โดย มารพิณ
ปรับปรุงล่าสุดวันที่ 18 ก.พ. 47
วันนี้มาที่ข่าววิทยาศาสตร์กันบ้าง เพื่อเพิ่มความรอบรู้ศัพท์ของเรา จะเก่งภาษาต้องกล้าลองศึกษาอะไรใหม่ ๆ ครับ อย่าไปกลัวมัน ยังไงก็ไม่ใช่ภาษาของเราครับ จะไปกลัวทำไม
The cosmic diamond is a chunk of crystallised carbon, 1,500 km across, some 50 light-years from the Earth in the constellation Centaurus.
เพชรอวกาศที่ว่านี้ก็คือก้อนผลึกคาร์บอนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1500 กิโลเมตร ห่างจากโลกเราออกไปราวห้าสิบปีแสงในกลุ่มดาวเซนทอรัส
อธิบายกันเถอะนะ
cosmic diamond อันที่จริงในเซนส์ของฝรั่ง น่าจะแปลว่า "เพชรแห่งจักรวาล" อะไรมากกว่า แต่ในที่นี้บอกว่า "เพชรอวกาศ" อาจฟังแล้วถูกใจคนไทยมากกว่า
คำว่า diamond ก็คือเพชรครับ ส่วน cosmic ก็เป็นศัพท์ดาราศาสตร์เขา หมายความ ขยายความอะไรที่เกี่ยวกับ เอกภพ หรือ จักรวาล
a chunk ก้อนอะไรซักอย่าง
crystallised carbon ธาตุคาร์บอนที่กลายเป็นผลึก นั่นก็คือเพชร นั่นล่ะครับ จะเกิดขึ้นได้ภายใต้อุณหภูมิ และความร้อนสูงมาก ๆ
1,500 km across เส้นผ่าศูนย์กลาง 1500 กิโลเมตร สังเกตุนิดว่า เวลานักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ข่าว เขาจะใช้หน่วยเมตริก เสมอ เพราะเป็นหน่วยวัดสากล และ km ก็เป็นตัวย่อของกิโลเมตร
50 light-years หนึ่งปีแสงคือระยะทางที่แสงเดินทางนานหนึ่งปี อันนี้เป็นเกร็ดความรู้ก็แล้วกัน ซึ่งเป็นระยะทางที่ไกลมาก ๆ จะเปรียบอย่างไรดี ในทางดาราศาสตร์แล้ว ถ้าดาวดวงนึงห่างจากโลกสามร้อยปีแสง ก็จะหมายความว่า แสงจากดาวดวงนี้จะใช้เวลาเดินทางจากจุดเริ่มต้น มายังโลกใช้เวลา 300 ปีเต็ม นั่นก็คือ วิ นาทีที่เราเห็นดาวดวงนี้บนท้องฟ้า จะเป็นแสงที่เกิดขึ้นเมื่อสามร้อยปีก่อน หรือแสงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยาโน่น! กว่าจะมาถึง
ไม่น่าเชื่อเลยครับ ถ้างงก็ไม่เป็นไรครับ ปล่อยให้พวกนักดาราศาสตร์เขาปวดหัวกันไปก็แล้วกัน
the Earth ก็คือโลกเรานั่นเองครับ
constellation อันนี้เป็นศัพท์ดาราศาสตร์ หมายถึงกลุ่มดาวครับ เช่นกลุ่มดาวเต่า กลุ่มดาวหมีใหญ่ กลุ่มดาวหมีใหญ่อะไรทำนองนี้
อย่าลืม!!ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจได้ใหม่พรุ่งนี้ครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ฝากแนะนำเว็บ feelthai.blogspot.com และในเฟซบุ๊ค http://www.facebook.com/marnpinbook ต่อให้คนรู้จักด้วยนะครับ จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง แต่ผมขออนุญาตไม่ตอบคำถามภาษาอังกฤา หรือแก้ปัญหาการบ้านภาษาอังกฤษนะครับ
© สงวนลิขสิทธิ์ มารพิณ (English for learners - blog)