วันพุธ, ตุลาคม 31, 2555

ตารางรถทัวร์บขส.จากหมอชิต กรุงเทพ-อำเภอเชียงคำ


โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค

ข้อมูลการเดินทางจากสถานีขนส่งหมอชิต กรุงเทพไปที่อำเภอเชียงคำ  Bangkok -ChiangKham Bus (อยู่จังหวัดพะเยา  นะครับ แต่บางคนเข้าใจผิดว่าอยู่เชียงรายครับ  เพราะอยู่ทางไปที่หลายอำเภอในจ.หวัดเชียงราย)  ระยะทางจากกรุงเทพไปเชียงคำก็อยู่ที่ระยะทาง 776  กิโลเมตร ใช้เวลาการเดินทางด้วยรถทัวร์ราว 11-12 ชั่วโมงบนท้องถนนครับ นานเหมือนกัน

ตารางรถกรุงเทพ-เชียงคำ ทัวร์ บขส.

แผนที่ทางไปอำเภอเชียงคำ
แผนที่ Google map สมมติว่าถ้าเราขับรถมาจากตัวเมืองพะเยาตรงแยกก่อนถึงกว๊านพะเยา ทางที่ไปภูชีฟ้า วิ่งไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1021  ผ่านอำเภอจุน ไปเรื่อยๆ จะถึงอำเภอเชียงคำครับ  ถ้าเลยต่อไปทางเหนือก็ไปอำเภอภูซาง ขึ้นเทิง  วิ่งตามถนนเส้น 1020  แล้วเลียบชายแดนไทย-ลาว ขึ้นไปต่อที่อำเภอเชียงของได้ครับ 

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น





+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

ตารางเดินรถทัวร์จากกรุงเทพไปเชียงของ ไปป่าแดด สายบขส.


โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค

เชียงของกำลังจะคึกคักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  จากการค้าขายชายแดนที่จะขยายตัวต่อเนื่องหลังสะพานมิตรภาพข้ามโขงเสร็จลุล่วงในปีสองปีนี้

ตรงนี้เป็นข้อมูลสรุปตารางเวลารถทัวร์จากกรุงเทพไปเชียงของครับ มีหลายแบบหลายราคา และหลายรอบให้เลือกของบริษัทขนส่งจำกัด หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อย่อว่า บขส. ระยะทางที่วิ่งจากกรุงเทพไปถึงอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กินระยะทางทั้งสิ้น 875 กิโลเมตร  ใช้เวลาเดินทาง 13 ถึง 13 ชั่วโมงครึ่งโดยประมาณ

 แต่จะมีบางสายที่ใช้เส้นทางผ่านอำเภอป่าแดด คือเป็นรถสาย กรุงเทพ-ป่าแดด-เชียงของ นะครับดูให้ดีในตารางรอบรถสำหรับใครที่จะผ่านทางไปป่าแดดด้วยรถทัวร์บขส.
รถหมอชิต-เชียงของ ตารางเวลารถทัวร์โดยละเอียด
แผนที่เส้นทางผ่านอำเภอป่าแดด ไปเชียงของ
ในตารางรถด้านบนจะมีเส้นทางของบขส. ที่ระบุว่าไปอำเภอป่าแดดด้วย  ดูแผนที่ด้านล่างครับจะเห็นอำเภอป่าแดดอยู่ทางด้านล่าง และอำเภอเชียงของอยู่ทางด้านบนของตัวแผนที่กูเกิ้ล ศึกษาข้อมูลไว้เป็นลายแทงการเดินทางไปจังหวัดเชียงรายครับ 


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

แผนที่เส้นทางระหว่างเชียงแสนไปเชียงของ
เชียงแสนและเชียงเป็นสองอำเภอสำคัญของจังหวัดเชียงรายบนเส้นทางติดต่อกับลาวเหนือและจีนทางโลจิสติกส์การเดินทาง  แต่อยากให้ดูนี่นิดนึงสองอำเภอนี้ถึงจะดูเส้นทางใกล้ๆ กัน แต่อยู่คนละหุบเขากันครับ ดังนั้นจะเดินทางลำบากพอควร   สีขาวที่เห็นคือแนวลำน้ำโขง หรือน้ำของที่กัน้พรหมแดนไทย ลาว พม่า  ส่วนเลข 3 ที่เห็นเป็นสีฟ้าในเขตลาวคือป้ายบอกเส้นทาง R3 ที่เป็นเส้นทางหลักเชื่อมไทยเข้าจีนยูนนานผ่านลาว ในแผนที่กูเกิ้ล

เลือกเอาครับต้องการซื้อตั๋วรถแบบไหน 
หน้าตาก็เลือกได้ตามนี้ 

รวมลิงก์หนังสือมารพิณ
ภาษาอังกฤษร้ายสาระ
Snake Fish Fish  อังกฤษเที่ยวนอก
คู่มือสนทนาภาษาจีนฉบับ จิ้มชี้เที่ยว
รวมหนังสือที่เขียน(ท่องเที่ยว+ภาษา)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

กำหนดจัดงานตีคลีไฟ ตำบลกุดตุ้ม ชัยภูมิ ประจำปี 2555

เล่นตีคลีไฟที่กุดตุ้ม (ภาพจากทททโคราช)

โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค

ที่จังหวัดชัยภูมิ จะมีงานประเพณีพื้นบ้าน งานนึงในช่วงเทศกาลหลังออกพรรษา  ที่เป็นการเล่นกีฬาโบราณแข่ง ที่เรียกว่า "ตีคลีไฟ"   ซึ่งเกิดจากในช่วงหน้าหนาว อากาศในพื้นที่ของจังหวัดชัยภูมิที่ บ้านหนองเขื่อง ตำบลกุดตุ้ม อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ  มีอากาศหนาวเย็น   จึงได้คิดค้นการเล่นลูกไฟ  เป็นลูกคลีทำจากไม้นุ่นหรือไม้จากต้นงิ้วที่แห้งแล้ว เอามาหั่นเป็นท่อนๆ    ราว  ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร ก่อนนำมาเผาไฟเพื่อตีแข่งกีฬากัน เพื่อช่วยคลายหนาว ของทุกปี  เล่นกันช่วงงานบุญออกพรรษาที่เริ่มเข้าหน้าหนาวของแดนที่ราบสูงอีสาน


งานเทศกาลออกพรรษา “ตีคลีไฟ” เมืองชัยภูมินี้ จะมีขึ้น ในระหว่างวันที่ ๓ – ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕  สถานที่จัดงานที่ บริเวณ วัดแจ้งสว่าง บ้านหนองเขื่อง ตำบลกุดตุ้ม อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

นอกจากนี้  ยังจะมีงานแข่งขันโคมไฟลอดบ่วงกีฬาพื้นบ้าน  กีฬาสากล   ส่วนพอถึงช่วงหัวค่ำ   จะมีงานเล่นแข่งขัน “ตีคลีไฟ”   เริ่มตั้งแต่ 5 โมงเย็นโดยทีมต่างๆ   ที่มาร่วมงานหลายประเภท

 งานตีึคลีไฟนี้จัดโดยทางจังหวัดชัยภูมิ สนับสนุนการประชาสัมพันธ์โดย ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานนครราชสีมา  ที่เป็นเจ้าของพื้นที่

สำหรับกิจกรรมภายในงานที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น ประกวดไม้คลีไฟ โดยไม้ตีใช้เง้าไม้ไผ่   ตรงปลายงอ ด้ามยาวประมาณ ๑ เมตร อาหารที่ทำจากปลาไหลอันโอชะ  การแสดงและจำหน่ายสินค้าที่มีชื่อเสียง   ของ OTOP ออกร้านขายของ  รวมถึงกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย งานแสดงตลอดการจัดงาน

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เบอร์โทรองค์การบริหารส่วนตำบลกุดตุ้ม
โทรศัพท์  ๐ ๔๔๘๘ ๕๐๕๙, ๐๘ ๑๓๘๙ ๓๒๘๓, ๐๘ ๘๓๗๗ ๙๘๖๖

เบอร์โทร ททท. สำนักงานนครราชสีมา
โทรศัพท์  ๐ ๔๔๒๑ ๓๐๓๐, ๐ ๔๔๒๑ ๓๖๖๖

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

รอบรถทัวร์จากกรุงเทพไปคลองลาน ไปแม่วงก์ จากบขสหมอชิต


โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค

ตารางเวลาเดินรถของค่ายรถบขส. ไปสองอำเภอที่อยู่นอกเส้นทางคมนาคมหลักพอสมควรคือ รถทัวร์หมายเลข 9 เส้นทางจากกรุงเทพ (สถานีหมอชิต) ไปคลองลาน ระยะทางถึงอำเภอคลองลาน 363 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมงวิ่ง  ส่วนอีกสายคือกรุงเทพไปแม่วงค์  ระยะทางใกล้เข้ามาหน่อยคือ 353 กิโลเมตรจากกทม. เวลาเดินทางก็ห้าชม. เหมือนกัน

ตารางรอบรถทัวร์ไปคลองลานและแม่วง์ ราคาเท่าไหร่ รอบสุดท้ายกี่โมงดูในตารางรอบรถด้านบนได้เลย 
ใครอยากทราบว่าอำเภอทั้งคู่นี้อยู่ที่ไหน มาดูที่แผนที่ที่ผมลิงค์มาจาก Google ด้านล่างนี้ครับ มองไปทางซ้ายของแผนที่นะครับ 

ทำเลที่ตั้งของอำเภอคลองลานและแม่วงก์
จากแผนที่ภูมิประเทศของกูเกิ้ลนี้ทั้งสองอำเภออยู่ที่สุดขอบด้านตะวันตกของที่ราบลุ่มภาคกลางครับ ปกติถ้าไม่ตั้งใจจะไปกันจริงๆ ก็ไม่ค่อยได้มีใครไปที่นี่หรอกครับ  เลยจากนี้ไปก็เป็นผืนป่าและขุนเขาไปจรดชายแดนที่ต่อกับสหภาพพม่า
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

วันอังคาร, ตุลาคม 30, 2555

ตารางรถทัวร์กรุงเทพไปอำเภอรัตนบุรี ศรีสะเกษ อุบล


โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค

คราวนี้เป็นเที่ยวรถทัวร์ที่ซับซ้อนหน่อย ถ้าคนไม่ชำนาญพื้นที่อาจดูว่าเที่ยวรถด้านล่างนี้บางสายอาจดูซ้ำกับรถอุบลหรือศรีสะเกษที่เคยพูดถึงกันไปแล้ว

แต่ถ้าดูรอบรถทัวร์ในตารางให้ดีๆ  จะมีความต่าง ตรงที่อำเภอที่อยู่ในเส้นทางก่อนถึงตัวจังหวัดหลักอย่างอุบล หรือศรีสะเกษ

อย่างรถสาย 942  จากกรุงเทพไปศรีสะเกษ จะผ่านจักราช   ส่วนสาย 944-1  จากกรุงเทพไปอุบลจะผ่านอำเภอรัตนบุรีที่เป็นอำเภอใหญ่ในด้านเหนือของจังหวัดสุรินทร์  

อีกสองสายคือ 944-2   และ 944   ก็จะเป็นรถทัวร์วิ่งตรงไปที่รัตนบุรีเลย  แต่สายหลังสุดจะเป็นรถตัดช่วงอำเภอสตึก ระยะทางจากกรุงเทพไปอำเภอรัตนบุรีจังหวัดสุรินทร์อยู่ที่ 491 กิโลเมตรครับ ส่วนค่าโดยสารและรอบรถก็ดูได้จ่างด้ารล่างว่าเที่ยวแรก เที่ยวสุดท้ายออกกันกี่โมง



ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
บน-ดูว่าตัดช่วงที่สตึกคือตรงไหน ก้ก่อจะถึงรัตนบุรีประมาณ 70-80 กิโลครับ

เบอร์โทรจอง หรือถามข้อมูลบขส.ก็ตามด้านล่างนี้เลยครับ



+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

ดูเที่ยวรถทัวร์ไปกำแพงแสน ไปกาญจน์ ไปด่านเจดีย์สามองค์


โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค

ข้อมูลการเดินทางในภาคกลางและภาคตะวันตกบ้างครับ วันนี้เป็นข้อมูลรอบรถการเดินทางของรถทัวร์ของบขส.หลายต่อหลายสายที่วิ่งไปยังพื้นที่แถบนั้น ได้แก่ รถสาย 966   จากกรุงเทพไปรร.การบินกำแพงแสน ระยะทาง 102  กิโลเมตร   รถทัวร์กรุงเทพ-กำแพงแสน  ระยะทาง 63 กิโลเมตร

นอกจากนี้ยังมีรถทัวร์สาย 9918  เส้นทางจากกรุงเทพไปด่านเจดีย์สามองค์ที่ชายแดนไทย-พม่า (เมียนมาร์) ระยะทางจากกรุงเทพถึงชายแดนด่านเจดีย์สามองค์ที่อำเภอสังขละบุรี รวมทั้งสิ้น  384 กิโลเมตร
และกรุงเทพไปกาญจนบุรี ระยะทาง 149 กิโลเมตร กับรถทัวร์สาย 9918   ที่ไปเมืองกาญจน์ใช้เวลา 3 ชั่วโมง
ตารางเดินรถไปกำแพงแสนอ่านให้ละเอียดนะครับ  มีรถไปไม่ครบทุกเที่ยวทุกวัน ต้องอ่านหมายเหตุกำกับด้านบน

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
บน-แผนที่แสดงตำแหน่งกำแพงแสน เมืองกาญจน์ฯ และสังขละบุรี


เบอร์ติดต่อทางบขส.



+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

งานไทยเที่ยวไทยเมืองทอง 1-4 พย. หนาวนี้ยังอีกเยอะ




โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค

ทิ้งท้ายไว้ที่งานท่องเที่ยวสุดท้ายของสิ้นปี 2555  นี้  และเป็นงานที่จัดที่เมืองทองธานี  จัดโดย บริษัท พี.เค.เอ็กซิบิชั่น แมนเนจเม้นท์ จำกัด   เจ้านี้เขาจัดงานท่องเที่ยวเก่าแก่ ปีละสามงาน สามครั้งในแต่ละปี และจะมาจบแต่ละปีที่เดือนพฤสจิกายนในงานท่องเที่ยวที่อิมแพคท์เมืองทอง

ถึงงานนี้จะชูธงว่าเที่ยวไทย แต่ถ้าดูจากโปสเตอร์และธีมงานที่ไฮไลท์ว่า  “หนาวนี้ยังมีอีกเยอะ”  ก็คงเน้นไปเที่ยวนอก เก็บตกแพคเกจทัวร์กันรอบสุดท้ายมากกว่า ต้อนรับฤดูเหมันต์ ทั้งในไทยและต่างแดน

งาน“ไทยเที่ยวไทย ครั้งที่ 26”  หน้าหนาว นี้จะมีขึ้นระหว่าง 1-4 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10.00-21.00 น. ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ฮอลล์ 3-4  พร้อมกิจกรรมการแสดงบนเวทีให้ชมตลอด 4 วันงาน มีโปรโมชั่นจากบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ และโปรของบัตรเครดิตในเครือธนาคารกรุงศรี ลดสูงสุดถึง 30%


นอกจากนี้ จะมีบูธผู้ประกอบการท่องเที่ยวกว่า 700 ราย มานำเสนอแพ็คเกจที่พักที่เที่ยวทุกประเภท หลากหลาย ลดราคาสะท้านรับหนาวทั่วไทยทั่วโลก
 สอบถามเพิ่มเติม Call 02.683.3065
หรือ www.pkexhibition.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

เที่ยวนอก- ประเทศไหนแพง –ประเทศไหนถูก


โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค


ประเทศไหนแพง –ประเทศไหนถูก

อย่างแรกที่ต้องดูคือค่าเงินของเขาแข็งกว่าเราหรือป่ะ ถ้าแข็งกว่าเงินบาท โอกาสแพงมีสูงมาก แต่นี่ก็ต้องขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างนะครับ เพราะแต่ละประเทศก็มีโซนถูกโซนแพงของเขาเอง ถ้าเราไปช่วงหน้าเทศกาล หรือหน้าไฮของการท่องเที่ยว ทุกอย่างก็แพงไปหมด แม้ในประเทศที่ไม่ค่อยแพงก็ตาม

ลองจัดดูคร่าวๆ นะครับ ขอย้ำว่าคร่าวๆ จริงๆ เพราะมันวัดยากจริงๆ  อยู่ที่สไตล์การเที่ยวการใช้ชีวิตของแต่ละคนด้วย

แพง : เช่น ญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ดูไบ แปซิฟิกใต้ ฮาวาย มัลดีฟ

กลางๆ : เช่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง จีนบางเมือง ไต้หวัน สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเก๊า มาเลเซีย บรูไน ตะวันออกกลาง

ถูก: เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม เนปาล อินเดีย จีนบางเมือง ปากีสถาน ศรีลังกา พม่า บังคลาเทศ ฟิลิบปินส์ อินโดนีเซีย

แต่เราต้องดูอย่างอื่นประกอบด้วยเช่น หลายประเทศที่ไม่มีระบบท่องเที่ยวมารองรับนักท่องเที่ยวแบ็คแพ็คเกอร์ ก็อาจจะแพงได้อย่างภูฐาน มองโกเลีย หรือประเทศส่วนใหญ่ในอัฟริกา หรือพวกระยะทางก็มีส่วนสำคัญ อย่างเช่น ในอเมริกาใต้ ค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายที่นั่นอาจไม่เท่าไหร่ แต่ค่าเครื่องบินจากเมืองไทยทั้งไปทั้งกลับนี่ล่ะครับไม่ใช่เล่นเลย

มัลดีฟนั้น ถ้าแค่บินไปถึงก็เสียตังค์ไม่เท่าไหร่ แต่ก็จะได้เห็นแต่แถวสนามบิน เพราะเกาะส่วนตัวงามๆ หาดสวยๆ นั้นต้องซื้อแพกเกจแพงๆ ไป

เนปาลนั้นถูกจริง แต่ค่าเครื่องบินไปกลับแพงใช้ได้ หรือถ้าเราคิดจะไปเทร็คกิ้งรอบใหญ่นานสามอาทิตย์ หรือล่องแก่งหลายวันก็ต้องวางงบตรงนี้ไว้ด้วยทั้งค่าทัวร์เทร็คกิ้ง ค่าลูกหาบ ค่าเช่าอุปกรณ์ หรือในกรณีเมืองจีนที่เคยถูก แต่เศรษฐกิจกำลังบูม เงินเฟ้อขยายตัว เราไปเที่ยวก็ใช่ว่าจะถูกเสมอไป

ในทางกลับกัน ฮ่องกงค่าครองชีพแพง แต่ตั๋วเครื่องบินไปมักจะไม่แพง หรือมีโปรโมชั่นดีๆ ออกมาอยู่เรื่อยๆ เพราะฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการบินใหญ่ของโลก

รวมทั้งต้องมองเงื่อนไขส่วนตัวด้วยเช่น โตเกียวถึงแม้จะแพงที่สุดในโลก แต่เรามีเพื่อนเรียนต่ออยู่ที่นั่น พอจะไปอาศัยพักได้ แบบนี้พอที่พักไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายก็ทุเลาลงมา  


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

ทริปBackpack - ทบทวนค่าใช้จ่ายหลังสามวันแรก


โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค


ทบทวนค่าใช้จ่ายหลังสามวันแรก

เราเดินทางไปถึงแล้ว ผ่านหลักไมล์สามวันแรก อยากให้ลองมานั่งทบทวนค่าใช้จ่ายกันนิดนึง ที่แนะว่าหลังสามวันก็เพราะว่าตอนนี้เรารู้แล้วล่ะว่า ประเทศนี้มันเป็นยังไง ค่าใช้จ่ายถูกหรือแพง เรียกว่าพอประเมินได้แล้ว ลองคิดดูว่าไอ้งบคร่าวๆ ที่กะกันมาจากเมืองไทยมันเวิร์กมั้ย ถ้าไม่เวิร์กก็ต้องรีบปรับครับ เช่น ขืนเป็นแบบนี้ต่อไปเงินไม่พอจ่ายแน่ๆ เราก็ต้องหาทางตัดทอนงบอื่นๆ ลงมา ตัดการเที่ยวบางเมืองออกไป

ในทางกลับกัน หรือว่า แผนเราเวิร์กมากไป เพราะค่าใช้จ่ายจริงกลับไม่แพงอย่างที่เราคิด เราก็อาจปรับใหม่ให้กินดีขึ้น นอนหรูขึ้น เพิ่มไวน์ซักขวดให้กับมื้อเย็น ชีวิตการเดินทางเราจะได้แฮบปี้มากขึ้น อิอิ

แชร์ค่าใช้จ่ายระหว่างเพื่อน
ถ้าเราไปเป็นกลุ่ม คนไทยเราชอบแบ็คแพ็คเป็นกลุ่ม จะสอง สี่ หรือหกคนก็ตาม เวลาต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าอะไรซักอย่าง เช่น จ่ายมื้อกลางวัน ออกค่าจองตั๋วรถไฟ จ่ายค่าแท็กซี่ ฯลฯ บางทีก็ให้คนใดคนหนึ่งควักออกไปก่อนเพราะว่ามี แบงก์ใหญ่ หรือ เพื่อนเราบางคนยังไม่ได้แลกเงิน

ในกรณีแบบนี้ ให้รีบเคลียร์กันตอนเย็น หรืออย่างช้าก็ภายในวันรุ่งขึ้น ไม่งั้นจะลืมกัน หรือไม่ก็จะเกิดปัญหาอีกแบบเช่น คนที่ไม่ค่อยได้ออกเงินแทนคนอื่น อาจเผลอคิดไปได้ว่าตัวเองงบยังเหลือเยอะอยู่ เพราะเปิดกระเป๋าตังค์ดูแล้วเงินก็ยังหนาอยู่ ทั้งที่จริงๆ แล้วไม่ใช่

เอาเงินไปให้พอสำหรับตัวเอง

อย่าคาดหวังว่าจะยืมเงินเพื่อนร่วมกรุ๊ปเดินทางถ้าเกิดไม่พอ ให้คิดเสมอว่า เราต้องดูแลจัดการค่าใช้จ่ายของเราเองให้พอ ทุกคนต้องดูแลตัวเองตลอดเวลา

เผื่องบเอาไว้ เสมอ

แนะนำว่าถ้าจะให้ดี น่าจะเผื่อค่าใช้จ่ายสักนิด ยังไงๆ เหลือไว้ก็ดีกว่าขาด เพราะระหว่างเดินทาง เหมือนรถน้ำมันหมดจะเดินทางต่อก็จะยุ่งยาก และบางครั้งการมีงบเผื่อจะช่วยให้เรามีตัวเลือกมากขึ้น เช่น ในเรื่องที่พัก หรือการเดินทาง เพราะราคาที่เราสำรวจเป็นข้อมูล อาจเป็นข้อมูลเก่าที่ไม่อัพเดทล่าสุดก็ได้  

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

เดินทางต่างประเทศ - โอนเงิน และTraveller’s Cheques คืออะไร


โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค

ผมเคยเขียนเรื่องข้อมูลการเดินทางเอาไว้ เลยเอามารวมลงตรงนี้เพื่อให้เป็นประโยชน์กับเพื่อนนักเดินทางมือใหม่ แต่บางส่วนอาจไม่ค่อยได้ใช้แล้วเช่นเรื่องเช็คเดินทาง ที่เป็นวิธีพกพาเงินในยุคก่อนออนไลน์


เช็คเดินทาง
เป็นวิธีคลาสสิก ใช้กันมานาน และเหมาะกับการเดินทางนานๆ หลายเดือน การใช้เช็คเดินทาง (Traveller’s Cheques) เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าการถือเงินจำนวนมากติดตัวตะลอนๆ เดินทาง แถมบางครั้งยังอาจได้อัตราแลกเปลี่ยนดีกว่าแลกเป็นเงินสดๆ ถือไปอีกด้วย เช็คดอลล่าร์และปอนด์ หรือยูโร เป็นสกุลเงินสากลที่ใช้ได้เป็นสากล 

แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว สกุล US ล่ะครับ มั่นใจได้เลยว่าใช้ได้แทบทุกส่วนของโลก เช่น กรณีเดินทางยาวๆ และยังไม่ต้องการซื้อตั๋วเครื่องบินขากลับ อาจถือเช็คเดินทางแทน

โอนเงินไปต่างประเทศ
ไม้ตายสุดท้าย ถ้าเกิดเงินเราหมดในต่างประเทศหรือมีเหตุฉุกเฉิน เช่นกระเป๋าตังค์หาย บัตรอะไรที่มีหายหมดฯลฯ ต้องการให้คนทางบ้านโอนเงินไปหาเราที่ต่างแดน ก็คือ “บริการโอนเงิน” ครับ หลักการคร่าวๆ ก็คือ คนที่จะโอนเงินให้เราในเมืองไทยก็จะไปที่สาขาของคนที่ให้บริการโอนเงิน เอาเงินให้เขาไป เขาก็จะให้โค้ดหรือรหัสมา จากนั้น คนที่อยู่เมืองไทยก็ โทรหรือส่งอีเมล์หรือส่ง SMS ก็แล้วแต่ครับ เอารหัสที่ว่านั้นมาให้เราที่อยู่เมืองนอก พอเราได้โค้ดมาก็เดินตรงไปที่สาขาผู้ให้บริการ แสดงโค้ด พร้อมหลักฐานประจำตัวรับเงินสดๆ มาได้เลย

ข้อดีของวิธีนี้ก็คือโอนถึงเงินปลายทางได้โดยไม่ต้องมีบัญชีเงินฝากอะไรทั้งสิ้น แต่ข้อเสียก็คือ ค่าธรรมเนียมจัดว่าไม่ถูกเลย แพงใช้ได้เลยล่ะ ควรใช้วิธีนี้ต่อเมื่อฉุกเฉินจริงๆ เท่านั้น

ตัวเลือกที่น่าสนใจในกรณีเมืองไทยคือ Western Union (http://www.westernunion.com) เพราะมีให้บริการหลายแห่งทั้งตามธนาคารต่างๆ  เช่น ธนาคารกรุงเทพ  แบงก์กรุงศรี  หรือแม้แต่ไปรษณีย์สาขาใหญ่ๆ (รายละเอียดการใช้งาน ค่าธรรมเนียม วิธีการต่างๆ ให้ถามผู้ให้บริการในไทยที่มีโลโก้หรือป้าย Western Union ติดไว้ครับ
  ส่วนผู้ให้บริการรายอื่นๆ เช่น 
MoneyGram เป็นต้น  ดูที่ลิงก์  https://www.moneygram.com/MGI/TH/TH/Market/Market.htm?CC=TH&LC=TH   เจ้านี้เขาดีลกับแบงก์ไทยพาณิชย์  CIMB  และทหารไทย แต่เจ้านี้สาขาในแถบเอเชียไม่มากเท่าเวสเทิร์นยูเนียน 


ประกันสุขภาพ -อุบัติเหตุ

ถ้าเราป่วยหนัก หรือเกิดอุบัติเหตุในต่างแดนจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดฝันและเยอะเอาเรื่อง ดังนั้นสำหรับการเดินทางในต่างประเทศเป็นระยะเวลานานๆ โอกาสไม่สบายก็ใช่ว่าจะไม่มีเลย เราอาจลองซื้อประกันสำหรับการเดินทาง ที่มีความคุ้มครองต่างๆ แตกต่างกันไป เช่น ของ Bupa ที่เป็นบริษัทต่างประเทศเน้นประกันสุขภาพ ที่แนะเจ้านี้ก็เพราะมีสาขาและโรงพยาบาลทั่วโลกยอมรับมากที่สุด เบอร์เว็บ http://www.bupathailand.com เบอร์โทร 02-234 7755

ใครที่มีกรมธรรม์ ประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพอยู่แล้ว โทรไปถามคนที่ขายให้เราว่า ครอบคลุมถึงต่างประเทศด้วยหรือเปล่า ถ้าครอบคลุมถามต่อว่าใช้งานยังไง เคลมยังไง




+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

เดินทางต่างแดน - บัตร ATM บัตรเครดิต


โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค


เอาเงินไปด้วยวิธีไหนบ้าง

ตอบคำถามนี้ได้เราต้องดูก่อนว่าเราไปในประเทศไหน ทริประยะเวลานานเท่าไหร่

+ถ้าเดินทางไม่นานเช่นไม่เกินสองสัปดาห์ในประเทศที่ค่าใช้จ่ายไม่สูง แลกเงินสดไปส่วนใหญ่น่าจะโอเคนะครับ

+ถ้านานกว่านั้น หรือหลายๆ เดือน เงินสดเราพกไปก้อนใหญ่ติดตัวตลอดมันก็ไม่ดี ให้แลกเป็นเช็คเดินทางบางส่วน อีกส่วนเก็บไว้ในบัตรเอทีเอ็มที่กดเงินตามตู้ที่มีสัญลักษณ์ได้ทั่วโลก ซึ่งตามเมืองใหญ่ๆ ของทุกประเทศน่าจะพอหาได้ ถ้ามีบัตรเครดิตอาจวางแผนจ่ายบางส่วนด้วยบัตร



บัตรเอทีเอ็ม
บัตร ATM   หรือบัตรเดบิต ที่มีสัญลักษณ์วีซ่า (ใส่รูปโลโก้ VISA) สามารถใช้กดเงินที่ตู้เอทีเอ็มที่มีสัญลักษณ์วีซ่าได้ทั่วโลก (ถ้าบัตรเราเป็น Master ก็ใช้ได้ครับ ตู้ที่ใช้ได้จะมีโลโก้เป็นรูปมาสเตอร์ หรือคำว่า Cirrus) แต่จะมีค่าธรรมเนียมในการกดเงินในต่างประเทศ และเงินที่ได้รับจะเป็นเงินสกุลของประเทศนั้น โดยจะมีมูลค่าที่คิดตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้นๆ โดยค่าธรรมเนียมจะแยกต่างหาก

เราอาจเลือกเก็บเงินบางส่วนไว้ในนี้ จะได้ไม่ต้องพกเงินสดติดตัวมากเกินไป ยังไงก็ตาม ถามขอข้อมูลจากธนาคารเจ้าของบัญชีของเราด้วยครับ ว่ารายละเอียดพวกนี้เป็นยังไง วิธีนี้ก็เป็นวิธีที่ดีในการพกเงินไปต่างแดนครับ แต่จะมีปัญหาในประเทศที่มีเอทีเอ็มแบบนี้น้อย หรือมีแต่ระบบขัดข้อง หรือในพื้นที่ห่างไกล
ลองหาข้อมูลพวกนี้จากเว็บบอร์ดท่องเที่ยวก็ได้ครับ ลองถามๆ นักเดินทางคนอื่นดูว่า เมืองที่เราไปมีเอทีเอ็มแบบนี้หรือป่ะ

บัตรเครดิต
สำหรับคนที่มีบัตรเครดิต แนะนำว่าติดบัตรไปด้วย แต่เก็บให้ปลอดภัย ไม่ใช้ถ้าไม่จำเป็น พกบัตรเครดิตติดตัวไปด้วยเผื่อขาดเผื่อเหลือ แม้ว่าจะไม่สามารถใช้บัตรได้ทุกแห่ง

บัตรเครดิตที่ใช้ได้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ในโลก คือบัตรเครดิตที่มีสัญลักษณ์ (ใส่รูปโลโก้ VISA) หรือ (ใส่รูปโลโก้ MasterCard) อย่างที่บอกครับ เผื่อไว้กรณีฉุกเฉิน เช่น เกิดอุบัติเหตุหรือไม่สบาย เรียกว่าไม่ได้พกบัตรเครดิตไปเพื่อจ่ายแบบสะเปะสะปะ เดี๋ยวงบประมาณจะบานปลายไม่รู้ตัว

เรื่องหนึ่งที่ต้องไม่ลืมคือ ใบแจ้งหนี้ของบัตรเครดิตจะถูกส่งไปที่บ้านทุกเดือน อย่าลืมฝากเงินเผื่อไว้ที่บ้าน หรือคนสนิท เพื่อให้เอาเข้าเงินให้ด้วยระหว่างที่ไม่อยู่ จดบันทึกทุกครั้งที่มีการใช้บัตรเครดิตจะได้ไม่ใช้จ่ายเพลินจนลืมตัว และโวยได้ ถ้าเจอรายการที่เราไม่ได้ใช้ (ระวังประเทศมาเลเซียครับ ผมเจอมาแล้ว เพื่อนอีกหลายคนก็เจอ ถึงแม้จะใช้ในสถานที่ๆ ดูน่าเชื่อถือแค่ไหนก็ตามเถอะ)

เมื่อไหร่ที่ใช้ เดินไปดูที่เคาน์เตอร์เลย เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการรูดรายการอื่นๆ แล้วก็อย่าลืมตรวจดูตัวเลขรายการจ่ายว่าถูกต้องหรือเปล่าด้วยทุกครั้ง 



+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

ตารางเดินรถทัวร์บขส. จากกรุงเทพไปพิษณุโลก (พิดโลก) อุตรดิตถ์


โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค


พิษณุโลกเป็นจุดใหญ่ที่สำคัญบนเส้นทางคมนาคมของไทยเพราะเชื่อมโลจิสติกส์ภาคเหนือกับภาคกลางและภาคเหนือกับอีสาน ในอนาคตจะสานต่อกับจังหวัดตากเข้าเส้นทางไปออกพม่าอีก

มาดูการเดินทางด้วยรถทัวร์ของบขส. จากกรุงเทพไปพิษณุโลกครับ ในตารางเวลารถออกเข้าด้านล่างนี้ มีสาย 913  กรุงเทพ-พิดโลก ระยะทางจากกรุงเทพไปพิษณุโลกก็คือ 368 กิโลเมตร และ รถสาย 912  รถเส้นกรุงเทพ-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์  (ดูแผนที่ประกอบ) ที่ระยะทางประมาณ 384  กิโลเมตร  ทั้งสองเส้นรถทัวร์ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชัวโมง

ตารางรถทัวร์กรุงเทพไปพิดโลก อุตรดิตถ์
อันที่จริง เวลาเราเดินทางไปพิษณุโลกอาจไปด้วยรถจังหวัดอื่นได้ครับ เช่น รถที่ขึ้นเชียงรายก็มักผ่านพิษณุโลก ถ้าตั๋วรถไปพิษโลกหมด เราก็อาจซื้อรถไปเชียงราย หรือพะเยา หรือแพร่ แล้วลงที่พิษณุโลกได้
เรื่องนี้ต้องถามไถ่ไปยังแต่ละบริษัททัวร์อีกทีนึง

แผนที่พิษณุโลกไปอุตรดิตถ์และสุโขทัย
มาดูแผนที่กูเกิ้ลกันครับ  ตรงนี้ เราจะเห็นชัดๆ เลยว่า สองจังหวัดที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงกับพิษณุโลกก็คือ  สุโขทัยที่อยู่ทางซ้ายไปได้ด้วยถนนหมายเลข 12 ผ่านบ้านกร่าง อำเภอกงไกรลาศ  และที่อยู่เหนือขึ้นไปจากเมืองพระพิษณุโลกสองแคว ตามทางหลวงหมายเลข 11  ก็คือเมืองอุตรดิตถ์

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น



+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

ข้อคิดเรื่องเวลาแลกเงินไปเที่ยวต่างประเทศ


โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค

มีข้อคิดเรื่องเวลาไปแลกเงินเพื่อเดินทางมาฝากกันครับ เผื่อประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสมของทริปแต่ละคน แต่ละประเทศที่เดินทางไป

แลกเงิน

ไปถึงต่างแดน ยังไงก็ต้องแลกเงินครับ โดยมากเราก็ต้องแลกเงินดอลลาร์ไปก่อนจากเมืองไทย (เว้นแต่ว่า เราไปเที่ยวยุโรปในประเทศที่ใช้เงินยูโร หรือไปจีนที่ใช้หยวน หรือประเทศอื่นๆ ที่ใช้เงินของเขาเอง)

+อย่าแลกเงินกับนายหน้าที่เดินเข้ามาหาเรา ไม่ว่าพวกนี้จะให้เรตดีแค่ไหน เช่น ถ้าไปฮานอย นายหน้าพวกนี้จะเดินเพ่นพ่านอยุ่แถวหน้าไปรษณีย์ กลางริมทะเลสาบ เงินที่ได้มามักจะไม่ครบ โดยจะได้เศษเงินย่อยมาเยอะ กว่าเราจะนับจนรู้ว่าได้ครบหรือไม่ครบ ไอ้นายหน้าตัวดีนี่ก็หายแว๊บไปซะแล้ว

+เราต้องแลกเงิน เพราะเกือบทุกกรณีเราจ่ายเป็นเงินท้องถิ่นโดยมากจะถูกกว่าเอาเงินประเทศอื่นจ่าย บางประเทศเราอาจใช้เงินไทยจ่ายได้เช่น ลาว หรือเวียดนามบางเมือง แต่ทราบมั้ยครับว่า คุณจ่ายแพงกว่าปกติไปแล้ว คนขายเขาอาจได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และเราขาดทุนไปนิดหน่อยโดยไม่รู้ตัว

+ระวังแบงก์ปลอม หรือบางทีไม่ปลอม คือเป็นแบงก์ของประเทศนั้นจริงๆ แต่เลิกใช้ไปแล้ว จะยัดใส้เข้ามาในปึกเงินที่เราได้จากจากการแลก เวลานับต้องดูให้ดี

+ในย่านเกสต์เฮาส์ทั่วโลกจะมีร้านแลกเงินตั้งอยู่ ร้านที่ดีควรมีเรตเงินโชว์ให้เห็นชัดๆ ว่าให้อัตราเท่าไหร่ ไม่ใช่รอให้เราไปถาม เดินดูเรตเงินหลายๆ ร้านครับ บางร้านอาจจะได้ราคาดีกว่านิดหน่อย ในบางประเทศเช่นเวียดนาม ร้านทองก็รับแลกเงินเหมือนกัน

+บางประเทศจะหาที่แลกเงินยากมาก เช่น เมืองจีน ก่อนไปถึงควรหาแลกเงินหยวนไปให้พอ ม่ายงั้นเอางี้ดีกว่า หาแทบตายก็หาไม่เจอ ส่วนประเทศอื่น อาจเจออะไรแปลกๆ เช่น บรูไน ที่เราไปซื้อของ แล้วคนขายบางทีทอนเงินมาเป็นเหรียญสิงคโปร์ ที่เป็นแบบนี้เพราะบรูไนล็อคค่าเงินตัวเองไว้กับเงินดอลลาร์สิงคโปร์ จะทอนอะไรมาก็เหมือนกันนั่นแหละ

+แลกเงินที่เคานเตอร์ธนาคารสนามบิน มักจะได้เรตที่ไม่ดี แต่ในทางกลับกันก็เป็นแหล่งที่มีปัญหาเรื่องเงินปลอมน้อยที่สุดเหมือนกัน ถ้าเราไปถึงประเทศนั้นแล้วยังไม่มีเงินสกุลท้องถิ่น ให้แลกมาพอประมาณจ่ายค่าแท็กซี่หรือค่ารถอย่างอื่น รวมทั้งค่าที่พักคืนแรกก่อน เพราะบางทีเราไปถึงย่านเกสต์เฮาส์ แต่พวกร้านแลกเงินปิดหมดแล้ว คราวนี้จะหาที่แลกเพื่อเอามาใช้จ่ายก็หาลำบากและมักจะได้เรตไม่ดี

+เวลาแลกเงิน อย่าลืมขอแบงค์ย่อยไว้ด้วยนะครับ เพราะการถือแต่แบงค์ใหญ่จะทำให้ใช้ค่อนข้างยาก เช่น เวลาขึ้นรถหรือกินข้าวข้างทาง   ถ้าเราแลกเงินดอลล์ไปจากเมืองไทย เพื่อไปประเทศ อย่างเวียดนาม ลาว พยายามขอแบงก์ดอล์ย่อยด้วยนะครับ เวลาใช้จ่ายจะได้คล่องตัวหน่อย

+เคานเตอร์โรงแรมหรือเกสต์เฮาส์ที่เราไปพัก มักจะแลกเงินได้ แต่เรตที่ให้จะไม่ดีเท่าร้านแลกเงิน
+ในการแลกเงินทุกครั้งเราจะขาดทุนส่วนต่างเล็กน้อยทุกครั้งเช่นกัน ดังนั้น หาข้อมูลก่อนว่าประเทศนั้นใช้เงินอะไร หรือว่าใช้หลายสกุล เช่น ถ้าไปอิตาลีที่ใช้เงินยูโร เราก็อย่าแลกเงินดอลลาร์ไป เพราะไปถึงเราก็ต้องแลกเป็นยูโรอีก เท่ากับว่าขาดทุนส่วนต่างหลายครั้ง
+นับเงินเสมอ ไม่ว่าจะที่ไหน หรือมีคนต่อคิวเรายาวแค่ไหน ตรวจนับเงินที่ได้มาต่อหน้าคนที่เราแลกด้วย ถ้าไม่ครบจะได้โวยทันที แต่ถ้าเราเดินออกไป แล้วจะทวงเงินที่ขาดได้ยากเพราะทางร้านแลกเงินก็ต้องระวังคนเล่นตุกติกกับมันด้วยเหมือนกัน

+แบงก์ใหญ่จะได้เรตที่ดีกว่าแบงก์ย่อย ใบละ 50 หรือ 100 ดอลล์ จะได้เรตดีกว่า ใบละ 1 ดอลล์หรือ 5-10 ดอลล์

+เงินบาทจะแลกได้เฉพาะตามสนามบินเมืองใหญ่ๆ ที่มีเครื่องบินจากกรุงเทพฯไปลง แต่ถ้าไปไกลกว่านั้นเช่นเข้าเมืองไปอาจหาที่แลกบาทไม่ได้
+บางทีก็อย่าคิดมากเรื่องแลกเงิน ถ้าเราไม่ได้แลกเป็นแสนเป็นล้าน ไอ้เรตเงินที่มันต่างกันนิดหน่อยก็ไม่ได้ทำให้เรารวยขึ้นหรือจนลงมากนัก ซีเรียสมากจะปวดหัวเปล่าๆ ขอบอก หรือบางคนพอไปเมืองนอกก็คิดทุกอย่างที่ซื้อกลับเป็นเงินไทย ไม่ต้องขนาดนั้นก็ได้ครับ ในบางประเทศอย่างอังกฤษ ที่ใช้เงินปอนด์มหาโหด พอคิดออกมาเป็นเงินไทยแล้วอาจจะช็อคกับค่าอาหารที่เพิ่งทานไป หุหุ  


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

ตารางเดินรถทัวร์กรุงเทพไปนครพนม อำเภอธาตุพนม ไปท่าอุเทน


โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค

ตารางเดินรถตรงแถวจังหวัดนครพนมนี้จะซับซ้อนหน่อยครับ เพราะมีรถทัวร์ของบขส.มาหลายสายมาก และชื่ออำเภอกับชื่อจังหวัดอาจสร้างความสับสน

อย่างแรก จะต้องรู้ว่า "ตัวจังหวัดธาตุพนม" กับ "ตัวอำเภอธาตุพนม"  มันอยู่คนละที่กัน  โดยในตารางแรกนี้เป็นสาย 86  เส้นทาง จากกรุงเทพไปกุดชุม และไปอำเภอธาตุพนม  และอีกเส้นคือ กรุงเทพ-กุดชุม-ธาตุพนม-นาถ่อน

ขยายดูภาพใหญ่ได้นะครับ

ดูแผนที่ละแวกนครพนมด้านล่างก่อนเลย เดี๋ยวจะงงว่าพูดถึงรถที่ไปอำเภออะไร  จะเห็นว่าอำเภอ "ธาตุพนม" อยู่ด้านล่างห่างจากตัวจังหวัดนครพนมอยู่หลายสิบกิโล  ส่วน กุดชุมที่อยู่ในเส้นทางนั้น เป็นอำเภอกลางทางอยู่ที่จังหวัดยโสธร   ส่วน นาถ่อนเป็นตำบลที่อยู่ตรงกลางทางระหว่างนครพนมกับอำเภอธาตุพนม อยู่เลยทางแยกเข้าเรณูนครไปหน่อย


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น




ส่วนด้านบนนี้ก็เป็นตารางเดินรถที่เข้าตัวจังหวัดนครพนม สาย 26  วิ่ง กรุงเทพ-นครพนม  และ กรุงเทพ-ปลาบาก-นครพนม   กรุงเทพ-ท่าอุเทน-นครพนม   (ดูแผนที่กูเกิ้ลด้านบน อำเภอปลาปากจะอยู่ด้านล่างของตัวจังหวัดนครพนม  ส่วนท่าอุเทนจะเลยขึ้นไปทางเหนือ) 

ตามมาด้วยสาย 27-1   กรุงเทพ-เรณูนคร  (อำเภอเรณูจะอยู่ใกล้ธาตุพนม)  และสาย 27-2   กรุงเทพฯไปธาตุพนม 

ดูข้อมูลรถทัวร์บขส.ไปเรณูนคร และที่ตั้งสถานีเรณูนครอย่างละเอียดได้ที่ลิงก์ http://feelthai.blogspot.com/2012/08/government-bus-at-renunakhon-district.html  นี้ 

สงสัยหรือจะสอบถามเรื่องเส้นทางเดินรถไปนครพนมยังไงก็โทรติดต่อได้ตามเบอร์โทรด้านล่างนี้




+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

เทคนิคเดินทาง - แยกเก็บเงินไว้หลายแห่ง


โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค

แยกเงินเก็บไว้หลายแห่งช่วยกระจายความเสี่ยงเงินหาย  แยกกระเป่าตังค์ที่มีใบย่อยใช้บ่อย ซื้อของยิบย่อยหอยเห็บ  กับเงินใบใหญ่เอาไว้ต่างหาก ไม่งั้นยิ่งควักเข้าออกบ่อยๆ ทำหล่นหายหรือล่อตาล่อใจมิจฉาชีพได้ 


เก็บเงินแยกไว้หลายแห่ง

ไม่ว่าจะเดินทางไปไหน ให้แยกเงินสดไว้หลายๆ แห่งครับ อย่ารวมเอาไว้ในกระเป๋าตังใบเดียว ที่ผมใช้อยู่คือ

+เก็บเงินส่วนใหญ่และพาสปอร์ตไว้ใน Money Belt ที่คาดเอวตรงพุงมีเสื้อทับ  
+เงินที่ใช้ประจำวันอยู่ในกระเป๋าสตางค์ที่ใส่ไว้ในกางเกงด้านหน้าข้างขวา (ตบดูได้สะดวกครับว่ายังอยู่มั้ย)
+มีซัก 100 USD เก็บไว้ตรงไหนซักแห่งในเป้ใหญ่
+มี 20 USD เก็บไว้ในเป้เล็ก หรือเป้เดย์แพ็คที่พกติดตัวประจำ
+มี 100 USD อยู่ในเข็มขัดพิเศษของ Eagle Creek ที่ซ่อนเงินได้

จะแยกเก็บยังไงก็ตามถนัดครับ แล้วแต่สไตล์และความนิยมส่วนตัว มีข้อแม้อยู่ว่า จำให้ดีๆ ก็แล้วกันว่าซุกไว้ตรงไหน เป้าหมายตรงนี้ก็คือ ถ้าเงินส่วนใหญ่เราหาย ยังพอมีเงินอีกก้อนนึงให้เราตั้งหลักได้ เอาไว้โทรหาเมืองไทย ให้โอนเงินมา หรืออะไรต่อมิอะไร

อย่าไปคิดว่าเงินเราจะหายจากการขโมย หรือปล้นอะไรแบบนั้นเสมอไปครับ อันที่จริงเวลาเราเดินทางต่างประเทศโอกาสลืมข้าวของ หรือแม้แต่กระเป๋าตังมีสูงมาก เพราะเราไม่คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมรอบข้าง เช่น ลืมไว้ตอนอาบน้ำ หมกผ้าห่มไว้บนเตียง เช็คเอาท์ออกไปอีกเมืองนึงกว่าจะรู้ตัวก็ผ่านไปสองร้อยกิโลแล้ว ลืมไว้บนแท็กซี่ ฯลฯ

แยกเงินไว้หลายแห่ง จะทำให้เรามีโอกาสตั้งหลักได้เวลาเจอสถานการณ์แบบนี้ 



+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

เก็บเงินเที่ยวนอกไม่แพง-ไม่ยากอย่างที่คิด


โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค



เก็บเงินเที่ยวนอกไม่แพง-ไม่ยากอย่างที่คิด

อย่าลืมหักค่าใช้จ่ายที่เคยอยู่ที่เมืองไทย แล้วจะรู้ว่าเที่ยวนอกไม่แพง ตรงนี้อาจจะงงว่าผมกำลังพูดถึงเรื่องอะไรกันอยู่ สมมติเราได้งบเที่ยวนอกมาแล้ว เช่นไปเวียดนามวันละ 800 บาทต่อคน แต่อันที่จริงเราไม่ได้หาเงินเพิ่มอีก เต็ม 800 บาทเพื่อจะไปเที่ยว เราหาน้อยกว่านั้น......

เพราะเรามักจะลืมว่า ปกติแต่ละวันที่เราอยู่ในเมืองไทยเอง เราก็มีค่าใช้จ่ายประจำวันอยู่แล้ว เช่นค่ารถ ค่าเดินทาง ค่ากินสามมื้อ ค่าน้ำมัน บางคนถึงจะไม่ไปนอก แค่ลำพังใช้ชีวิตปกติอยู่เมืองไทยก็ปาเข้าไปวันละสามสี่ร้อยแล้ว

สำหรับใครก็ตามที่มีค่าใช้จ่ายประจำวัน 300 บาท ดังนั้นไอ้ที่ว่าไปเวียดนาม หรือประเทศอื่นที่เสียค่าใช้จ่ายราววันละ 800 นั้น จริงๆ คุณเสียเพิ่มแค่ 500 บาท เพราะถึงไม่ไปไหนอยู่บ้านเราก็ต้องเสียวันละสามร้อยบาทอยู่ดี

ดังนั้น ถ้าหักค่าใช้จ่ายที่เราอยู่เมืองไทยก็จะเห็นว่าเราเที่ยวนอกนั้นไม่ยาก สำหรับบางประเทศเก็บเงินเพิ่มอีกนิดหน่อยเท่านั้นก็ไปได้ คิดใหม่ ทำใหม่กันแบบนี้ครับจะเก็บเงินไปแบ็คแพ็คเที่ยวนอกได้

ใครที่เคยไปมาแล้ว จะมีอาการบางอย่างแบบว่าไม่ค่อยอยากเที่ยวเมืองไทยซะแล้วเพราะว่า อะไรทุกอย่างบ้านเรามันแพงมากขึ้นทุกที หรือกินข้าวร้านหรูๆ ในกรุงเทพฯจ่ายเงินไปสองพัน ก็อดแอบคิดไม่ได้ว่า สองพันนี่ เราอยู่ที่ซาปา เวียดนามหรือไปชิวชิวนอนดูวิวยอดเขามัจฉาปูเร อยู่ที่เมืองโภครา เนปาลได้สบายๆ หลายวันเลย

ไปดูหนังกินข้าวกะแฟนแต่ละทีก็หมดเงินเป็นพัน หรือไปเที่ยวรีสอร์ทกับแฟนแค่เมืองชายทะเลใกล้ๆ กรุงเทพฯ เนี่ยก็เจอค่าห้องคืนละ 1000-2000 บาท ค่ากินอยู่ ค่าน้ำมันรถ ซื้อของฝาก บวกอะไรเข้าไป แค่ไปสองวันเสาร์อาทิตย์หมดไปเป็นสี่ห้าพันแบบไม่รู้ตัว

ชีวิตปกติที่เป็นอยู่ในเมืองไทยมันแพงขึ้นทุกวัน ถ้าเราประหยัดตรงนั้นนิด ตรงนี้หน่อย ไม่ยากหรอกครับเดี๋ยวเดียวก็ไปเที่ยวนอกแถวเอเชียได้แล้ว

ก็คงจบเคล็ดลับเกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ เอาไว้แค่นี้ครับ


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

ตารางเดินรถทัวร์กรุงเทพ-อุบล ไปอำเภอเดชอุดม

ข้อมูลสำรองที่นั่งล่วงหน้ากับบขส.

โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค

มาที่ข้อมูลการเดินทางไปจังหวัดอุบลฯ หรืออุบลราชธานี กันครับ  ตามตารางเดินรถ และเวลาออกจากต้นทางปลายทางของรถสาย 98-2  กรุงเทพ-อุบลราชธานี  และมีรอบที่ตัดช่วงที่อำเภอเดชอุดมด้วยครับ  ระยะทางจากกรุงเทพไปอุบลฯตกราว 649 กิโลเมตร และใช้เวลาเดินทางอยู่ประมาณ 10 ชั่วโมงครับ

สำหรับราคาค่าโดยสารของรถบริษัทขนส่งที่ไปอุบลก็ต้องดูว่านั่งรถทัวร์แบบไหนไป ราคาก็มีตั้งแต่เกือบสี่ร้อยบาทไปจนถึงเจ็ดร้อยกว่าบาทครับ  ส่วนรอบที่เขียนว่าเป็นรถด่วนในตารางเวลาที่เห็นก็คือ รถที่ไม่หยุดแวะทานข้าวกลางทางตามปกติของรถทัวร์ทั่วไป  แต่จะแจกข้าวกล่อง หรืออะไรที่เทียบเคียงกันตั้งแต่ต้นทางเลย  ไม่จอดที่ไหนทั้งสิ้น

เส้นทางจากอุบลไปเดชอุดม
เห็นชื่อของ อำเภอเดชอุดม  หรือเรียกสั้นๆ ว่า "อำเภอเดช"  ข้างบน  มาดูกันว่าอยู่ที่ไหนของเมืองอุบล เป็นอำเภอใหญ่อยู่ทางใต้ของอุบล เป็นศูนย์กลางของหลายอำเภอด้านใต้ที่ติดชายแดนกัมพูชา เช่นอำเภอทุ่งศรีอุม น้ำยืน น้ำขุ่น นาจรวย บุญฑริก อำเภอพวกนี้ก็อยู่แวดล้อมอำเภอเดชฯ อยู่ทั้งหมด (ดูแผนที่)

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น




+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

วันจันทร์, ตุลาคม 29, 2555

กำหนดงานตักบาตรเที่ยงคืน เพ็ญพุธ วัดสระบ่อแก้ว เมืองแพร่

บรรยากาศงานตักบาตรเที่ยงคืน (ภาพโดย ททท.แพร่)

โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค

ที่วัดสระบ่อแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดแพร่  มีธรรมเนียมปฏิบัติพื้นถิ่นที่ไม่เหมือนใคร เพราะแทนที่จะตักบาตรพระกันตอนเช้าตรู่เหมือนจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศไทย  แต่ที่แพร่นี่จะมีการจัดงาน วันเป็งปุ๊ด หรือ วันเพ็ญพุธ  (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธ)  เรียกกันว่า ประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนใน  ซึ่งในปี 55 นี้จะมีกำหนดจัดในช่วงรอยต่อเที่ยงคืนวันอังคารที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕  ศกนี้


งานตักบาตรมิดไนท์นี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาคำเมืองว่า  “งานประเพณีฟื้นฮีตฮอยเป็งปุ๊ดไหว้สาอุปคุตเจ้า”  ซึ่งเป็นงานเก่างานแก่ที่เริ่มหาดูได้ยากในแถบล้านนา จนมาเมื่อ 4 ปีก่อนทาง วัดสระบ่อแก้ว
ได้ร่วมกับเทศบาลเมืองแพร่  และททท.เขตแพร่ และได้มาจับมือรื้อฟื้นประเพณีนี้


กำหนดเวลาตักบาตรเที่ยงคืน
งานเป็งปุ๊ดไหว้อุปคุตเจ้านี้มีกิจกรรมภายในงานจะเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๖.๓๐ น. มีการอัญเชิญพระอุปคุตประทับแท่นหน้าองค์ใหญ่ จุดประทีปบูชาพระอุปคุต การแสดงทางวัฒนธรรม การแสดงดนตรีสะล้อซอซึง การแสดงประวัติความเป็นมาของพระอุปคุตเจ้า พิธีสรงน้ำพระอุปคุต ถวายดอกไม้เครื่องสักการะ พิธีตักบาตรพระอุปคุตเจ้า  และพิธีตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร

และจะมีกำหนด ตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง ตั้งแต่คืนวันอังคารที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เวลา ๒๔.๐๐ น. เป็นต้นไป  และต่อเช้าวันพุธที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

สำหรับประเพณีตักบาตรเป็งปุ๊ด ว่ากันว่าจะได้อิทธิพลมาจากพม่า และชาวไทยลื้อ ที่เชื่อว่าพระอุปคุตซึ่งเป็นพระอรหันต์สาวกที่มีมหิทธิฤทธิ์ สามารถป้องกันแก้ไขปัญหาที่พญามารมารบกวนพิธีต่างๆ ได้ โดยจะขึ้นมาจากทะเลแปลงกายเป็นสามเณรน้อย ออกโปรดสัตว์ โปรดชาวเมืองก่อนเวลารุ่งอรุณ  หากบุคคลใดได้ทำบุญตักบาตรพระอุปคุตแล้วบุคคลนั้นถือว่าเป็นผู้มีบุญ จะทำให้บังเกิด สิริมงคลแก่ชีวิต เกิดความร่ำรวย ซึ่งจะทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง มีโชคลาภ แคล้วคลาดจากภัยต่างๆ


นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่
 เบอร์โทรวัดสระบ่อแก้ว  แพร่ 
โทร. ๐ ๕๔๕๑ ๑๒๘๑
เบอร์โทรททท.สำนักงานแพร่ 
โทรศัพท์ ๐ ๕๔๕๒ ๑๑๑๘, ๐ ๕๔๕๒ ๑๑๒๗



+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ

ตารางเดินรถจากกรุงเทพไปสกลนคร รถทัวร์บขส.


โดย มารพิณ
ไป เฟซบุ๊ค   www.facebook.com/marnpinbook
ไป หน้ารวมข้อมูลเที่ยวเอง-แบคแพค

รายละเอียดการเดินทางรอบรถจากหมอชิตกรุงเทพ ไปสกลนคร โดยรถ บขส (บริษัทขนส่ง) สาย 27-3  เส้นทางกรุงเทพ-สกลนครนี้ใช้ระยะเวลาการเดินทางทั้งสิ้นราว 9 ชั่วโมง และกินระยะทางทั้งสิ้น 633 กิโลเมตร

สำหรับค่าตั๋วรถโดยสารไปสกลนครก็มีตั้งแต่สามร้อยกว่าบาทไปจนถึงเจ็ดร้อยกว่าบาทขึ้นอยู่กับรุ่นและประเภทของรถที่ให้บริการดูรายละเอียดต่อเนื่องได้ที่ตารางเดินรถสกลนครด้านล่างนี้

สำหรับในช่วงปีที่ผ่านมา ทางสถานีขนส่งสกลนครได้เปิดแห่งใหม่ขึ้นมา และอยู่นอกเมือง ดังนั้นใครที่ไปสกลนครควรทราบด้วยครับว่าสถานีขนส่งมีแห่งใหม่แล้ว ไม่ได้อยู่กลางเมืองเหมือนแต่ก่อน

ที่ตั้งของจังหวัดสกลนคร
เมืองสกลนครเป็นเมืองฝาแฝดกับนครพนมครับ เชื่อมต่อเส้นทางกันด้วยทางหลวงหมายเลข 22 จากนครพนมมาอำเภอกุสุมาลย์   ผ่านท่าแร่ เชียงเครือ ฮางโฮง มาที่ตัวจังหวัดสกลนคร

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
เบอร์ติดต่อรถบขส 99



แบบรถต่างๆ  ของบริการบขส.
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ cx]

 ใครที่คิดว่าเรื่องราว ข้อมูลการเดินทางที่เขียนที่นี่โอเค น่าสนใจ ฝาก share บอกต่อเพื่อนๆด้วยครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามนะครับ เพราะเดินทางบ่อย คงมาตอบได้ไม่ทันใจ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ