โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค
มีข้อคิดเรื่องเวลาไปแลกเงินเพื่อเดินทางมาฝากกันครับ เผื่อประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสมของทริปแต่ละคน แต่ละประเทศที่เดินทางไป
แลกเงิน
ไปถึงต่างแดน
ยังไงก็ต้องแลกเงินครับ
โดยมากเราก็ต้องแลกเงินดอลลาร์ไปก่อนจากเมืองไทย
(เว้นแต่ว่า
เราไปเที่ยวยุโรปในประเทศที่ใช้เงินยูโร
หรือไปจีนที่ใช้หยวน
หรือประเทศอื่นๆ ที่ใช้เงินของเขาเอง)
+อย่าแลกเงินกับนายหน้าที่เดินเข้ามาหาเรา
ไม่ว่าพวกนี้จะให้เรตดีแค่ไหน
เช่น ถ้าไปฮานอย
นายหน้าพวกนี้จะเดินเพ่นพ่านอยุ่แถวหน้าไปรษณีย์
กลางริมทะเลสาบ เงินที่ได้มามักจะไม่ครบ
โดยจะได้เศษเงินย่อยมาเยอะ
กว่าเราจะนับจนรู้ว่าได้ครบหรือไม่ครบ
ไอ้นายหน้าตัวดีนี่ก็หายแว๊บไปซะแล้ว
+เราต้องแลกเงิน
เพราะเกือบทุกกรณีเราจ่ายเป็นเงินท้องถิ่นโดยมากจะถูกกว่าเอาเงินประเทศอื่นจ่าย
บางประเทศเราอาจใช้เงินไทยจ่ายได้เช่น
ลาว หรือเวียดนามบางเมือง
แต่ทราบมั้ยครับว่า
คุณจ่ายแพงกว่าปกติไปแล้ว
คนขายเขาอาจได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
และเราขาดทุนไปนิดหน่อยโดยไม่รู้ตัว
+ระวังแบงก์ปลอม
หรือบางทีไม่ปลอม
คือเป็นแบงก์ของประเทศนั้นจริงๆ
แต่เลิกใช้ไปแล้ว
จะยัดใส้เข้ามาในปึกเงินที่เราได้จากจากการแลก
เวลานับต้องดูให้ดี
+ในย่านเกสต์เฮาส์ทั่วโลกจะมีร้านแลกเงินตั้งอยู่
ร้านที่ดีควรมีเรตเงินโชว์ให้เห็นชัดๆ
ว่าให้อัตราเท่าไหร่
ไม่ใช่รอให้เราไปถาม
เดินดูเรตเงินหลายๆ ร้านครับ
บางร้านอาจจะได้ราคาดีกว่านิดหน่อย
ในบางประเทศเช่นเวียดนาม
ร้านทองก็รับแลกเงินเหมือนกัน
+บางประเทศจะหาที่แลกเงินยากมาก
เช่น เมืองจีน
ก่อนไปถึงควรหาแลกเงินหยวนไปให้พอ
ม่ายงั้นเอางี้ดีกว่า
หาแทบตายก็หาไม่เจอ
ส่วนประเทศอื่น อาจเจออะไรแปลกๆ
เช่น บรูไน ที่เราไปซื้อของ
แล้วคนขายบางทีทอนเงินมาเป็นเหรียญสิงคโปร์
ที่เป็นแบบนี้เพราะบรูไนล็อคค่าเงินตัวเองไว้กับเงินดอลลาร์สิงคโปร์
จะทอนอะไรมาก็เหมือนกันนั่นแหละ
+แลกเงินที่เคานเตอร์ธนาคารสนามบิน
มักจะได้เรตที่ไม่ดี
แต่ในทางกลับกันก็เป็นแหล่งที่มีปัญหาเรื่องเงินปลอมน้อยที่สุดเหมือนกัน
ถ้าเราไปถึงประเทศนั้นแล้วยังไม่มีเงินสกุลท้องถิ่น
ให้แลกมาพอประมาณจ่ายค่าแท็กซี่หรือค่ารถอย่างอื่น
รวมทั้งค่าที่พักคืนแรกก่อน
เพราะบางทีเราไปถึงย่านเกสต์เฮาส์
แต่พวกร้านแลกเงินปิดหมดแล้ว
คราวนี้จะหาที่แลกเพื่อเอามาใช้จ่ายก็หาลำบากและมักจะได้เรตไม่ดี
+เวลาแลกเงิน
อย่าลืมขอแบงค์ย่อยไว้ด้วยนะครับ
เพราะการถือแต่แบงค์ใหญ่จะทำให้ใช้ค่อนข้างยาก
เช่น เวลาขึ้นรถหรือกินข้าวข้างทาง ถ้าเราแลกเงินดอลล์ไปจากเมืองไทย
เพื่อไปประเทศ อย่างเวียดนาม
ลาว พยายามขอแบงก์ดอล์ย่อยด้วยนะครับ
เวลาใช้จ่ายจะได้คล่องตัวหน่อย
+เคานเตอร์โรงแรมหรือเกสต์เฮาส์ที่เราไปพัก
มักจะแลกเงินได้
แต่เรตที่ให้จะไม่ดีเท่าร้านแลกเงิน
+ในการแลกเงินทุกครั้งเราจะขาดทุนส่วนต่างเล็กน้อยทุกครั้งเช่นกัน
ดังนั้น หาข้อมูลก่อนว่าประเทศนั้นใช้เงินอะไร
หรือว่าใช้หลายสกุล เช่น
ถ้าไปอิตาลีที่ใช้เงินยูโร
เราก็อย่าแลกเงินดอลลาร์ไป
เพราะไปถึงเราก็ต้องแลกเป็นยูโรอีก
เท่ากับว่าขาดทุนส่วนต่างหลายครั้ง
+นับเงินเสมอ ไม่ว่าจะที่ไหน
หรือมีคนต่อคิวเรายาวแค่ไหน
ตรวจนับเงินที่ได้มาต่อหน้าคนที่เราแลกด้วย
ถ้าไม่ครบจะได้โวยทันที
แต่ถ้าเราเดินออกไป
แล้วจะทวงเงินที่ขาดได้ยากเพราะทางร้านแลกเงินก็ต้องระวังคนเล่นตุกติกกับมันด้วยเหมือนกัน
+แบงก์ใหญ่จะได้เรตที่ดีกว่าแบงก์ย่อย
ใบละ 50 หรือ 100
ดอลล์ จะได้เรตดีกว่า
ใบละ 1 ดอลล์หรือ
5-10 ดอลล์
+เงินบาทจะแลกได้เฉพาะตามสนามบินเมืองใหญ่ๆ
ที่มีเครื่องบินจากกรุงเทพฯไปลง
แต่ถ้าไปไกลกว่านั้นเช่นเข้าเมืองไปอาจหาที่แลกบาทไม่ได้
+บางทีก็อย่าคิดมากเรื่องแลกเงิน
ถ้าเราไม่ได้แลกเป็นแสนเป็นล้าน
ไอ้เรตเงินที่มันต่างกันนิดหน่อยก็ไม่ได้ทำให้เรารวยขึ้นหรือจนลงมากนัก
ซีเรียสมากจะปวดหัวเปล่าๆ
ขอบอก
หรือบางคนพอไปเมืองนอกก็คิดทุกอย่างที่ซื้อกลับเป็นเงินไทย
ไม่ต้องขนาดนั้นก็ได้ครับ
ในบางประเทศอย่างอังกฤษ
ที่ใช้เงินปอนด์มหาโหด
พอคิดออกมาเป็นเงินไทยแล้วอาจจะช็อคกับค่าอาหารที่เพิ่งทานไป
หุหุ
รวมลิงก์หนังสือมารพิณ
ภาษาอังกฤษร้ายสาระ
Snake Fish Fish อังกฤษเที่ยวนอก
คู่มือสนทนาภาษาจีนฉบับ จิ้มชี้เที่ยว
รวมหนังสือที่เขียน(ท่องเที่ยว+ภาษา)
ภาษาอังกฤษร้ายสาระ
Snake Fish Fish อังกฤษเที่ยวนอก
คู่มือสนทนาภาษาจีนฉบับ จิ้มชี้เที่ยว
รวมหนังสือที่เขียน(ท่องเที่ยว+ภาษา)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]
ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
© สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ