดินในประเทศ SKIPPER OF LOCAL TRADE VESSEL)
(7) ประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลลำน้ำ (SKIPPER OF POWER DRIVEN RIVER VESSEL)
(8) ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชายแดน  (HELMSMAN OF POWER DRIVEN SEA – GOING  NEIGHBOUR  AREA VESSEL)
  (9) ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นหนึ่ง (FIRST CLASS HELMSMAN OF POWER DRIVEN SEA – GOING  VESSEL)
   (10) ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือกลเดินทะเลชั้นสอง(SECOND CLASS HELMSMAN OF POWER DRIVEN  SEA – GOING VESSEL)
   (13) ประกาศนียบัตรผู้ควบคุมเรือที่มิใช่เรือกล (HELMSMAN OF NON – SELF – PROPELLED VESSEL)

แถมท้ายด้วยศัพท์เดินเรือ อีกสามสี่คำ 
  • “ต้นกลเรือ” หมายถึง นายช่างกลเรือตำแหน่งสูงสุดในเรือ ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับเครื่องกลขับเคลื่อนเรือ และเครื่องจักรกลทุกชนิดในเรือ 
  • “รองต้นกล” หมายถึง นายช่างกลเรือที่มีตำแหน่งรองถัดไปจากต้นกลเรือ
  •  “นายช่างกลเรือ” หมายถึง เจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างกลเรือ ที่มีคุณวุฒิมีประกาศนียบัตรกรมเจ้าท่า ชั้นไม่ต่ำกว่า ชั้นคนใช้เครื่องจักรยนต์ชั้นหนึ่งพิเศษ
  • “นายยามเรือเดิน” หมายถึง หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเดินเรือหรือฝ่ายช่างกลเรือ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่และรับผิดชอบในยามผลัดนั้น 
  •  “พรรคนาวิน” หมายถึง เหล่านายทหารเรือที่มีหน้าที่ส่วนใหญ่ในการควบคุม และปฏิบัติการต่าง ๆ ในฝ่ายเดินเรือ
  •  “พรรคกลิน” หมายถึง เหล่าทหารเรือที่มีหน้าที่ส่วนใหญ่ในการควบคุมและปฏิบัติการต่าง ๆ ในฝ่ายช่างกลเรือ
 ลิงก์หนังสือมารพิณ
 +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามภาษาอังกฤา หรือแก้ปัญหาการบ้านภาษาอังกฤษนะครับ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ (English for learners - blog)