วันจันทร์, มกราคม 31, 2554

ทำไหวมั้ย จัดการเรื่องนี้ได้มั้ย พูดภาษาอังกฤษอย่างไร




เป็นหัวหน้างาน จะมอบหมายภารกิจ ให้ลูกน้อง   ก่อนจะติดดาบอาญาสิทธิ์  ก็ต้องถามย้ำซักนิด ว่าไอ้คนที่เรามอบหมายงานสำคัญให้ช่วยดู ช่วยปฏิบัตินั้น รู้งาน รู้เรื่องมั้ยว่าจะทำได้  ไม่ใช่มาบ่นที่หลังว่า...มันทำเราได้!

เมื่อก่อนเป็นลูกไล่สำนักงานสิงคโปร์  ตอนนี้คนไทยเริ่มมีบทบาทเป็นออฟฟิศระดับภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติใหญ่ๆ  หลายแห่งแล้วครับ อนาคตยังมีโอกาสไปไกล (แต่เรื่อง 3G ที่ยังไม่มีเป็นเรื่องเป็นราว นี่ เพื่อนฝรั่งบ่นกันมามาก)  มาตอนนี้ ผู้จัดการคนไทยหลายคนก็ต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษของการเป็น "เจ้านาย" หรือ เป็น Boss   ออกเสียง หบ่อส เวลาพูดงานการกับลูกน้องที่เป็นชาวต่างชาติบ้าง


                    Can you handle it? 

ความหมายแปลเป็นการถามในภาษาอังกฤษว่า  จัดการได้มั้ย  รับมือได้มั้ย หรือ ทำไหวมั้ย  ความหมายหลักๆ  ก้ออะไรประมาณนี้  (บางกรณีอาจหมายความว่า  ยอมได้มั้ย ก็ได้)

หรือเกิดปัญหา เกิดสถานการณ์ปัญหา คับขัน สับสน ต้องใช้มือดีเข้าไปคลี่คลาย  หรือที่ต้องใช้ฝีมือในการบริหารจัดการ  ก่อนจะส่งคนลงไปทำ  เราอาจชวนลูกน้องแวะมาคุย แล้วถามตรงๆ  ว่า  Can you handle it? ยังไหว  หรือทำได้มั้ย   ไหวบ่   ชัวร์มั้ยว่าจะทำได้สำเร็จ  อะไรแบบนี้ เป็นต้น

ดูศัพท์อังกฤษกันก่อนจากลาครับ

  • Can    แหค่น  แปลว่า   สามารถ  ทำได้  ได้  แต่ยังมีความหมายเป็นคำนาม(noun)  อีกอย่างว่า กระป๋อง อย่างพวก เครื่องกระป๋องที่ใส่อาหาร ปลากระป๋อง แฮมกระป๋อง ผักกาดดองกระป๋อง มีฝาเปิดได้ ( removable coverแบบนี้ก็เรียกว่า Can    แหค่น  กับเขาด้วยเหมือนกันนะ  ศัพท์นี้โค-ตะ-ระ จะมีประโยชน์เหลือคณานับ ขอบอก! 
  • handle    แฮ๊นโด่ล    ถ้าเป็นคำนามเรียกสิ่งของ  ในภาษาอังกฤษจะหมายถึง "ที่จับ"   หรืออะไรที่จับได้ด้วยมือคนน่ะ  เช่น  door handle  ก็ที่จับ ลูกบิดประตู ซึ่งถ้าลูกบิดประตูกลมๆ  จะนิยมเรียก doorknob    ออกเสียงว่า  ด๊อหน่อบ   ครับ 

แต่ในที่นี้เป็นคำกริยาจะหมายถึง  จัดการ ควบคุม ดูแล ทำการ อะไรต่างๆ เป็นคำที่มีความหมายกว้างพอดู

รวมลิงก์หนังสือมารพิณ

 +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 ฝากแนะนำเว็บ feelthai.blogspot.com ต่อให้คนรู้จักด้วยนะครับ กด like กด share  แบ่งปันใน เฟซบุ๊คจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง แต่ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามภาษาอังกฤา หรือแก้ปัญหาการบ้านภาษาอังกฤษนะครับ
 © สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ
 (English for learners - blog)